ชี้แจงปัญหาและข้อฮุก่มของโต๊ะจีน


ที่มาของกรณีพิพาท


เมื่อโรงเรียนอนุรักษ์มรดกอิสลามประกาศจัดงานหารายได้เพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานการศึกษา ก็มีพี่น้องบางท่านกล่าวโจมตีว่าไม่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา และได้นำเอาข้อความจากบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาโต๊ะจีน” มาอ้างเป็นหลักฐาน เราจึงต้องชี้แจงสาธารณะให้ประชาชนได้ทราบในสิ่งที่เราทำว่า ไม่ค้านคัดกับคำสอนของศาสนาแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเจ้าของบทความนั้นนอกจากท่านจะไม่ยับยั้งห้ามปรามการกระทำของลูกศิษย์ลูกหาของท่านแล้ว ยังกระโดดเข้าร่วมวงในการกล่าวหาโจมตี จนเป็นที่มาของคำว่า “สวนอิจมาอ์”

ดูเหมือนความพยายามของท่านและคณะจะทำให้เราตกเป็นจำเลยของสังคม จึงได้ตั้งคำถามให้ผู้คนสงสัยไม่ว่างเว้น ไม่ว่าจะด้วยข้อเขียน, บทกลอน หรือคำบรรยาย ดังปรากฏต่อสาธารณะแล้ว แม้ว่าท่านและคณะของท่านจะออกตัวโดยกล่าวว่า สิ่งที่เราทำกับสิ่งที่ท่านพูดนั้นไม่เหมือนกันก็ตาม และท่านก็ยืนยันว่าท่านไม่ได้ว่าเรา แต่ท่านและคณะของท่านก็ไม่เคยลดราวาศอกที่กล่าวโจมตีเรา ประหนึ่งว่าท่านและคณะของท่านได้รับการแต่งตั้งให้ตรวจสอบการกระทำของผู้อื่น ดูเหมือว่า ถ้าท่านไม่รู้ว่าผู้อื่นเขาทำอย่างไรแล้วมันจะบกพร่องในหน้าที่ หรือว่าการกระทำของเราจะสร้างความเสียหายให้แก่ศาสนาอย่างใหญ่หลวงถึงกับทำให้ท่านกินไม่ได้นอนไม่หลับท่าน หรือว่าการกระทำของเราสร้างความเสียหายให้แก่ท่านและเครือญาติของท่านอย่างหาที่เปรียบมิได้

ที่ผ่านมาเราได้ชี้แจงด้วยการเขียนบทความจำนวน 21 ตอน แบบทยอยเขียนไปเรื่อยๆอย่างไม่รีบร้อนโดยมีจุดมุ่งหมายว่า

1 – ต้องการชี้แจงให้พี่น้องได้ทราบว่าสิ่งที่เราทำกับสิ่งที่เขาฮุก่มนั้นต่างกัน
2 – ต้องการปูพื้นฐานให้พี่น้องทั่วไปได้รับทราบเกี่ยวกับบัญญัติศาสนา
3 – ให้โอกาสแก่ท่านและคณะของท่านได้ทบทวนแก้ไขในความผิดพลาดต่อความเข้าใจในปัญหาและตัวบทของศาสนาดั่งที่ท่านกล่าวในบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาโต๊ะจีน” หรือข้อเขียนอื่นๆและคำบรรยาย

แม้เราจะทิ้งเวลาไว้เนิ่นนานเพื่อให้โอกาสท่านและคณะของท่านได้แก้ไข แต่เมื่อท่านไม่น้อมรับโอกาสที่เราเสนอให้นี้ เราจึงจำเป็นต้องชี้แจงข้อผิดพลาดในบทความของท่านต่อสาธารณะ แม้ว่ารูปแบบการจัดงานของเราที่ผ่านมากับสิ่งที่ท่านเขียนจะไม่ตรงกัน แต่เราก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงและคัดค้านบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง

เพื่อปกป้องรักษาคำสอนของศาสนาที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกที่ถูกทาง หรือที่เราพูดเสมอว่า ของถูกแต่นำไปครอบผิด และเพื่อพี่น้องโดยทั่วจะได้เข้าใจและไม่นำไปใช้ต่ออย่างผิดๆ ทำให้เกิดความเสียหายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐาน
และเพื่อที่จะได้ไม่นำเอาความเข้าใจผิดต่อหลักฐานไปออกฮุก่มแล้วฟัตวาการกระทำของผู้อื่นว่าผิด หรือสวนอิจมาอ์ อย่างนี้เป็นต้น

ประการที่สอง

เพื่อคุ้มครองธุรกิจมุสลิมน้อยใหญ่มิให้มีผลกระทบจากการพิจาณาปัญหาผิด และฮุก่มผิด อันจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อธุรกิจมุสลิมที่มีมูลค่ามหาศาล เนื่องจากธุรกรรมทางการค้าของพี่น้องมุสลิมในลักษณะเดียวกับโต๊ะจีนนี้มีอยู่ดาษดื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้าปลีกและส่ง, ธุรกิจการส่งออกอาหารสด อาหารสำเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง และอื่นๆ อีกมากมาย

หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ปัญหา


ปัญหาเรื่องโต๊ะจีนนั้นคือปัญหา “อิจติฮาดียะห์” หรือปัญหาที่ต้องอาศัยการวินิจฉัย และไม่เคยมีนักวิชาการมุสลิมโลกท่านใดได้เคยวิเคราะห์ปัญหานี้ไว้โดยตรง เพราะฉะนั้นบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาโต๊ะจีน” จึงเป็นผลงานการวิเคราะห์ปัญหาของเจ้าของบทความเอง ที่ท่านอาสาเป็นมุจตะฮิดเสียเอง

โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยปัญหาใดๆของนักวิชาการโลกมุสลิม จะใช้กระบวนการทางวิชาการที่รู้จักกันดีในหมู่มุจตะฮิดคือ

1. อิครอญุลมะนาฏ คือการตีแผ่ตัวบทว่ามีอิลละห์ใดบ้างที่เป็นฮุก่ม
2. ตันกีฮุ้ลมะนาฏ คือการกรองอิลละห์ต่างๆในตัวบทที่มีหลายกรณี แล้วพิจาณาที่มีผลต่อปัญหามากที่สุด
3. ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏคือ การเอาลักษณะของปัญหาไปเทียบกับลักษณะที่ถูกระบุไว้ในตัวบท

แต่เมื่อท่านอาสาเป็นมุจตะฮิดด้วยการวินิจฉัยปัญหาเอง เราจึงพยายามสอบถามว่าท่านใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวินิจฉัยปัญหา แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบจนถึงขณะนี้ และเมื่อท่านไม่ใช้กระบวนการทางวิชาการในการวินิจฉัย จึงมีผลทำให้พิจารณาปัญหาผิดและเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐานผิด แล้วนำไปออกฮุก่มอย่างผิดๆ ดังที่ปรากกฎอยู่ในบทความและคำบรรยาย

แม้ว่าเราจะนำเอาคำชี้แนะและคำตักเตือนจากนักวิชาการโลกมุสลิมมาเตือนสติท่านก่อนหน้านี้แล้วก็ไม่ยอมรับฟัง

ท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ ชี้ให้เห็นกรณีของตะฮ์กีกุ้ลมะนาตว่า

“ซูเราะห์บะรออะห์ (ซูเราะห์อัตเตาบะห์) ถูกเรียกว่า เป็นซูเราะห์แห่งการแฉ เนื่องจากเนื้อหาของซูเราะห์ได้แฉเหล่ามุนาฟีกีน และยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซูเราะห์แห่งการชำแหละ และชื่ออื่นๆ แต่อัลกุรอานก็ไม่ได้กล่าวชื่อของมุนาฟีกีนว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แต่บรรดาผู้คนก็สามารถรู้ได้ว่าคนนั้นคนนี้เป็นมุนาฟีกีนที่ถูกระบุลักษณะ ไว้ ต่างจากบรรดาผู้ศรัทธาที่ได้รับข่าวดีว่าจะเป็นชาวสวรรค์ (มุบัชชะรูนะบิ้ลญันนะห์ ที่ระบุชื่อไว้) จากการแจ้งข่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมว่า อบูบักร์, อุมัร และคนอื่นๆ อยู่ในสวรรค์................การพิจารณาในประเด็นดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า “ตะกีกุ้ลมะนาฎ” คือการที่หลักฐานทางศาสนาได้ผูกโยงฮุก่มด้วยลักษณะใดๆไว้ แล้วเราก็ทราบความชัดเจนของลักษณะนั้นเป็นการเฉพาะ เช่นศาสนาใช้ให้ตั้งพยานที่มีความเที่ยงธรรมสองคน โดยมิได้เจาะจงว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แต่เมื่อเราทราบว่า คนนั้นคนนี้เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมก็เท่ากับเรามั่นใจได้ว่า ผู้ที่ถูกระบุนั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ถูกแจ้งลักษณะไว้ในอัล กุรอาน ในทำนองเดียวกัน เมื่ออัลลอฮ์ทรงห้ามเหล้าและการพนัน ดังนั้นเมื่อเราทราบว่า เครื่องดื่มที่ผลิตจากข้าวโพดและน้ำผึ้งเป็นเหล้าได้ เราก็มั่นใจได้ว่า เครื่องดื่มนั้นเข้าอยู่ในขอบข่ายของตัวบทที่ห้ามไว้

ฉะนั้นการที่เรามั่นใจผู้ศรัทธาเป็นรายบุคคล หรือมั่นใจต่อผู้ที่เป็นมุนาฟิกเป็นรายบุคคลก็ด้วยวิธีเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นการถอดความจากอัลกุรอาน ซึ่งแน่นอนว่า ไม่มีผู้ใดล่วงรู้นอกจากอัลลอฮ์ เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้จักผู้ศรัทธาทุกคน และรู้ถึงปริมาณการศรัทธา และรู้ถึงการกลับกลอก และรู้ถึงจุดจบของพวกเขา” มัจมัวอุ้ลฟะตาวา หน้าที่ 7439 – 7440

วิธีการในการพิจารณาปัญหากรณีโต๊ะจีนนี้ถูกเรียกตามกระบวนการทางวิชาการว่า “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” ซึ่งผลของมันจะออกมาเป็นเช่นใดนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเอาไปตัดสินว่าใครหลงผิด หรือออกนอกทางได้ ดั่งที่เชคซอและห์ อับดิลอะซีซ อาล์เชค ได้ชี้แจงไว้ดังนี้

“เมื่อเป็นประเด็นทางวิชาการ ถึงแม้จะเกี่ยวโยงกับเรื่อง “อะกีดะห์” หรือกรณีเฉพาะเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่บรรดาผู้คนได้ขัดแย้งกัน โดยที่คนกลุ่มหนึ่งพิจารณาด้านหนึ่ง และคนอีกกลุ่มหนึ่งก็พิจารณาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งผู้ที่วินิจฉัย “มุจตะฮิด” แต่ละคนนั้นต่างก็อยู่ในความดี (อินชาอัลลอฮ์) แต่เมื่อมันเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็ไม่สมควรเลยที่จะให้ข้อหาว่าหลงผิดซึ่งกันและกัน เมื่อเรื่องนั้นมันไม่ได้ค้านกับหลักฐาน (ที่ชัดเจน) หรือผลของการตีแผ่ข้อเท็จจริงมันใกล้เคียงมิใช่ไกลสุดโต่ง จึงไม่เป็นการสมควรที่จะกล่าวหาว่าคนหนึ่งคนใดหลงผิด เพราะผลของมันนั้นนำไปสู่การฟิตนะห์ซึ่งกันและกัน.....”
http://www.ahlelhadith.com/vb/showthread.php?t=5867

แม้นักวิชาการจะชี้ประเด็นของการอิจติฮาดในลักษณะนี้ให้เห็นว่า ไม่สามารถที่จะเอา เป็นเอาตาย ตัดสินฟาดฟันกันว่าใครผิดใครหลง ถึงแม้จะเป็นแง่มุมของอะกีดะห์ก็ตาม หากอยู่ในกรณีของการวินิจฉัย แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องโต๊ะจีนที่ท่านวินิจฉัยกันเอาเอง และฟาดฟันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ประหนึ่งว่าท่านและคณะของท่านไม่ได้ใส่ใจคำชี้แนะของอุลามาอ์เลย

พิจารณาปัญหาและหลักฐานเรื่องโต๊ะจีน


การพิจารณาปัญหาของโต๊ะจีนนี้มีสองหมวดหลักคือ พิจารณาทำความเข้าใจในปัญหา และพิจารณาทำความเข้าใจในหลักฐาน ซึ่งเราจะเริ่มจากการพิจารณาที่ตัวปัญหาก่อนเป็นอันดับแรกดังนี้

โต๊ะจีนคืออะไร

คำว่าโต๊ะจีนนั้นคือ ชื่อเรียกลักษณะของการรับประทานอาหารในรูปแบบโต๊ะกลม โดยจะมีผู้นั่งรอบโต๊ะจำนวนกี่คนไม่ได้กำหนดและไม่เป็นเงื่อนไขที่ทำถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็นสองคน ห้าคน แปดคน หรือสิบคน ก็ยังถูกเรียกลักษณะการรับประทานอาหารแบบนี้ว่า “โต๊ะจีน” แม้ว่าปัจจุบันจะมีคนเปลี่ยนไปเรียกว่า “โต๊ะแขก” หรือ “โต๊ะอาหรับ” ก็ตาม แต่มันก็ยังคงลักษณะของการรับประทานอาหารในรูปแบบโต๊ะกลมเช่นเดิม ซึ่งผู้เขียนบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” ก็ไม่เคยใส่ใจที่จะกล่าวถึง หรือว่าแค่เปลี่ยนชื่อเป็นอย่างอื่นก็ “เซาะห์” แล้วตามมุมมองของท่าน

การจัดโต๊ะจีนนี้ มีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงรับรอง งานบุญ งานแต่ง หรือการซื้อขายตามห้องอาหารโดยทั่วไป
ในสังคมมุสลิมของเราโดยส่วนใหญ่แล้วจะรู้จัก “โต๊ะจีน” ในรูปแบบการจัดงานการกุศล ขององค์กร, สถาบันต่างๆ เพื่อหารายได้ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ฉะนั้นหากท่านวางฮุก่มว่า “โต๊ะจีน” ฮะรอม มันก็มีผลว่า ซื้อขายก็ฮะรอม คนกินก็ฮะรอม รายได้ก็ฮะรอม เพราะเหล่านี้คือผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ฮะรอม แต่หาได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งจะชี้แจงในลำดับถัดไป อินชาอัลลอฮ์

ธุรกิจโต๊ะจีน

ประเด็นนี้คือสิ่งสำคัญและจะเป็นข้อมูลในการนำไปพิจารณา เพราะหากไม่เข้าใจธุรกิจโต๊ะจีนที่แท้จริง ก็จะทำให้ผลของการวางฮุก่มผิดไปด้วย
ปัจจุบันมีมุสลิมเราจำนวนไม่น้อย ที่ประกอบอาชีพจัด “โต๊ะจีน” ในงานวะลีมะห์ หรืองานหารายได้ของสถาบันองค์กรต่างๆ ซึ่งรูปแบบของการจัดโต๊ะจีนนั้น ไม่ใช่การรับทำอาหารตามแต่เจ้าภาพสั่งเท่านั้น แต่ยังมีการบริการควบรวมอีกด้วยคือ โต๊ะและผ้าปูโต๊ะ เก้าอี้และผ้าคลุมเก้าอี้ ถ้วยจานและอุปกรณ์ควบรวมที่จัดบริการบนโต๊ะอาหารนานาชนิด การจัดสถานที่ เด็กเสริฟ เก็บล้าง และอื่นๆทั้งหมดที่เกี่ยวกับงานบริการ เพราะฉะนั้น การพิจารณาปัญหานี้ด้วยการพูดถึงแต่อาหารอย่างเดียว จึงไม่ถูกต้อง และนำมาซึ่งการวางฮุก่มที่ผิดพลาด

อาหารและเครื่องดื่มบนโต๊ะจีน

เรื่องของอาหารและเครื่องดื่มบนโต๊ะจีนนั้น ไม่ใช่อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อขายกันล่วงหน้าเหมือนดังที่ผู้เขียนบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” ได้กล่าวและวิตกกังวลว่า “แกงบูด ผักแห้ง แกงหก” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริการโต๊ะจีนจะตั้งครัวในบริเวณงานหรือสถานที่ใกล้เคียงตามแต่สะดวก เพื่อปรุงอาหารสดๆ บริการอาหารใหม่สดๆร้อนๆ แก่ผู้ร่วมงาน ไม่มีผู้จัดบริการโต๊ะจีนรายใดที่นำอาหารแช่แข็งมาให้บริการ หรือทำอาหารเดือนนี้แล้วไปเลี้ยงเดือนหน้า
ผู้ให้บริการทำธุรกิจโต๊ะจีนนั้นเขามีแข่งขันกันทางการตลาด ไม่ว่าในเรื่องปริมาณ รสชาติ และการบริการ นี่คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยทั่วไป
นอกจากอาหารที่ทำสดในวันและเวลาที่เจ้าภาพกำหนดแล้ว เจ้าภาพยังเป็นผู้กำหนดจำนวนอาหารและประเภทอาหารเอง หรือจะปรับเปลี่ยนเมนูอาหารตามความต้องการที่เหมาะแก่การต้อนรับแขก หรือตามกำลังทรัพย์ที่มี ฉะนั้นผู้ทำธุรกิจโต๊ะจีนจึงไม่ใช่ผู้ขายอาหาร แต่เป็นผู้รับเหมาทำอาหารและบริการที่เกี่ยวข้องตามแต่ความต้องการของเจ้าภาพ หรือตามที่เจ้าภาพสั่ง ด้วยเหตุนี้เจ้าภาพ จึงเป็นผู้มีสิทธิ์และมีความรับผิดชอบในอาหารโดยชอบธรรม หากเข้าใจในหัวข้อนี้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้มองปัญหาผิดพลาดและวางฮุก่มผิดพลาดไปด้วยเช่นเดียวกัน

การจัดการของเจ้าภาพ

เมื่อตามที่กล่าวแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า เจ้าภาพไม่ใช่เป็นผู้ซื้ออาหารจากผู้ค้าโต๊ะจีน แต่เป็นผู้สั่งทำอาหารตามต้องการของตนเอง เจ้าภาพจึงมีสิทธิ์ชอบธรรมตามฮุก่มของศาสนาในการจัดการใดๆ ต่ออาหารนั้นไม่ว่าจะนำไปเลี้ยง หรือนำไปขาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้ออาหารมาแล้วเอาไปขายต่อ หรือขายตกทอดแต่อย่างใด

ผู้ซื้อโต๊ะจีน

ในสังคมมุสลิมของเราโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า เมื่อถูกเชิญให้ไปร่วมงานโต๊ะจีนของสถาบัน องค์กรใดก็หมายความว่า ถูกเชิญให้ไปร่วมงานการกุศลที่มีอาหาร เครื่องดื่ม และการบริการ ที่ทางเจ้าภาพเตรียมไว้ให้ในงาน ไม่ใช่ไปซื้ออาหารจากผู้จัดงาน หรือไปซื้ออาหารจากผู้ให้บริการโต๊ะจีนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาในกรณีนี้ว่าเป็นการซื้อขาย ก็ต้องพิจารณาให้รอบด้านคือ เจ้าภาพหรือผู้ขายได้ขายอาหาร เครื่องดื่มและการบริการ และผู้ซื้อก็ซื้ออาหาร เครื่องดื่มและการบริการ และการซื้อขายของทั้งสองนี้ก็เป็นการซื้อขายเพียงทอดเดียว มิใช่เป็นการขายตกทอด

สรุปการพิจารณาปัญหา

1 – การจัดโต๊ะจีนไม่ใช่การจัดการด้านอาหารเพียงอย่างเดียว แต่คือ การจัดการด้านอาหารเครื่องดื่มและการบริการ

2 – อาหารโต๊ะจีน ไม่ใช่อาหารสำเร็จรูปที่ทำไว้ล่วงหน้า แต่เป็นอาหารที่ทางเจ้าภาพสั่งทำ และเป็นอาหารปรุงสดในวันและเวลาที่กำหนด

3 – ผู้ค้าโต๊ะจีนไม่ใช่เจ้าของอาหารและไม่ใช่ผู้ขายอาหาร แต่เป็นผู้รับทำอาหารตามความต้องการของเจ้าภาพ

4 – เจ้าภาพไม่ใช่ผู้ซื้ออาหาร แต่เป็นผู้สั่งทำอาหาร และเป็นผู้กำหนดเมนูอาหารเอง

5 – เมื่อเจ้าภาพมีสิทธิ์ชอบธรรมในอาหารที่สั่งทำ ดังนั้นการจัดการใดๆ ของเจ้าภาพจึงเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคา หรือการนำไปขาย เพราะไม่ใช่การซื้ออาหารมาแล้วนำไปขายต่อในขณะที่ยังไม่ได้ครอบครองอาหารนั้น

6 – ผู้ซื้อไม่ใช่ผู้ร่วมสัญญากับเจ้าภาพและผู้รับทำโต๊ะจีน โดยผู้ซื้อและผู้รับทำโต๊ะจีนมิได้มีความรับผิดใดๆ ระหว่างกัน

7 – การจัดโต๊ะจีนนี้ไม่ใช่เป็นการซื่อขายสามฝ่าย

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือข้อเท็จจริงของโต๊ะจีน ที่ผู้เขียนบทความ “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” ได้วิเคราะห์ปัญหาอย่างผิดพลาด เขากล่าวว่า “โต๊ะจีนต้องมีคู่สัญญา 3 ฝ่าย คือฝ่ายที่หนึ่งคือผู้ค้าโต๊ะจีน(ผู้ว่าจ้างทำอาหาร) ฝ่ายที่สองคือผู้ทำโต๊ะจีน (ผู้รับจ้างทำอาหาร) และฝ่ายที่สามคือผู้ซื้อโต๊ะจีน( ผู้ซื้อบัตรหรือตั๋วเพื่อทานอาหาร)”

ข้อความข้างต้นนี้เหมือนเป็นการขีดกรอบให้ผู้อื่นเดินตามว่าโต๊ะจีนต้องเป็นไปตามสูตรที่เขาขีดกรอบเท่านั้น ถ้าผิดไปจากสูตรที่เขากล่าวแล้วไม่ใช่โต๊ะจีน เราไม่ทราบว่าท่านเจ้าบทความจดลิขสิทธิ์ไว้ด้วยหรือเปล่าว่าโต๊ะจีนต้องมีสามฝ่ายเท่านั้น ถ้ามีสองฝ่ายเป็นโต๊ะจีนไม่ได้หรืออย่างไร เพราะเนื่องจากท่านไม่เข้าใจข้อเท็จจริงของปัญหาจึงได้เอาสามฝ่ายไปยำกันในสัญญาเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วกรณีของการจัดโต๊ะจีนคือคู่สัญญาสองฝ่าย ที่ถูกเรียกว่า الاستصناع الموازي หรือ “สัญญาจ้างคู่ขนาน” ประกอบด้วย

1. สัญญาระหว่างเจ้าภาพผู้สั่งทำอาหารเครื่องดื่มและการบริการกับผู้รับทำโต๊ะจีน

2. สัญญาระหว่างเจ้าภาพผู้มีสิทธิ์โดยชอบธรรมในอาหารกับผู้ซื้อ

ซึ่งสัญญาจ้างคู่ขนานนี้ไม่ได้ถูกจำกัดในประเภทของสินค้าแต่อย่างใด ไม่ ว่าจะเป็นอาหารเครื่องดื่ม อุปโภคและบริโภค หรือวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆ และเป็นสัญญาที่เป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนา
สัญญาจ้างคู่ขนานนี้ถูกใช้ในการทำธุรกิจการค้าหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจการส่งออกอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารสด,อาหารแช่แข็งและอื่นๆ

วิธีการคือ ผู้ค้าจะทำ อินวอยซ์ ต้นฉบับจำนวนสองฉบับ

ฉบับที่หนึ่ง เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อโดย ผู้ซื้อจะนำอินวอยซ์นี้ไปเปิดแอลซี (เลตเตอร์ออฟเครดิต) โดยระบุเงือนไขตามสัญญา
ฉบับที่สอง เป็นสัญญาระหว่างผู้ขายกับโรงงานผลิตสินค้า ซึ่งเป็นสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าตามที่กำหนด

ดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า الاستصناع الموازي หรือ “สัญญาจ้างคู่ขนาน”

การจัดโต๊ะจีนนั้น นอกจากวิธีที่ถูกต้องดั่งที่ปฎิบัติกันกันโดยทั่วไปดังที่กล่าวแล้ว ก็ยังมีวิธีการจัดโต๊ะจีนอีกหลายรูปแบบที่ไม่ขัดกับคำสอนของศาสนาแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น

1 – การจัดโต๊ะจีนในรูปแบบทั่วไปที่เจ้าภาพเป็นผู้สั่งทำอาหารเครื่องดื่มและการบริการ ซึ่งเจ้าภาพมีสิทธิ์ชอบธรรมในอาหารและการจัดการเต็มรูปแบบ ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า الاستصناع الموازي หรือ “สัญญาจ้างคู่ขนาน” ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

2 – การจัดโต๊ะจีนในรูแบบอิญาเราะห์
คืออาหารโต๊ะจีนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงาน หรือเป็นการบริการด้านอาหารแก่ผู้เข้าร่วมงาน แต่ท่านจะต้องระบุวัตถุประสงค์และกิจกรรมของงานที่เป็นตัวหลักให้ชัดเจนว่า ในงานมีกิจกรรมหลักอะไรบ้างที่เป็นจุดขายของงาน ส่วนอาหารนั้น เป็นการบริการแก่ผู้ร่วมงานในรูปแบบโต๊ะจีน ดั่งที่เราชี้แนะไว้ในบทความเรื่องโต๊ะจีน ตอนที่ 8

3 – การจัดโต๊ะจีนในรูปแบบมุวาอะดะห์
คือท่านเชิญแขกของท่านให้มาร่วมงานในวันและเวลาที่กำหนด และท่านก็ทำ ก็กิน ก็ขาย กันสดๆในวันนั้น ซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายอาหารล่วงหน้า หรือซื้อขายอาหารที่ยังไม่ได้ครอบครอง แต่ท่านก็ต้องมั่นใจในแขกของท่านด้วยว่าจะมาร่วมกิจกรรมกันจริงๆ ซึ่งเราชี้แนะไว้ในบทความเรื่องโต๊ะจีนตอนที่ 9 และ 13

4 – การจัดโต๊ะจีนในรูปแบบมุฏอร่อบะห์
คือท่านในฐานะเจ้าภาพตกลงทำสัญญาร่วมหุ้นกับผู้ให้บริการจัดโต๊ะจีน โดยสัดส่วนของการร่วมหุ้นและการแบ่งผลกำไรขึ้นที่ท่านจะตกลงกันเอง แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการร่วมหุ้นลงทุนกันจริงๆ เพราะการร่วมหุ้นแบบ “มุฏอรอบะห์” นั้นผู้ร่วมหุ้นจะต้องร่วมกันรับผิดชอบตามสัดส่วนของการลงหุ้น ทั้งกำไรและขาดทุนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ที่กล่าวมาแล้วนี้คือตัวอย่างเพียงสังเขป ที่ชี้ให้เห็นว่า การจัดโต๊ะจีนสามารถกระทำได้โดยหลากหลายรูปแบบ และเป็นวิธีที่ถูกต้องไม่ค้านคัดกับคำสอนของศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่การมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาไม่รอบด้านจึงทำให้ผลของการวิเคราะห์ผิดไปด้วย และที่สำคัญก็คือนำเอาตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องมาครอบผิดประเด็นและออกฮุก่มผิด

การพิจารณาหลักฐาน


ความจริงแล้วไม่มีความจำเป็นใดๆเลยที่จะต้องชี้แจงในหลักฐาน เนื่องจากเราทราบมูลเหตุของปัญหาแล้วว่า เกิดจากการพิจารณาข้อเท็จจริงของปัญหาไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นหลักฐานใดๆที่นำมาอ้างจึงเป็นการอ้างผิดเรื่องผิดประเด็น แต่เราก็ยังจะต้องชี้แจงให้ท่านได้ทราบสักบางประการ เพื่อท่านจะได้ไม่นำเอาหลักฐานไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

หลักฐานที่ 1

เจ้าของบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” อ้าง “อิจมาอ์” เป็นหลักฐานดังนี้
อิบนุลมุนซิรกล่าวว่า

وَقَالَ ابْنُ المُنْذِرِ : أجْمَعَ أهْلُ العِلْمِ عَلَى أنّ مَنِ اشْتَرَى طَعَاماً فَلَيْسَ لَهُ أنْ يَبِيعَهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الْمُشْتَرِي جَازَلَهُ بَيْعُهُ وَالتَصَرُّفُ فِيْهِ كَمَا بَعْدَ القَبْضِ

"นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดก็ตามซื้ออาหารมา เขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วนก่อน และหากอาหารนั้นมาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว จึงจะสามารถนำไปขายได้หรือจัดการใดๆ ได้ เฉกเช่นหลังการครอบครอง" ( อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)

ท่านได้นำเอาข้อความของ อิจมาอ์มาอ้างอิงแต่ก็ไม่ได้แสดงหลักฐานใดๆว่าอิจมาอ์ที่นำมาอ้างนี้ เป็น “อิจมาอ์ก็อฏอีย์” หรือ “อิจมาอ์ศ็อนนี่ย์”

อิจมาอ์ก๊อฏอีย์ คือ การลงมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ซึ่งจะต้องมีแหล่งบันทึกและสายรายงานที่อ้างอิงได้ สามารถตรวจสอบได้ว่า เป็นการลงมติเอกฉันท์ของบรรดาอุลาอ์จริงๆ ใช้เป็นหลักฐานทางศาสนาได้โดยมีข้อโต้แย้ง การสวนอิจมาอ์หรือการปฏิเสธอิจมาอ์ประเภทนี้โดยเจตนาเท่ากับปฏิเสธหลักฐานของศาสนา และมีผลทำให้ตกศาสนาสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม

อิจมาอ์ศ็อนนี้ คือ มีการกล่าวอ้างและเข้าใจว่าบรรดาปวงปราชญ์ได้ลงมติเอกฉันท์ แต่ไม่สามารถสืบค้นได้ว่าจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่มีบันทึกต้นเรื่องและสายรายงานที่สามารถนำไปตรวจสอบได้ ในกรณีเช่นนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ หรือสันนิฐานเอาเท่านั้น เราจึงเห็นว่า การอิจมาอ์ประเภทนี้ยังมีการโต้แย้งของบรรดาอุลามาอ์ในเรื่องที่อิจมาอ์อยู่ เนื่องจากถือว่า ไม่ใช่อิจมาอ์แบบเด็ดขาด

อย่างไรก็ตาม เราเองก็ไม่ต้องการสืบค้น และยกประโยชน์ให้ว่าข้อความของอิจมาอ์ที่ท่านนำมาอ้างเป็น “อิจมาอ์ก็อฏอีย์” แต่ประเด็นที่เราต้องการชี้ถึงข้อผิดพลาดในการอ้างอิจมาอ์นี้คือ

ข้อผิดพลาดประการที่หนึ่ง

เราไม่ทราบว่าผู้แปลประโยคข้างต้นนี้เผลอเรอ หรือจงใจสื่อความหมายตามคำแปล “วัลลอฮุอะอ์ลัม” เพราะข้อความของประโยคหลังของอิจมาอ์คือ

وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الْمُشْتَرِي جَازَلَهُ بَيْعُهُ وَالتَصَرُّفُ فِيْهِ كَمَا بَعْدَ القَبْضِ

ต้องแปลว่า “และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อนุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง”

วัตถุประสงค์ของถ้อยคำในประโยคนี้คือ อนุญาตให้ทำการขายอาหารหรือจัดการใดๆได้ เมื่ออยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ แม้จะยังไม่ได้ครอบครองอาหารนั้น เนื่องจากคำว่า “ก่ามาบะอ์ดัลก๊อบฏิ” ที่แปลว่า “เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง” มีวัตถุประสงค์ว่า “แม้อาหารยังไม่ได้อยู่ในการครอบครองแต่ฮุ่ก่มของมันก็เหมือนกับได้ครอบครองแล้ว”

เราตั้งคำถามเบื่องแรกก่อนว่า ท่านเอาอิจมาอ์ข้างต้นนี้ไปชี้ประเด็นไหนของปัญหาโต๊ะจีน ท่านจึงได้ฟันธงลงฮุก่มว่า โต๊ะจีนฮะรอม เพราะข้อความอิจมาอ์ตามที่ท่านอ้างข้างต้นนี้มีทั้งห้ามและอนุญาต

ห้ามคือ “ผู้ใดซื้ออาหารมาเขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้รับมันครบถ้วนเสียก่อน”

อนุญาตคือ “และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง”

นี่คือการทุจริตทางวิชาการ ที่ไม่น่าให้อภัย เพราะนอกจากท่านจะพิจารณาปัญหาผิดแล้ว ยังใช้หลักฐานเอาไปครอบผิด มิหนำซ้ำยังใช้วิธีการอ้างหลักฐานแบบครึ่งท่อนแบบรวบยอด โดยไม่ชี้ประเด็นอีกครึ่งท่อนที่เหลือ

ข้อผิดพลาดประการที่สอง

การนำเอาอิจมาอ์ครึ่งท่อนไปวางฮุ่ก่ม ซึ่งผมกล่าวตั้งแต่แรกแล้วว่า หลักฐานถูกแต่เอาไปครอบผิด ทำให้บรรดาผู้คนเข้าใจผิดในอิจมาอ์ไปด้วย

ก่อนหน้านี้มีผู้รู้บางท่านเข้ามาสอบถามผมที่หน้าเฟสว่า “นี่ อิจมาอ อาจารย์ไม่เอาหรือ.... อิบนุมุนซิรกล่าวว่า "นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดก็ตามซื้ออาหารมา เขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วนก่อน และหากเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว ถึงจะนำไปขายได้หรือจัดการใดๆ ได้ เฉกเช่นหลังการครอบครอง" (อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 และอัลมัตตะบะห์ อัซซามิละห์)”

ผมก็ตอบว่า “อาจารย์เป็นคนมีความรู้ อย่าเพิ่งรีบพูดเหมือนอย่างชาวบ้านเขาพูด หลักฐานนั้นไม่ใช่เราจะรู้เพียงคนเดียว คนอื่นเขาก็รู้ แต่ปัญหาว่า รู้แล้วเข้าใจไหม เอามาใช้ถูกกับเรื่องไหม หลักฐานถูกแต่ชี้ผิดหรือป่าว คนมีความรู้ต้องละเอียดรอบคอบในทางวิชาการ ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้มุสลิมกลายเป็นกาเฟรทั้งบ้านทั้งเมือง เพราะคนปฏิเสธฮะดีษศอเฮียะห์ ปฏิเสธอิจมาอ์ นั้นตกมุรตัดแน่นอน อย่ารีบร้อนยัดเยียดความเป็นกาเฟรให้ผมหรือให้ใครเลย”

ข้อความเหล่านี้ยังปรากกฎอยู่ที่หน้าเฟสของผมในการแสดงความเห็นเรื่อง “โต๊ะจีน ตอนที่ 3” ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเราจะเตือนสติ ย้ำกันไม่รู้กี่ครั้งกี่หน แต่ก็เปล่าประโยชน์เลย เพราะนอกจากเขาจะไม่รับฟังกันแล้วยังเดินหน้าวางฮุก่มต่อไปว่า เป็นผู้ที่สวนอิจมาอ์

“อิหม่ามทั้งสี่ยังยอมรับอิจมาอ์ แล้วเอ็งเป็นใครถึงกล้าสวนอิจมาอ์”

นั่นนะซิ....เราอ่านแต่ละคำ เราฟังแต่ละครั้งก็สะดุ้งทุกที เรายิ่งใหญ่มาจากไหนหรือ เราอะเหล่มกว่าอิหม่ามทั้งสี่หรือถึงได้กล้าสวนอิจมาอ์

เปล่าเลย...ไม่ใช่อย่างที่พวกเขากล่าวเลย เราก็ยืนยันว่าใครปฏิเสธฮะดีษศอเฮียะห์ ปฏิเสธอิจมาอ์ (อิจมาอ์ก็อฏอี่ย์) นั้นตกมุรตัดสิ้นสภาพการเป็นมุสลิมอย่างแน่นอน

หรือว่าพวกเขาไม่เข้าใจจริงๆ

ถ้อยคำอิจมาอ์ตามที่เขานำมาอ้างนี้ มิได้เป็นการลงมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆคือ บรรดานักวิชาการเขาอิจมาอ์ในหลักการ ไม่ใช่อิจมาอ์ในวิธีการ

ขณะที่ท่านอ่านตำรับตำรานั้น ท่านไม่ได้สักเกตบ้างหรือว่า เกี่ยวกับเรื่องวิธีการนี้บรรดานักวิชาการยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่มากมาย หรือไม่ท่านก็ลองไปสำรวจในบทความเรื่อง “อธิบาย ปัญหาของโต๊ะจีน” ซึ่งท่านเขียนเองอีกครั้งว่าประเด็นใดบ้างที่นักวิชาการเขาขัดแย้งกัน แม้ว่าท่านจะพยายามเลี่ยงโดยใช้คำว่า “ขัดแย้งกันเล็กน้อย” ก็ตาม แต่มันก็แสดงให้เห็นว่า บรรดานักวิชาการมีการขัดแย้งกันจริงๆ

และนี่เป็นที่มาของคำถามแบบงงๆของใครบางคนที่กล่าวว่า “เมื่ออิจมาอ์แล้วทำไมต้องมีข้อโต้แย้งอีก” ซึ่งความจริงคำถามนี้ไม่น่าถามกับเรา แต่น่าถามตัวท่านเองมากกว่าว่า ทำไมถึงไม่ฉุกคิดในเรื่องนี้บ้าง จะได้ไม่ต้องตั้งคำถามแบบงูๆปลาๆ ว่า “แล้วจะขัดแย้งกันทำไมในเมื่อเป็นอิจมาอ์แล้ว”

นั่นนะซิ....เพราะท่านไม่เข้าใจจึงแยกแยะไม่ออก
ถ้าเช่นนั้นเราพูดให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้คือ

“บรรดานักวิชาการเขาเห็นตรงกัน (อิจมาอ์) ในเรื่องหลักการ แต่เขาแย้งกันในเรื่องวิธีการ”

ดังนั้นจึงไม่ใช่เราหรือนักวิชาการคนไหนที่ปฏิเสธอิจมาอ์ แต่เพราะท่านไม่เข้าใจ จึงเอาการอิจมาอ์ในหลักการไปครอบวิธีการ แล้วก็ฟันธงลงฮุก่มอีกว่า “สวนอิจมาอ์” ช่างเป็นการวางฮุก่มที่รุ่มร่ามจริงๆ

ยกตัวอย่างเช่นเรื่อง “อัลค๊อมรุ” ที่คนบ้านเราแปลว่า “เหล้า” เรื่องนี้มีตัวบทหลักฐานชัดเจนว่าเป็นที่ต้องห้ามไม่มีใครขัดแย้ง แต่น้ำในแก้ววางอยู่ข้างหน้าท่านคือ “อัลค๊อมรุ” หรือไม่ อย่างนี้คือสิ่งที่ต้องวินิจฉัย บางคนอาจจะพิจารณาว่าใช่ และบางคนอาจจะพิจารณาว่าไม่ใช่

ถามว่าการที่พวกเขามีมุมมองในการพิจารณาต่างกันนี้ ถือเป็นการปฏิเสธตัวบทหลักฐานไหม ถือเป็นการปฏิเสธอิจมาอ์ไหม และเรากล่าวได้ไหมว่า พวกเขาปฏิเสธว่าเหล้าไม่ฮะรอม
ตอบ...ไม่
ถ้าถามว่าเพราะอะไร ตอบ...เพราะนี่คือ ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ

เช่นเดียวกับการอิจมาอ์ในประเด็นที่ท่านนำมาอ้าง ซึ่งเป็นการอิจมาอ์ในหลักการที่ทุกฝ่ายต่างยอมรับ เราย้ำว่าทุกฝ่ายต่างยอมรับ แต่การจัดโต๊ะจีนเข้าข่ายต้องห้ามตามอิจมาอ์หรือเปล่า นี่คือประเด็นวินิจฉัย อาจจะมีบางคนบอกว่าใช่ และอาจจะมีบางคนบอกว่าไม่ใช่

ถามว่าการที่พวกเขามีมุมมองในการพิจารณาปัญหาต่างกันนี้ถือปฏิเสธตัวบทหลักฐานไหม ถือเป็นการปฏิเสธอิจมาอ์ไหม ตอบ...ไม่
ถ้าถามว่าเพราะอะไร....ตอบ นี่คือ ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ “ดอกเบี้ย” เราทุกคนยอมรับว่ามันฮะรอม เพราะมีตัวบทหลักฐานชัดเจนและ เป็นอิจมาอ์ แต่บัตรเครดิตของธนาคารที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นดอกเบี้ยด้วยไหม อย่างนี้คือสิ่งที่ต้องพิจารณา บางคนอาจจะบอกว่า ใช่ และบางคนอาจะตอบว่า ไม่ใช่ (บางคนอาจจะมองเป็นดอกเบี้ย บางคนอาจจะมองเป็นค่าบริการ)

ถามว่าการที่พวกเขามีมุมมองในการพิจารณาต่างกันนี้ถือเป็นการปฏิเสธตัวบท หลักฐานไหม ถือเป็นการปฏิเสธอิจมาอ์ไหม และเรากล่าวได้ไหมว่าพวกเขาปฏิเสธว่าดอกเบี้ยไม่ฮะรอม

ตอบ...ไม่
ถ้าถามว่า เพราะอะไร....ตอบ นี่คือ ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ

แล้ว “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” คืออะไร

ท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ ได้กล่าวว่า

“ซูเราะห์บะรออะห์ (ซูเราะห์อัตเตาบะห์) ถูกเรียกว่า เป็นซูเราะห์แห่งการแฉ เนื่องจากเนื้อหาของซูเราะห์ได้แฉเหล่ามุนาฟีกีน และยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซูเราะห์แห่งการชำแหละ และชื่ออื่นๆ แต่อัลกุรอานก็ไม่ได้กล่าวชื่อของมุนาฟีกีนว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แต่บรรดาผู้คนก็สามารถรู้ได้ว่าคนนั้นคนนี้เป็นมุนาฟีกีนที่ถูกระบุลักษณะ ไว้ ต่างจากบรรดาผู้ศรัทธาที่ได้รับข่าวดีว่าจะเป็นชาวสวรรค์ (มุบัชชะรูนะบิ้ลญันนะห์ ที่ระบุชื่อไว้) จากการแจ้งข่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมว่า อบูบักร์, อุมัร และคนอื่นๆ อยู่ในสวรรค์................การพิจารณาในประเด็นดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า “ตะกีกุ้ลมะนาฎ” คือการที่หลักฐานทางศาสนาได้ผูกโยงฮุก่มด้วยลักษณะใดๆไว้ แล้วเราก็ทราบความชัดเจนของลักษณะนั้นเป็นการเฉพาะ เช่นศาสนาใช้ให้ตั้งพยานที่มีความเที่ยงธรรมสองคน โดยมิได้เจาะจงว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แต่เมื่อเราทราบว่า คนนั้นคนนี้เป็นผู้มีความเที่ยงธรรมก็เท่ากับเรามั่นใจได้ว่า ผู้ที่ถูกระบุนั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ถูกแจ้งลักษณะไว้ในอัล กุรอาน ในทำนองเดียวกัน เมื่ออัลลอฮ์ทรงห้ามเหล้าและการพนัน ดังนั้นเมื่อเราทราบว่า เครื่องดื่มที่ผลิตจากข้าวโพดและน้ำผึ้งเป็นเหล้าได้ เราก็มั่นใจได้ว่า เครื่องดื่มนั้นเข้าอยู่ในขอบข่ายของตัวบทที่ห้ามไว้
ฉะนั้นการที่เรามั่นใจผู้ศรัทธาเป็นรายบุคคล หรือมั่นใจต่อผู้ที่เป็นมุนาฟิกเป็นรายบุคคลก็ด้วยวิธีเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นการถอดความจากอัลกุรอาน ซึ่งแน่นอนว่า ไม่มีผู้ใดล่วงรู้นอกจากอัลลอฮ์ เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้จักผู้ศรัทธาทุกคน และรู้ถึงปริมาณการศรัทธา และรู้ถึงการกลับกลอก และรู้ถึงจุดจบของพวกเขา” มัจมัวอุ้ลฟะตาวา หน้าที่ 7439 – 7440

ประเด็น “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” ที่น่าสนใจจากการชี้แนะของ ชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ คือ

1 – ข้อบัญญัติศาสนาไม่ได้ระบุถึงเรื่องนั้นไว้ตรงตัว แต่แจ้งถึงลักษณะของเรื่องนั้นไว้

2 – การที่เราจะรู้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิดก็ด้วยกับการวินิจฉัย คือเอาลักษณะที่ปรากฏไปเปรียบกับลักษณะที่ตัวบทบอกไว้

3 – ข้อฮุก่มของเรื่องนั้นๆมิได้เกิดจากตัวบทหรือหลักฐานตรงตัว แต่มันคือ “ตะวีลุ้ลกุรอาน” หรือการถอดความจากตัวบทหลักฐานนั่นเอง

ความจริงแล้วตำราที่เกี่ยวกับ “ตะกีกุ้ลมะนาฏ” นี้มีอยู่มากมาย แต่ที่เราหยิบเอาคำอธิบายของ “อิบนุตัยมียะห์” มาแสดง ก็เนื่องจากบุคคลผู้นี้เป็นที่ยอมรับระหว่างเราและท่าน ซึ่งเราจะเห็นว่าผู้ที่เป็นอุลามาอ์จริงๆ นั้นเขาจะมีความละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่สุกเอาเผากิน

เราลองพิจารณาอีกสักตัวอย่างหนึ่งก็ได้คือ น้ำหมัก หรือที่คนบ้านเรารู้จักในชื่อ “น้ำป้าเช็ง”

ก่อนอื่นเรายึดหลักฐานไว้ให้มั่นก่อนว่า น้ำเมานั้นฮะรอม ซึ่งมีตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและฮะดีษอย่างมากมาย เช่นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “เครื่องดื่มทุกชนิดที่ทำให้เมาถือว่าฮะรอม” บันทึกโดยบุคอรี ฮะดีษเลขที่ 5158

และเรื่องนี้ถือเป็นอิจมาอ์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
แต่กรณีของน้ำหมัก หรือน้ำป้าเช็งนี้ ไม่ได้ถูกระบุชื่อไว้โดยตรง ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่เราต้องวินิจฉัยในตัวของมัน โดยนำเอาลักษณะของมันไปเทียบกับลักษณะของข้อห้ามที่ถูกระบุไว้ในอัลกุรอาน และฮะดีษคือ “เมาหรือไม” เพื่อที่จะได้ทราบว่าฮุก่มของมันคืออะไร

บางท่านอาจจะรีบร้อนตอบว่า มันฮะรอม
ใจเย็นๆ อย่าวู่วาม อย่ารีบร้อน ริจะเป็นมุจตะฮิดต้องละเอียดรอบคอบ อย่าฟัตวาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
หากเราถามว่า ฮะรอมเพราะอะไร ฮะรอมเพราะหมัก หรือฮะรอมเพราะเมา ถ้าตอบว่า ฮะรอมเพราะหมัก ถ้าเช่นนั้นแล้ว ของหมักของดองทั้งหลายก็อยู่ในฮุก่มฮะรอมทั้งหมด และประเด็นนี้ต้องยืนยันด้วยตัวบทหลักฐาน
ถ้าฮะรอมเพราะเมา นี่คือคำตอบที่เอาลักษณะของมันไปเปรียบกับลักษณะที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และฮะดีษ แต่ก็เป็นคำตอบที่ยังไม่รอบคอบพอ
หากเราถามว่า มันฮะรอมเพราะเมา ถ้าเช่นนั้นของหมักที่ไม่เมาถือว่าฮะล้าลใช่ไหม เพราะท่านนบีเองก็เคยดื่มน้ำหมักด้วยอินผลัม มีรสหวาน เรียกว่า “นะบีส” ดังคำรายงานในฮะดีษศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2319

เพราะฉะนั้นถ้าหมักแล้วไม่เมามันคือฮะล้าล นี่คือสภาพของน้ำหมักในระยะแรกที่ ยังคงฮะล้าล แต่ถ้าเข้าสู่ระยะเมา อันนี้ถือเป็นที่ต้องห้ามแน่นอน ดังตัวบทหลักที่กล่าวแล้วข้างต้น และถ้าหมักเลยระยะเมาก็กลับมาสู่สภาพฮะล้าลอีก และของหมักบางชนิด เช่นกล้วย เมื่อเข้าสู่ระยะพ้นสภาพเมาแล้วจะกลายเป็นน้ำส้ม ซึ่งถือว่าฮะล้าล

อย่างนี้แหละคือ “ตะกีกุ้ลมะนาฎ” ที่เขาไม่เข้าใจ จึงทำให้เกิดการเอาของถูกไปครอบผิด และลงฮุก่มผิด

ขณะเดียวกัน มุมมองของปัญหาที่ต่างกันในกรณีของ “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” นั้นก็ไม่สามารถที่จะโจมตีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดว่าหลงผิด

เชคซอและห์ อิบนุ อับดิลอะซีซ อาล์เชค ได้กล่าวในประเด็นนี้ว่า

“เมื่อเป็นประเด็นทางวิชาการ ถึงแม้จะเกี่ยวโยงกับเรื่อง “อะกีดะห์” หรือกรณีเฉพาะเรื่องหนี่งเรื่องใดที่บรรดาผู้คนได้ขัดแย้งกัน โดยที่คนกลุ่มหนึ่งพิจารณาด้านหนึ่ง และคนอีกกลุ่มหนึ่งก็พิจารณาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งผู้ที่วินิจฉัย “มุจตะฮิด” แต่ละคนนั้นต่างก็อยู่ในความดี (อินชาอัลลอฮ์) แต่เมื่อมันเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ก็ไม่สมควรเลยที่จะให้ข้อหาว่าหลงผิดซึ่งกันและกัน เมื่อเรื่องนั้นมันไม่ได้ค้านกับหลักฐาน (ที่ชัดเจน) หรือผลของการตีแผ่ข้อเท็จจริงมันใกล้เคียงมิใช่ไกลสุดโต่ง จึงไม่เป็นการสมควรที่จะกล่าวหาว่าคนหนึ่งคนใดหลงผิด เพราะผลของมันนั้นนำไปสู่การฟิตนะห์ซึ่งกันและกัน.....”
http://www.ahlelhadith.com/vb/showthread.php?t=5867

ข้อมูลเกี่ยวกับ “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” ยังมีอีกเยอะแต่ที่นำมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปนี้คงสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านได้แล้ว

คำกล่าวของเชคซอและห์ในเรื่องนี้น่าสนใจและน่าติดตามมาก แต่ไม่ไหวแปล แต่ถ้าใครจะอาสาแปลต่อก็ยินดี เราก๊อปลิงค์ไว้ให้ข้างต้นแล้ว และเหตุที่เรากล่าวว่าข้อความของเชคซอและห์น่าติดตามและน่าสนใจก็เพราะคำว่า ถึงแม้จะเกี่ยวโยงกับเรื่อง "อะกีดะห์" แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องโต๊ะจีนที่ลงฮุก่มกันหรือต้องฟันกันให้ตายไปข้างหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง ท่านเชคซอและห์พูดถึงผลที่จะเกิดขึ้นตรงเผงประหนึ่งว่า ท่านได้อยู่ร่วมเหตุการณ์ความขัดแย้งกับเรา มีการคิดเอง เออเอง ทึกทักเอง และคิดแทนคนอื่นเสียอีก แล้วฮุก่มกันเละเทะไปแล้วจริงๆ

ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เราเองก็พยามชี้แนะและตักเตือนท่านไม่รู้ครั้งกี่หน ให้พิจารณาทบทวน ให้ละเอียดรอบคอบ เพราะการออกฟัตวาแบบโครมครามไม่รอบคอบนั้น มีแต่จะสร้างความเสียหาย เพราะไม่ใช่ท่านคนเดียวที่เข้าใจผิดในเรื่องอิจมาอ์แล้วนำไปฮุก่มคนอื่นว่า “สวนอิจมาอ์” แต่ชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานเขาต้องเข้าใจผิดและรับข้อมูลผิดๆไปด้วย ทำให้เกิดความโกลาหลในสังคมดั่งเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้

หลักฐานที่ 2

หนึ่งในฮะดีษที่นำมาอ้างแล้วฟันธงลงฮุก่มกันนี้คือ ฮะดีษเรื่อง “ศิก๊าก” หรือ “ศุกู๊ก” จากคำรายงานในศอเฮียะห์มุสลิม ตัวบทมีดังนี้

عَنْ أبِيِ هُرَيْرَةَ أنَّهُ قَالَ لِمَرْوَانَ : أحْلَلْتَ بَيْعَ الرِّبَا فَقَالَ مَرْوَانُ: مَا فَعَلْتُ ؟ فَقَالَ أبُوْهَرَيْرَةَ : أَحْلَلْتَ بَيْعَ الصِّكَاكِ وَقَدْ نَهَى رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعِ الطَعَامِ حَتَّى يُسْتَوْفَي قَالَ : فَخَطَبَ مَرْوَانُ النَّاسَ فَنَهَى عَنْ بَيْعِهَا قَالَ سُلَيْمَانُ : فَنَظَرْتُ اِلَى حَرَسٍ يَأْخُذُوْنَهَا مِنْ أيْدِي النَّاسِ

“สุไลมาน บิน ยะซาร รายงานว่า อบูฮุรอยเราะห์ได้กล่าวแก่มัรวานว่า ท่านอนุมัติการขายที่มีดอกเบี้ยหรือ มัรวานตอบว่า ฉันไม่ได้ทำ อบูฮุรอยเราะห์จึงกล่าวว่า ท่านอนุมัติให้ขายตั๋วเงิน แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการขายอาหารจนกว่าจะได้รับครบถ้วนเสียก่อน ผู้รายงานกล่าวว่า มัรวานจึงได้ปาฐกถาแก่ผู้คนแล้วสั่งห้ามการขายศิก๊าก สุไลมาน กล่าวว่า ฉันเห็นบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐนำมันคืนจากการครอบครองของผู้คน”

หมายเหตุ : มัรวาน บิน ฮะกัม เป็นตาบีอีนอวุโส เป็นผู้ปกครองนครมะดีนะห์ เสียชีวิตในปีที่ 65 ฮิจเราะห์ศักราช

คำว่า ศิก๊าก ตามที่ระบุอยู่ในฮะดีษนั้น บรรดานักวิชาการฮะดีษได้อธิบายความไว้หลายท่านด้วยกัน แต่เราจะนำมาให้เห็นสักสองท่านก็คงจะพอ คือ อิหม่ามนะวาวี และ มุบาร๊อกฟูรีย์ ซึ่งทั้งสองท่านนี้คือผู้อธิบายฮะดีษศอเฮียะห์มุสลิม

อิหม่ามนะวาวี กล่าวว่า : “ความหมายของคำว่าศิก๊าก ณ.ที่นี้คือ เอกสารที่ผู้มีอำนาจรัฐออกให้แก่ผู้สมควรได้รับอุปโภค,บริโภค โดยที่จะถูกเขียนว่าเป็นสิทธิ์แก่ผู้ใดในเรื่องนั้นๆ จากอาหารและอื่นๆ แล้วผู้ที่ได้รับมันมาก็ขายต่อให้คนอื่นก่อนที่จะได้ครอบครองมัน” (อธิบายศอเฮียะห์มุสลิม โดยอิหม่ามนะวาวี ญุซที่ 10 หน้าที่ 162)

มุบาร็อกฟูรี อธิบายว่า “มันคือเอกสารทางการที่ผู้มีอำนาจรัฐหรือตัวแทนออกให้แก่คนใดที่อยู่ภายใต้ การปกครองในกิจการต่างๆ และเป้าหมายของ ศิก๊าก ณ.ที่นี้คือ เอกสารที่ทางรัฐภายใต้การปกครองของราชวงศ์มุอาวียะห์ได้จ่ายให้แก่ประชาชน ที่สมควรจะได้รับเพื่อแลกอาหาร”

เพราะฉะนั้นการที่ท่านเอาบัตรโต๊ะจีนไปเปรียบกับ “ศิก๊าก” จึงเป็นการเปรียบที่ผิดมหันต์ เนื่องจาก

1 – ศิก๊าก หรือ ศูกู๊ก คือเอกสารที่รัฐออกให้แก่ประชาชน แต่บัตรโต๊ะจีนคือผู้มีสิทธ์หรือผู้ครอบครองอาหารเป็นผู้ออก

2 – กศิก๊าก หรือ ศูกู๊ก คือคือเอกสารที่รัฐออกให้แก่ประชาชนแบบให้เปล่าเพื่อแลกอาหารและอุปโภค/บริโภค แต่บัตรโต๊ะจีนมิได้เป็นการให้เปล่า

มุบาร๊อกฟูรี อธิบายต่อว่า “แต่ประชาชนรีบร้อนเอามันไปขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ก่อนที่จะถึงกำหนดรับอาหาร แล้วผู้ที่ซื้อไปก็เอาไปขายต่อโดยบวกกำไรเพิ่ม” (มินนะตุ้ลมุนอิม ญุชที่ 41 หน้าที่ 14)

ประเด็นที่มุบาร๊อกฟูรี อธิบายนี้ มีที่มาจากคำรายงานของอิหม่ามมาลิก ในมุวัตเฏาะอ์ ดังนี้

فَقَالاَ هَذِهِ الصُكُوْكُ تَبَايَعَهَا النَّاسُ ثُمَّ بَاعُوْهَا قَبْلَ أن يَسْتَوْفُوْهَا

“ศอฮะบาะห์ทั้งสอง (อบูฮุรอยเราะห์และเซด บิน อัรกอม) กล่าวว่า ผู้คนต่างก็เอาตั๋วเงินนี้ไปขาย ซึ่งพวกเขาได้ขายมันก่อนที่จะได้รับมันอย่างครบถ้วน”

และเหตุที่อบูฮุรอยเราะห์กล่าวว่า เป็นการขายดอกเบี้ย หรือการขายที่มีดอกเบี้ยนั้น มุบาร็อกฟูรี อธิบายว่า

“อบูฮุรอยเราะห์เรียกว่า นี่คือการขายที่มีดอกเบี้ย ก็เพราะตั๋วเงิน ณ.ที่เขานั้นไม่ใช่อาหารและไม่ใช่สินค้า แต่มันคือหลักประกันเพื่อแลกอาหาร โดยผู้ที่ซื้อมาในราคา 100 ดิรฮัม ก็เอาไปขายต่อในราคา 120 ดิรฮัม โดยที่เขายังไม่ได้รับมอบอาหารนั้นหรือแม้แต่เพียงบางส่วนก็ตาม ฉะนั้นการซื้อ 100 ดิรฮัม แล้วเอาไปขายต่อ 120 ดิรฮัม มันคือดอกเบี้ย อย่างนี้แหละที่อบูฮุรอยเราะห์เรียกมันว่าดอกเบี้ย” (มินนะตุ้ลมุนอิม ญุชที่ 41 หน้าที่ 15)

จากการอธิบายของ มุบาร๊อกฟูรี ว่า ศิก๊าก หรือ ตั๋วเงินที่ภาครัฐออกให้ประชาชนนั้นตัวของมันไม่ใช่ดอกเบี้ย แต่การเอาไปขายช่วงต่อโดยเพิ่มราคา หรือบวกกำไรนั้นเป็นดอกเบี้ย

คำชี้แจงนี้ชี้ให้เห็นว่า มีการนำเอกสารราชการที่ได้เปล่าไปขายต่อ และเราก็เชื่อว่าสถาบัน องค์กรใดที่จัดงานการกุศลในรูปแบบโต๊ะจีนนั้นก็คงไม่ยอมเป็นแน่แท้ หากมีการนำบัตรโต๊ะจีนไปปั่นราคาสร้างกำไรเข้ากระเป๋าตัวเอง แต่เราก็ยังไม่พบว่าในสังคมมุสลิมของเราเกิดเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้

และสมมุติว่า ท่านพยายามที่จะทำให้บัตรโต๊ะจีนเป็น “ศิก๊าก” ให้ได้ เราก็พบข้อขัดแย้งของนักวิชาการในประเด็นของการขายตกทอดดังนี้

มุบาร๊อกฟูรี กล่าวว่า ในเรื่องนี้บรรดานักวิชาการมีมุมมองที่ต่างกันในการอนุญาตให้ขาย “ศิก๊าก”

ท่านอิหม่ามนะวาวี กล่าวว่า ที่ถูกต้องในหมู่นักวิชาการของเรา (มัซฮับซาฟีอี) และคนอื่นๆ ถือว่าอนุญาตให้ขายได้ แต่ผู้ที่ไม่อนุญาตให้ขายนั้นก็พิจารณาจากถ้อยคำของอะบูฮุรอยเราะห์ที่ปรากฏ ในฮะดีษแล้วนำไปเป็นหลักฐาน

ส่วนผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตนั้นก็พิจารณาจากประเด็นของการขายให้แก่บุคคลที่สาม คือบุคคลที่สองขายให้แก่บุคคลที่สาม ไม่ใช่การขายของบุคคลแรก

จากข้อมูลที่เราชี้ให้เห็นนี้จึงเข้าใจได้ว่า การนำเอาฮะดีษเรื่อง “ศิก๊าก” มาเปรียบเทียบกับ บัตรโต๊ะจีน นั้นเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง เป็นหนังคนละม้วน หรือที่เราเรียกว่า หลักฐานสวมตอ

ก่อนที่จะคุยถึงหลักฐานที่สามนี้ ขอทำความเข้าใจเรื่อง “ฆ่อรอร” สักเล็กน้อยก่อนดังนี้

การรู้หลักฐานแต่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐาน เป็นเรื่องที่เป็นอันตรายแก่ผู้ที่จะเป็นมุจตะฮิด เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการอิจติฮาด หรือการวินิจฉัยปัญหา

ดังนั้นการเรียนรู้วัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับ ต้นๆ เพื่อที่จะได้เอาหลักฐานไปใช้ได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์คือ

“ฆ่อร๊อร” มีความหมายว่า “ล่อลวง” ซึ่งถูกนำมาใช้ในการซื้อขาย หมายถึง ความเสี่ยง, ปิดบังอำพราง, เล่ห์กลของการทุจริตในการซื้อขาย ความเสียหาย และไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการห้ามในตัวบทหลักฐานจากฮะดีษแต่ละบท อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า

نَهَى رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعِ الحَصَاةِ وَعَنْ بَيْعِ الْغَرَرِ

“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการซื้อที่ใช้การขว้าง และการขายที่มีฆ่อร๊อร” ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2783

จะเห็นได้ว่าบรรดาผู้บันทึกฮะดีษทั้งหลายจะนำเอาฮะดีษในเรื่องนี้ระบุไว้ เป็นบทแรกในหมวดของการซื้อขาย และบรรดานักฟิกฮ์ต่างก็เอากรณีของ “ฆ่อร๊อร” นี้เป็นมูลเหตุในการพิจารณาคำสั่งห้ามในเรื่องของการซื้อขาย เช่น

ฮะดีษที่ห้ามเรื่องการขายสิ่งที่ไม่มีอยู่ ณ ที่ผู้ขาย (ما ليس عندك หรือ ما ليس عنده ) คือสิ่งที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ในสินค้านั้น แต่ท่านอิบนุ ตัยมียะห์ และอิบนุก็อยยิม ไม่ได้ถือตามตัวอักษรของฮะดีษ แต่ท่านพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษคือ ฆ่อร๊อร ของข้อห้ามนี้ นั่นคือการส่งมอบ ดังนั้นท่านจึงอธิบายกรณีนี้ว่า ห้ามขายสินค้าที่ส่งมอบไม่ได้ และถึงแม้ว่าผู้ขายจะมีสิทธิ์ในสินค้าแต่ส่งมอบไม่ได้ ก็ถือว่าเข้าข่ายต้องห้ามเช่นเดียวกัน

وأما حديث النهي عن بيع ما ليس عند الإنسان فالسبب فيه: هو الغرر لعدم القدرة على التسليم، لا أنه معدوم

“ส่วนฮะดีษที่ห้ามการขายสิ่งที่ผู้คนไม่มีอยู่ ณ ที่เขานั้น เหตุของมันก็คือ ฆ่อร๊อร เนื่องจากไม่มีความสามารถในการส่งมอบ ไม่ใช่ห้ามเพราะไม่มีสินค้าอยู่”
http://islamport.com/w/fqh/Web/1272/2621.htm

อย่างนี้แหละที่บรรดานักวิชาการเขาพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของข้อห้ามแล้ววางฮุก่ม ไม่ใช่หยิบแค่ตัวอักษรไปฮุก่ม

ส่วน “ฆ่อร๊อร” ที่เป็นมูลเหตุแห่งการห้ามนี้ บรรดานักวิชาการได้แบ่งเป็นสามระดับด้วยกันคือ 1.ระสูง (มีฆ่อร๊อรมาก) 2. ระดับปานกลาง 3. ระดับน้อย

ทั้งสามกรณีนี้บรรดานักวิชาการเห็นพ้องต้องการว่า การซื้อขายที่มีฆ่อร๊อรเพียงเล็กน้อยที่สามารถขจัดได้ก็ถือว่าการซื้อขาย นั้นเป็นที่อนุญาต
http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx…

เมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับ “ฆ่อรอร” ในการซื้อขายแล้ว เรามาดูการอ้างหลักฐานถัดไปดังนี้

หลักฐานที่ 3

เจ้าของบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” กล่าวว่า “เป็นการขายสิ่งที่ยังไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขาย เช่น สินค้าอาจจะยังไม่แล้วเสร็จ ส่งมาไม่ถึง อยู่ระหว่างการส่งมอบ อย่างนี้เป็นต้น ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามทำกำไรจากสิ่งที่ยังมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขาย

وَعَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أبِيْهِ عَنْ جَدِّهِ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا – قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ... وَلاَ رِبْحُ مَا لَمْ يَضْمَنْ... رَوَاهُ الخَمْسَةُ وَصَحَّحَهُ التِّرْمِذِيُّ وَابْنُ خُزَيْمَةَ وَالْحَاكِمُ

รายงานจากอัมร์ อิบนุ ชุอัยบ์ จาบิดาท่าน จากปู่ของท่าน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “… และต้องไม่เอากำไรจากสิ่งยังไม่อยู่ในความรับผิดชอบ” บันทึกโดยห้าท่าน อิหม่ามติรมิซีย์ อิบนุ คุซัยมะห์ และอัลฮาเกม บอกว่าเป็นฮะดีษ ศ่อเฮี้ยห์ (สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 21 อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)”

ขอทำความเข้าใจว่า นอกจากผู้เขียนบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” จะเข้าใจผิดต่อข้อเท็จจริงของโต๊ะจีนและนำเอาหลักฐานมาอ้างผิดประเรื่องผิดประเด็นแล้ว ท่านยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐานที่นำมากล่าวอ้างอีกด้วย

ความจริงแล้ว “ฆ่อร๊อร” ของการห้ามนี้คือ “ความรับผิดชอบในกรณีที่เกิดความเสียหาย” ซึ่งเรียกว่า “ฏ่อมานุน” คำว่า “ฏ่อมานุลมุชตะรี” คือความรับผิดของผู้ซื้อ และ “ฏ่อมานุ้ลบาเอียะอ์” คือความรับผิดชอบของผู้ขาย

ในกรณีความรับผิดชอบต่อความเสียหายนี้ บรรดานักวิชาการมีข้อถกเถียงกันอยู่มากมายว่า หากเกิดความเสียหายแก่สินค้าไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ความรับผิดชอบนี้จะตกเป็นของผู้ใดระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ยกตัวอย่างเช่น ท่านไปซื้ออาหารที่ร้านสะดวกซื้อโดยชำระเงินเรียบร้อย แต่ท่านยังไม่สะดวกที่จะรับมอบอาหารในเวลานั้นจึงไม่ได้นำสินค้านั้นกลับมา และได้ฝากไว้ที่ร้านก่อน แต่เมื่อกลับไปเอาปรากฏว่าอาหารนั้นหายไป ถามว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อความเสียหายในครั้งนี้ อย่างนี้แหละที่นักวิชาการเขาถกเถียงกัน ท่านอาจจะแย้งว่า ตัวอย่างที่เราแสดงให้เห็นนี้เป็นการค้าสองฝ่าย ขอทำความเข้าใจว่า โต๊ะจีนสามฝ่ายที่ท่านตั้งกฏเกณฑ์นั้นเกิดจากความเข้าใจผิดของท่านเอง

ความจริงคู่สัญญาระหว่างเจ้าภาพหรือผู้ขายบัตรนั้นมีความรับผิดชอบต่อผู้ซื้อบัตรเต็มตัวอยู่แล้วในฐานะผู้ขาย และในฐานะผู้เป็นเจ้าของอาหาร หรืออย่างเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
ท่านอิหม่ามอะห์หมัด เคยถูกถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบดังนี้

وقد سئل الإمام أحمد عمن اشترى طعاما فطلب من يحمله فرجع فوجده قد احترق فقال هو من ضمان المشتري

“อิหม่ามอะห์หมัดถูกถามเกี่ยวกับผู้ที่ซื้ออาหาร แล้วเขาก็หาคนมาขนย้าย แต่เมื่อกลับมาก็พบว่า อาหารนั้นถูกไฟไหม้ ท่านตอบว่า กรณีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ” อิบนุฮะญัร ได้นำมาระไว้ในคำอธิบายศอเฮียะห์บุคอรี กิตาบุ้ลบุยัวอ์
http://madrasato-mohammed.com/mawsoat%20Alhadith/01/sharh039.htm

ปัญหาและข้อถกเถียงเกี่ยวกับความรับผิดชอบกรณีนี้จะหมดไปก็ต่อเมื่อ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแสดงความรับผิดชอบก็ถือว่าหลุดพ้นข้อขัดแย้ง เช่นเดียวกันกับกรณีของ ฆ่อร็อร ที่เป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษบทนี้ กล่าวคือ เมื่อผู้ขายมีความรับผิดชอบต่อผู้ซื้อแล้ว ฆ่อร๊อร ของข้อห้ามก็หมด การซื้อขายนี้ก็ถือเป็นที่อนุญาต ซึ่งความรับผิดชอบของผู้ขายนี้เราจะชี้แจงให้ทราบอีกครั้งในเรื่อง “บัยอุ้ลคิยาร” อินชาอัลลอฮ์

หลักฐานที่ 4 และ 5

เจ้าของบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” กล่าวว่า “เป็นการขายอาหารโดยที่ผู้ขายยังมิได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วน ท่าน นบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการซื้อขายลักษณะดังกล่าวไว้ชัดเจนดังนี้

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ : قَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ وَأحْسِبُ كُلّ شَيْئٍ مِثْلَهُ

มีรายงานจากอิบนุอับบาสว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้อาหารนั้นมาจนครบถ้วนก่อน” ท่านอิบนุ อับบาสกกล่าวว่า “ฉันเห็นว่าทุกอย่างก็เหมือนอาหาร” อัลบุคอรี (2136) มุสลิม (1525) ในสำนวนการบันทึกของอัลบุคอรีมีว่า

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا أنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ زَادَ إسْمَاعِيْلُ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَقْبِضَهُ

มีรายงานจาก อิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้อาหารนั้นมาจนครบถ้วนก่อน” ในสำนวนของอิสอาอีลมีสำนวนเพิ่มว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้ครอบครองอาหารนั้นก่อน” อัลบุคอรี (2136)”

ฮะดีษทั้งสองบทที่นำมาอ้างนี้เจ้าของบทความได้ชี้ประเด็นว่า “ห้ามขายอาหารโดยผู้ขายยังมิได้ครอบครองอาหาร” ซึ่งก็เป็นดั่งที่เราได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า ผู้เขียนได้วิเคราะห์ปัญหาผิดจึงทำให้เอาหลักฐานมาครอบผิดเหมือนดั่งที่เราเขียนในบทสรุปการพิจารณาปัญหาว่า

1 – การจัดโต๊ะจีนไม่ใช่การจัดการด้านอาหารเพียงอย่างเดียว แต่คือ การจัดการด้านอาหารเครื่องดื่มและการบริการ

2 – อาหารโต๊ะจีน ไม่ใช่อาหารสำเร็จรูปที่ทำไว้ล่วงหน้า แต่เป็นอาหารที่ทางเจ้าภาพสั่งทำ และเป็นอาหารปรุงสดในวันและเวลาที่กำหนด

3 – ผู้ค้าโต๊ะจีนไม่ใช่เจ้าของอาหารและไม่ใช่ผู้ขายอาหาร แต่เป็นผู้รับทำอาหารตามความต้องการของเจ้าภาพ

4 – เจ้าภาพไม่ใช่ผู้ซื้ออาหาร แต่เป็นผู้สั่งทำอาหาร และเป็นผู้กำหนดเมนูอาหารเอง

5 – เมื่อเจ้าภาพมีสิทธิ์ชอบธรรมในอาหารที่สั่งทำ ดังนั้นการจัดการใดๆ ของเจ้าภาพจึงเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคา หรือการนำไปขาย เพราะไม่ใช่การซื้ออาหารมาแล้วนำไปขายต่อในขณะที่ยังไม่ได้ครอบครองอาหารนั้น

6 – ผู้ซื้อไม่ใช่ผู้ร่วมสัญญากับเจ้าภาพและผู้รับทำโต๊ะจีน โดยผู้ซื้อและผู้รับทำโต๊ะจีนมิได้มีความรับผิดใดๆ ระหว่างกัน

7 – การจัดโต๊ะจีนนี้ไม่ใช่เป็นการซื่อขายสามฝ่าย

เพราะฉะนั้นฮะดีษที่นำมาเป็นหลักฐานนี้จึงไม่เกี่ยวกับการจัดโต๊ะจีนแต่อย่างใด โดยเฉพาะในตัวบทฮะดีษระบุว่า “ผู้ใดซื้ออาหารมา” แต่ข้อเท็จจริงของเจ้าภาพที่จัดโต๊ะจีนนั้น เขามิได้เป็นผู้ซื้ออาหาร แต่เขาเป็นเจ้าของอาหาร เป็นผู้สั่งทำอาหาร และเป็นผู้กำหนดเมนูอาหารเอง

ถึงแม้ฮะดีษทั้งสองบทที่อ้างนี้จะไม่เกี่ยวกับการจัดโต๊ะจีน แต่ก็อยากจะชี้แจงเพิ่มเติมให้ได้รับทราบดังนี้

“ฆ่อร๊อร” หรือมูลเหตุแห่งการห้ามของฮะดีษทั้งสองนี้คือ “ความรับผิดชอบที่เกิดจากความเสียหาย” แต่หากขจัด ฆ่อร๊อร นี้ออกไปการซื้อขายหรือการจัดการใดๆก็เป็นที่อนุญาต ดั่งที่ระบุในข้อความอิจมาอ์ดังนี้
อิบนุลมุนซิรกล่าวว่า

وَقَالَ ابْنُ المُنْذِرِ : أجْمَعَ أهْلُ العِلْمِ عَلَى أنّ مَنِ اشْتَرَى طَعَاماً فَلَيْسَ لَهُ أنْ يَبِيعَهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الْمُشْتَرِي جَازَلَهُ بَيْعُهُ وَالتَصَرُّفُ فِيْهِ كَمَا بَعْدَ القَبْضِ

"นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดซื้ออาหารมาเขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้รับมันครบถ้วนเสียก่อน และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว ก็อนุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง" ( อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)

คำว่า “ก่ามาบะอ์ดัลก๊อบฏิ” ที่แปลว่า “เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง” มีวัตถุประสงค์ว่า “แม้อาหารยังไม่ได้อยู่ในการครอบครองแต่ฮุ่ก่มของมันก็เหมือนกับได้ครอบครองแล้ว”

เราจะเห็นได้ว่าข้อความของอิจมาอ์ข้างต้นนี้มีสองประโยค

ประโยคแรกเป็นข้อห้ามคือ “ผู้ใดซื้ออาหารมาเขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้รับมันครบถ้วนเสียก่อน” นี่คืออิจมาอ์ตามตัวบทคือการขายที่ยังคงมี ฆ่อรอร อยู่ และไม่ถือว่าเป็นการขายอาหารแต่เป็นการเอามูลค่าของอาหารมาขายต่อ จึงเข้าข่ายกรณีดอกเบี้ย

ประโยคที่สอง อนุญาตคือ “และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อนุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง” นี่คืออิจมาอ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษ คือความรับผิดชอบของผู้ซื้อเท่ากับขจัด ฆ่อรอร ให้หมดไป และถือว่าอาหารนั้นเป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยชอบธรรม และการเอาไปขายต่อก็อนุญาตและไม่ถือเป็นดอกเบี้ยแต่อย่างใด

สรุปจากที่ได้ชี้แจงมาทั้งหมดนี้คือ เจ้าของบทความเรื่อง “อธิบายปัญหาของโต๊ะจีน” วิเคราะห์ปัญหาผิดและนำเอาหลักฐานมาชี้ประเด็นผิด เป็นเหตุให้ออกฟัตวาผิดว่า “โต๊ะจีนฮะรอม” ซึ่งความไม่รอบคอบต่อการพิจารณาปัญหาและทำความเข้าใจในตัวบทหลักฐานนี้ เป็นการเปลี่ยนฮุก่มฮะล้าลให้กลายเป็นฮะรอม แต่ท่านอาจจะไม่ตั้งใจ เราจึงเรียกร้องท่านทบทวนชี้แจงและแก้ไข

بيع الخيار


การให้สิทธ์แก่ผู้ซื้อในการเลือก


ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า “ฆ่อร๊อร” คือวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการห้ามในธุรกรรมการซื้อขาย ดังนั้นการขจัด ฆ่อร๊อร ให้หมดไปจึงมีความจำเป็นแม้ว่านักวิชาการโดยส่วนใหญ่จะถือว่า ฆ่อร๊อร ที่เล็กน้อยในการค้าขายจะเป็นที่อนุญาตก็ตาม เช่นการใช้บริการสุขาที่ต้องชำระค่าบริการ ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่าผู้ใช้บริการจะใช้น้ำมากหรือน้ำน้อยเพียงใด อย่างนี้เป็นต้น แต่การค้าขายโดยทั่วไปถ้าปราศจาก ฆ่อร๊อร ไม่ว่าจะระดับใหญ่ ปานกลาง หรือเล็ก ก็ทำให้ปลอดภัยการจากการทำธุรกรรมทางการค้า

อัลคิยาร หรือ การให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการเลือก ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งของการขจัด ฆ่อร๊อร ที่เหล่าศอฮาบะห์ของท่านนบีได้ถือปฏิบัติกัน

“อัลคิยาร” นี้มีอยู่ในการทำธุรกรรมการซื้อขายหลายประเภท แต่ย้ำว่ามันคือเงื่อนไขที่จะทำให้ธุรกรรมนั้นถูกต้อง

เราลองยกตัวอย่างธุรกรรมสักประเภทหนึ่ง เช่น การซื้อขายขณะที่ไม่เห็นสินค้า หรือที่เรียกว่า بيع المغيبات “บัยอุ้ลมะฆีบาต” ซึ่งการซื้อขายในประเภทนี้ยังเป็นข้อถกเถียงของบรรดานักวิชาการ เช่นการซื้อขายสินค้าที่อยู่ในดิน เช่น หัวหอม กระเทียม หรือสินค้าอุปโภค/บริโภค ที่ผู้ซื้อไม่เห็นตัวตนของสินค้า ซึ่งท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะห์ มีมุมมองว่าอนุญาตให้ทำการซื้อขายสินค้าในประเภทนี้ได้

และมุมมองของนักวิชาการที่หยิบเอาปัญหานี้มาพิจารณาคือ

การแจ้งลักษณะของสินค้าให้ผู้จะซื้อทราบเพียงพอไหมที่จะทำให้การซื้อขายนี้ถูกต้อง หรือผู้ซื้อต้องได้เห็นสินค้านั้นเสียก่อน

การแจ้งลักษณะของสินค้าให้ผู้ค้าทราบอาจจะไม่ตรงตามความเข้าใจในมุมมองของ ลูกค้า คืออาจจะเข้าใจลักษณะของสินค้าไปคนละทางก็ได้ เหมือนดั่งที่เราดูโฆษณาสินค้าในช่องทีวีต่างๆ ซึ่งเราได้เห็นภาพและได้ยินการบรรยายลักษณะและสรรพคุณของสินค้า แต่เมื่อสั่งซื้อไปแล้วและได้รับสินค้าแล้วอาจจะไม่ตรงตามที่คิดไว้ก็เป็น ได้ เพระฉะนั้นการให้โอกาสลูกค้าในการตัดสินใจเลือกหลังจากได้เห็นสินค้าแล้ว จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รูปแบบการซื้อขายประเภทนี้ถูกต้อง แม้ว่าสินค้าที่ตกลงจะซื้อจะขายจะไม่ตรงตามที่ระบุไว้ก่อนหน้า แต่ถ้าลูกค้าได้เห็นสินค้าแล้วเกิดพึงพอใจก็สามารถที่จะซื้อขายได้

ข้างต้นนี้คือตัวอย่างพอสังเขปที่อธิบายให้เห็นว่า “บัยอุ้ลคิยาร” คือลักษณวิธีหรือเงื่อนไข ไม่ใช่รูปแบบการซื้อขายแต่อย่างใด และลักษณะวิธีที่จะทำให้การซื้อขายในรูปแบบต่างๆถูกต้องเช่นนี้ ก็เป็นที่แพร่หลายในหมู่ศอฮาบะห์ จนกระทั่งได้กลายเป็นอิจมาอ์ของเหล่าศอฮาบะห์ไปในที่สุด ดังคำรายงานต่อไปนี้

أن سيدنا عثمان بي عفان رضى الله عنه باع أرضاله من طلحة بن عبد الله رضى الله عنهما ولم يكونا رأياها فقيل لطلحة : غبنت فقال لي الخيار لأني اشتريت ما لم أره فحكما في ذلك جبير بن مطعم فقضى بالخيار لطلحة رضى الله عنه أي للمشتري دون البائع وإن باع مالم يره وكان ذلك بمحضر من الصحابة رضى الله عنهم ولم ينكر عليه أحد منهم فكان إجماعا منهم على شرعية هذا الخيار

“แท้จริงท่านอุสมาน บินอัฟฟาน ได้ขายที่ดินแปลงหนึ่งที่เป็นของท่านเองให้กับท่านฏอลฮะห์ บิน อุบัยดิลลาฮ์ และทั้งสองก็ไม่เคยเห็นที่ดินแปลงนั้นมาก่อน จึงมีผู้กล่าวกับท่านฏอลฮะห์ว่า (ท่านโดนหลอกแล้ว) ท่านฏอลฮะห์ จึงกล่าวว่า ฉันมีสิทธิ์เลือกเพราะฉันซื้อในสิ่งที่ฉันไม่เคยเห็นมัน แล้วทั้งสองก็ได้มอบให้ท่าน ญุบัยร์ บิน มุฏอิม เป็นผู้ตัดสินในกรณีนี้ และท่านญุบัยร์ ก็ตัดสินให้ท่านฏอลฮะห์มีสิทธ์ตัดสินใจในการเลือก คือ การตัดสินใจในการเลือกกรณีที่ไม่ได้เห็นสินค้าให้เป็นสิทธิ์ของผู้จะซื้อ เท่านั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ ถึงแม้ว่าเขาจะขายในสิ่งที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนก็ตาม” (นัศบุลรอยะห์ โดยท่านซัยละอีย์ 4/10)

และเหตุการณ์ข้างต้นนี้ ท่าน ดอ๊กเตอร์วะฮ์บะห์ อัรรุฮัยลีย์ ได้อธิบายต่อว่า
“การตัดสินของท่านญุบัยร์ในครั้งนี้ เกิดขึ้นโดยการรู้เห็นของบรรดาศอฮาบะห์ และไม่มีศอฮาบะห์ท่านใดที่คัดค้านไม่เห็นด้วย จึงถือว่าเป็น “อิจมาอ์” การเห็นชอบของบรรดาศอฮาบะห์อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า สิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกเป็นไปตามเป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนา” (อัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์วะอะดิ้ลละตุฮู 5/250 )

การให้สิทธิ์แก่ลูกค้าในการเลือกนี้มิได้มีข้อจำกัดว่าเป็นสินค้าประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรืออุปโภค/บริโภคหรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ เมื่อ ผู้ซื้อได้เห็นสินค้าแล้วพอใจหรือไม่ และเป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อเองในการตัดสินใจว่า พอใจจะซื้อหรือไม่

การให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการเลือกนี้คือวิธีปฏิบัติของเหล่าศอฮาบะห์ และเป็นอิจมาอ์ของเหล่าศอฮาบะห์ที่เรียกว่า “อิจมาอ์ซุกูตี่ย์” ในระดับศอฮาบะห์ และเป็นสิ่งที่ญุมฮูรุ้ลอุลามาอ์ได้ยึดถือเป็นหลักฐาน (ดูอัลมุฮัซซับฟีอุศูลิลฟิกฮ์ 2/933)

ข้อเสนอแนะสำหรับผู้อยู่ในแวดวงของธุรกิจการค้า


การรับประกันสินค้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะขจัด “ฆ่อร๊อร” ให้หมดไป แต่ขอทำความเข้าใจว่า การรับประกันสินค้าที่กล่าวถึงนี้คือหนึ่งในบริการหลังการขายจากเจ้าของสินค้าเอง มิใช่การประกันสินค้ากับบริษัทประกัน หรือการบังคับประกันจากทางการ

การรับประกันสินค้าจากผู้ขายหรือผู้จากเจ้าของสินค้าคือการแสดงความรับผิดชอบที่เรียกว่า “ฏ่อมานุ้ลบาเอียะอ์” ซึ่งนอกจากจะทำให้ฆ่อร๊อรหมดไปจากการค้าแล้ว ยังหลุกพ้นจากวงจรของการถกเถียงอีกว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ใด เช่นการรับเปลี่ยนหรือคืนในกรณีสินค้าไม่เป็นตามข้อตกลงหรือสินค้าเสื่อมสภาพ หรือรับประกันอายุการใช้งาน รับประกันอะไหล่หรือบริการตรวจซ่อมบำรุง อย่างนี้เป็นต้น หากเป็นอาหารก็อาจจะรับประกันความสด หรือรสชาติของอาหาร เช่นไม่ถูกใจยินดีคืนเงินอย่างนี้เป็นต้น

ส่วนการประกันสินค้าโดยทำสัญญากับบริษัทประกันนั้นอย่างนี้เข้าข่ายดอกเบี้ย เช่นการประกันภัยรถยนต์ นอกจากการประกันภาคบังคับเช่น พรบ ที่ถูกกำหนดโดยทางการซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือการรับประกันสินค้าและการขนส่งที่เรียกว่า “อินชัวร์รัน” โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งออกทางทะเลอย่างนี้คือประกันภาคบังคับจากหน่วยงานราชการ

หากเราไม่ชี้แจงปัญหาโต๊ะจีนให้กระจ่าง ก็จะมีผลกับการทำธุรกิจการค้าด้านอาหารนานาชนิด ทั้งรายเล็กรายใหญ่ ธุรกิจในประเทศและธุรกิจระหว่างประเทศ

ตัวอย่างของผู้ค้ารายย่อยเช่น หากท่านเปิดร้านขายขนม แล้วมีลูกค้ามาสั่งขนมเปี๊ยะจำนวน 1,500 ชิ้น แต่ท่านไม่ใช่ผู้ผลิตเอง ต้องสั่งทำอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้นกรณีนี้คือ สัญญาจ้างคู่ขนาน ท่านก็สามารถรับออร์เดอร์ได้

ตัวอย่างของผู้ค้าส่งหรือเหมา เช่น ท่านขายไก่ในตลาด แล้วมีลูกค้าสั่งออเดอร์ไก่จำนวน 150 โล แต่ท่านไม่มีไก่จำนวนมากมากองอยู่ในครอบครอง ท่านก็สั่งโรงไก่ต่ออีกทอดหนึ่งให้จัดการส่งในวันเวลาที่กำหนด ท่านก็สามารถรับออร์เดอร์ได้เช่นเดียวกัน

หรือคนที่ทำธุรกิจด้าน การจัดการงานแต่งงานครบวงจร หากลูกค้าสั่งการ์ดแต่งงาน และสั่งอาหารจากท่าน ท่านก็สามารถรับออร์เดอร์ได้ด้วยการสั่งให้ร้านอาหารผลิตอาหารส่งให้ท่านในวันและเวลาที่กำหนด

หรือธุรกิจการส่งออกอาหารสด ท่านก็สามารถรับออร์เดอร์จากลูกค้าได้ โดยท่านก็สั่งอาหารสดจากผู้ค้าอีกทอดหนึ่งให้ส่งแก่ท่านในวันและเวลาที่กำหนด

และตัวอย่างการค้าทั้งหมดนี้กระทำในรูปแบบ الاستصناع الموازي หรือ “สัญญาจ้างคู่ขนาน” ซึ่งไม่ผิดหลักการศาสนาแต่อย่างใด

ฟารีด เฟ็นดี้
6 มีนาคม 58