โต๊ะจีน ตอนที่ 10
เหตุที่เราต้องกล่าวว่า ไม่มีนักวิชาการมุสลิมโลกคนใดฟัตวาว่า ” โต๊ะจีนฮะรอม” นั้น ก็เพื่อที่จะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงที่มาของปัญหาว่า คำฟัตวานี้คือผลงานของนักวิชาการบางคนในบ้านเราโดยเฉพาะ ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาเอง นำตัวบทหลักฐานและคำฟัตวาใดๆมาอ้างอิงเอง หรือวางฮุก่มเอง ซึ่งเราก็ไม่ได้ข้องใจในบทบาทการเป็น “มุจตะฮิด” ของท่านแต่อย่างใด
เพราะถ้าหากผลของการฟัตวาถูกต้อง ก็ไม่ใช่เราเท่านั้นที่จะต้องน้อมรับคำฟัตวาของท่านนี้ แต่มุสลิมทั้งโลกจะต้องน้อมรับด้วย แล้วมันก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานที่มุสลิมทั้งโลกจะต้องยึดถือปฏิบัติเลยที เดียว
แต่ถ้าผลของของการฟัตวาของท่านไม่ถูกต้องละ บรรดาผู้คนได้นำไปยึดถือปฏิบัติบนความเข้าใจผิดต่อตัวบทหลักฐานตามที่ท่าน ได้แสดง ยิ่งกว่านั้นจะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการทำธุกรรมทางการค้าครั้งยิ่งใหญ่ใน บ้านเมืองเราเลยทีเ ดียว แน่นอนว่าความโกลาหลย่อมเกิดขึ้น เพราะธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง และธุรกรรมที่มีลักษณะเดียวกันจะต้องถูกรื้อทั้งหมด แล้วใครจะรับผิดชอบต่อความหายนะของธุรกิจมุสลิมครั้งมโหฬาร
แต่ผลของการวินิจฉัยของท่านนี้จะถูกหรือผิดนั้น “วัลลอฮุอะอ์ลัม” ซึ่งเราจะได้วิเคระห์กันต่อไป แต่ผมได้กล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ท่านยกหลักฐานถูกแต่อ้างผิด หรือหรือเอาหลักฐานไปครอบผิดเรื่องผิดประเด็น บางครั้งก็ใช้คำว่าหลักฐานสวมตอ ซึ่งคำพูดของผมนี้คือ “อะมานะห์ทางวิชาการ” ที่จะต้องแจ้งให้ท่านทราบ และเราก็ย้ำเตือนเสมอให้ผู้วินิจฉัยมีความละเอียดรอบคอบ
แต่ก่อนอื่นขอแนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่ประกาศตนว่าได้ยึดถือแนวทางของชาวสะ ลัฟ เนื่องจากเชคซอและห์ อิบนุ อับดิลอะซีซ อาล์เชค แนะนำว่า
“ปัญหาที่ต้องอาศัยการวินิจฉัยหรือปัญหา “อิจติฮาด” นั้นไม่สมควรที่จะคิดอ่านเพียงลำพัง แต่ควรให้ “อะห์ลุ้ลอิลม์” หรือคณะนักวิชาการได้ร่วมกันวินิจฉัย ค้นคว้า เพื่อป้องกันความผิดพลาดในมุมมองของกันและกัน” เชคซอและห์ได้กล่าวต่อไปว่า
لأن من سنة السلف كفعل عمر أنه إذا جاء فيه مسألة جمع لها أهل بدر، وهو الخليفة الراشد، وهكذا كان كثير من أهل العلم يستشير ولا يستقل بالأمور في الأمة
“เพราะเนื่องจากแบบอย่างของสะลัฟ เช่นการกระทำของท่านอุมัรนั้น เมื่อมีปัญหาใดๆมาถึงท่าน ท่านก็จะรวมบรรดาศอฮาบะห์ที่เป็นชาวบะดัรเพื่อขอปรึกษาหารือในปัญหานั้น ทั้งๆที่ท่านเป็นคอลีฟะห์ผู้ปราชเปรื่อง อย่างนี้แหละที่บรรดานักวิชาการส่วนมากจะได้ขอคำปรึกษาหารือกัน และจะไม่ดำเนินการต่อเรื่องราวต่างๆในประชาชาตินี้อย่างเอกเทศ”
http://www.ahlelhadith.com/vb/showthread.php?t=5867
วิถีทางของชาวสะลัฟตามที่เชคซอและห์ได้ชี้แนะนี้ ไม่ได้หมายถึงการฟันธงลงฮุก่มไปก่อนแล้วจึงประกาศเชิญชวนคนอื่นให้แสดงทัศนะ ซึ่งเราเองก็แปลกใจว่า ทำไมผู้ที่ประกาศว่ายึดแนวทางของซะลัฟจึงเพิกเฉยหรือละทิ้งวิถีทางของชาวสะ ลัฟดังที่เชคซอและห์ อิบนุ อับดิลอะซีซ ได้ชี้แนะ
ขณะเดียวกันผู้วินิจฉัยก็พยายามหาทางออกให้กับตัวเองโดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินคำว่า "ลากข้าวสาร" คงเคยได้ยินคำว่า "สาโท" คำว่า "โต๊ะตะเกี่ย" และอีกหลายๆ คำที่ยังหาฟัตวาไม่เจอจนกระทั้งทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นฟัตวามของอุละมาอฺในอดีตหรือปัจจุบัน แต่พวกเราเกือบทุกคนก็ชี้มิใช่หรือว่า สิ่งที่กล่าวแล้วนั้นไม่ถูกต้อง ใครลากข้าวสารแทนละหมาด เราก็ว่าไม่ถูกต้อง ใครดื่มสาโท เราก็ว่าผิด ใครไปบนบาณสานกล่าวกับโต๊ะเกี่ย เราก็ว่าเขาทำชิรก์ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยอ้างฟัตวาใดๆ จากปราชญ์ในอดีตและปัจจุบัน เพราะหากไปหาให้ตายก็คงไม่พบคำว่า "ลากขาวสาร" "สาโท" "โต๊ะตะเกี่ย"
ความจริงแล้ว เจ้าของวาทะข้างต้นนี้ก็คือผู้รู้ ครู อาจารย์ ไม่น่าจะพลาดในเรื่องง่ายๆเช่นนี้เลย เนื่องคำว่า “โต๊ะตะเกี่ย” นั้นเขาชี้ประเด็นว่าเป็นชีริคเนื่องจากการกราบไหว้ หรือการวิงวอนขอต่อคนตาย กรณีนี้ท่านไม่เคยเจอฟัตวาหรือ กรณีนี้ยังมีข้อขัดแย้งของนักวิชาการอีกหรือ และการลากข้าวสารนั้นเขาชี้ประเด็นว่าเป็นบิดอะห์ เนื่องจากกำหนดพิธีทางศาสนามาทดแทนการละหมาด
แล้วท่านเอากรณีทั้งสองมาเปรียบกับปัญหาโต๊ะจีนได้อย่างไรเล่า หรือท่านกำลังจะบอกว่า ปัญหาโต๊ะจีนคือปัญหาของการทำชิริคและบิดอะห์ คงมิใช่เช่นนั้นแน่นอน
ส่วนอีกตัวอย่างคือเรื่อง “สาโท” นั้นเขาชี้ประเด็นว่าเป็นมัวอ์ซียะห์ มันฮะรอมเนื่องจากมีผลทำให้เมา อย่างนี้แหละที่ท่านไม่เข้าใจการชี้ประเด็น
เรื่องของโต๊ะจีนที่ท่านวิเคราะห์แล้ววางฮุก่มนี้ก็เป็นเรื่องมุอามะลาตเช่น เดียวกัน (ไม่ใช่เรื่องอะกีดะห์หรืออิบาดะห์) และเป็นปัญหาอิจติฮาดียะห์ หรือปัญหาที่ต้องอาศัยการวินิจฉัย ฉะนั้นที่ผ่านมา เราจึงย้ำเตือนมาโดยตลอดว่า ต้องมีความละเอียดรอบคอบ ทั้งในการทำความเข้าใจต่อปัญหา และการทำความเข้าใจในหลักฐานที่จะนำมาอ้างอิง อย่างนี้แหละ ในทางวิชาการเขาเรียกว่า “ตะห์กีกุ้ลมะนาฏ” ซึ่งผู้ที่จะเป็นมุจตะฮิดจะต้องเข้าใจ และเราได้เคยชี้แนะให้ท่านได้อ่านและทบทวนก่อนหน้านี้แล้ว เพราะถ้าหากไม่เข้าใจก็จะทำให้เกิดการวางฮุก่มผิดพลาด เช่นที่เรากล่าวว่า หลักฐานถูกแต่เอาไปชี้ผิด ซึ่งเกิดจากสองกรณีคือ เข้าใจปัญหาผิด หรือ เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐานผิด ยกตัวอย่างเช่น หลักฐานอิจมาอ์ที่ท่านนำมากล่าวอ้าง ซึ่งเป็นการชี้ประเด็นผิดที่เกิดจากความไม่รอบคอบดังนี้
อิบนุลมุนซิรกล่าวว่า
وَقَالَ ابْنُ الُمْنْذِرِ: أَجْمَعَ أَهْلُ الْعِلْمِ عَلَى أَنَّ مَنْ اشْتَرَى طَعَامًا فَلَيْسَ لَهُ أَنْ
يَبِيعَهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ، وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الُمْشْتَرِي جَازَ لَهُ بَيْعُهُ
وَالتَّصَرُّفُ فِيهِ، كَمَا بَعْدَ الْقَبْضِ
"นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดก็ตามซื้ออาหารมา เขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วนก่อน และหากอาหารนั้น
มาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว จึงจะสามารถนำไปขายได้หรือจัดการ
ใดๆ ได้ เฉกเช่นหลังการครอบครอง" ( อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)
ประการที่หนึ่ง
เราไม่ทราบว่าผู้แปลประโยคข้างต้นนี้เผลอเรอ หรือจงใจสื่อความหมายตามคำแปล “วัลลอฮุอะอ์ลัม” เพราะข้อความของประโยคหลังคือ
وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الُمْشْتَرِي جَازَ لَهُ بَيْعُهُ
وَالتَّصَرُّفُ فِيهِ، كَمَا بَعْدَ الْقَبْضِ
ต้องแปลว่า “และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง”
วัตถุประสงค์ของถ้อยคำในประโยคนี้คือ อนุญาตให้ทำการขายอาหารหรือจัดการใดๆได้ เมื่ออยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ แม้จะยังไม่ได้ครอบครองอาหารนั้น เนื่องจากคำว่า “ก่ามาบะอ์ดัลก๊อบฏิ” ที่แปลว่า “เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง” มีวัตถุประสงค์ว่า “แม้อาหารยังไม่ได้อยู่ในการครอบครองแต่ฮุ่ก่มของมันก็เหมือนกับได้ครอบครอง แล้ว”
ส่วนคำว่า “อัลก๊อบฏ” คืออะไรและมีกฏเกณฑ์เช่นใด จะได้นำมาชี้แจงในการอธิบายในการชี้แจงตัวบทฮะดีษ อินชาอัลลอฮ์
แต่เราตั้งคำถามเบื่องแรกก่อนว่า ท่านเอาอิจมาอ์ข้างต้นนี้ไปชี้ประเด็นไหนของปัญหาโต๊ะจีน ท่านจึงได้ฟันธงลงฮุก่มว่า โต๊ะจีนฮะรอม เพราะข้อความอิจมาอ์ตามที่ท่านอ้างข้างต้นนี้มีทั้งห้ามและอนุญาต
ห้ามคือ “ผู้ใดซื้ออาหารมาเขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้รับมันครบถ้วนเสียก่อน”
อนุญาตคือ “และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อุญาตแก่เขาในการขายมัน(อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน(อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง”
แม้ว่าปัจจุบันท่านจะยินยอมผ่อนลงด้วยการจำแนกแยกแยะโดยกล่าวว่า โต๊ะจีนปกติ โต๊ะจีนธรรมดา โต๊ะจีนสากล โต๊ะจีนแบบพิเศษ โต๊ะแบบพิศดาร หรืออะไรก็ตามที่ท่านจะเรียกขาน แต่ ณ เวลานี้ท่านเริ่มรอบคอบขึ้นมานิดหนึ่งแล้วด้วยการเจาะจงว่า โต๊ะจีนที่ท่านฮุก่มว่าฮะรอมนั้นคือ โต๊ะจีนธรรมดา หรือโต๊ะจีนสากล เท่านั้นไม่ได้หมายถึงโต๊ะจีนแบบพิเศษหรือท่านจะเรียกชื่อใดก็ตามสะดวกปาก ของท่าน แต่ที่เราอยากทราบก็คือ ท่านเอาอิจมาอ์ข้างต้นนี้ไปชี้ประเด็นไหนของปัญหาโต๊ะจีน เพราะในตัวบทของอิจมาอ์นั้นมีทั้งห้ามและอนุญาต
ประการที่สอง
การนำเอาอิจมาอ์ครึ่งท่อนไปวางฮุก่ม ซึ่งผมกล่าวตั้งแต่แรกแล้วว่า หลักฐานถูกแต่เอาไปครอบผิด ทำให้บรรดาผู้คนเข้าใจผิดในอิจมาอ์ไปด้วย (ยังมีต่อ)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=331619160372771&id=100005740689770