![](http://www.fareedfendy.com/themes/fawa7_zajil/images/zaj_01.jpg)
![](http://www.fareedfendy.com/themes/fawa7_zajil/images/zaj_01.jpg)
![](http://www.fareedfendy.com/themes/fawa7_zajil/images/zaj_02.jpg)
โต๊ะจีน ตอนที่ 13
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=333710940163593&id=100005740689770
มีนักวิชาการอวุโสบางท่านขอร้องให้เรายุติการชี้แจงปัญหาโต๊ะจีน เพราะที่ผ่านมาก็เป็นที่เข้าใจแล้วว่าสิ่งทีเราทำกับสิ่งที่บางท่าน วิเคราะห์มันคนละอย่างกัน แต่เราก็จะขอชี้แจงอีกสักตอนสองตอน เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีที่มาของฮุก่มศาสนาอย่างไร ดังนี้
المواعدة على البيع والشراء
ข้อตกลงจะซื้อจะขาย
บทความก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงเรื่อง “มุวาอะดะห์” ว่าเป็นลักษณะการจัดงานโต๊ะจีนของเรา แต่ยังไม่ได้อธิบายในรายละเอียด จึงทำให้มีผู้แสดงความกังขาว่ามันคืออะไร
คำว่า “อัลมุวาอะดะห์” ที่เราให้ความหมายในที่นี้ว่า “ข้อตกลง” เนื่องจากเกรงว่าผู้อ่านจะเข้าใจผิดคิดว่ามันคือ “สัญญาจะซื้อจะขาย” โดยทั่วไปซึ่งเป็นข้อตกลงในการจะซื้อจะขายแบบมีเงินมัดจำ ซึ่งเรียกว่า ซะลัฟ หรือ ซะลัม หมายถึงการซื้อขายล่วงหน้าที่มีข้อผูกมัดและเงื่อนไขระหว่างผู้ซื้อและผู้ ขาย
แต่ “อัลมุวาอะดะห์” ไม่ใช่การซื้อขายล่วงหน้า ไม่มีมัดจำ ไม่มีเงื่อนไขใดๆระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
และเราให้ความหมายข้อความถัดมาว่า “จะซื้อจะขาย” นั้นก็เพื่อสื่อความหมายให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า การซื้อและการขายยังไม่เริ่มต้นขึ้น เป็นเพียงข้อตกลงว่าจะซื้อจะขายสินค้าใดๆในวันและเวลานัดหมาย ซึ่งบรรดานักวิชาการได้ชี้ข้อเท็จจริงของ “อัลมุวาอะดะห์” ที่เรากล่าวข้างต้นให้เห็นดังนี้
المواعدة على البيع والشراء لا تعتبر بيعا ولا شراء وإنما هي وعد من كل من البائع والمشتري بذلك
“ข้อตกลงจะซื้อจะขายนั้นไม่ถือว่าเป็นการซื้อและการขาย แต่ทว่ามันคือข้อตกลงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องดังกล่าว” (มะญัลละห์ อัลบูฮูสอัลอิสลามียะห์ ญุชอ์ที่ 43 หน้าที่ 181)
ดังนั้น “อัลมุวาอะดะห์” จึงไม่ใช่การซื้อขายโดยทั่วไป และไม่ใช่การซื้อขายล่วงหน้า,ไม่ใช่การซื้อขายในสิ่งที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์, หรือการซื้อขายอาหารที่ยังไม่ได้ครอบครอง และหรือการซื้อขายในประเภทใดๆก็ตาม แต่ “อัลมุวาอะดะห์” เป็นเพียงข้อตกลงในเบื้องแรกของการจะซื้อจะขาย โดยผู้จะซื้อและผู้จะขายตกลงนัดแนะกันว่าจะทำการซื้อขายสินค้าใดๆ ตามวันและเวลานัดหมาย
เช่นกรณีการจัดงานโต๊ะจีนของเรา เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 58 ที่ผ่านมา เราได้ส่งการ์ดงานเพื่อเรียนเชิญพี่น้องมาร่วมงานกับเรา เชิญมาซื้อมาขายกับเรา เมื่อวันนัดหมายมาถึง พี่น้องมาร่วมงานกับเรา 3,500 กว่าคน แล้วเราก็เปิดให้แขกของเราตัดสินใจโดยอิสระ ใครพอใจซื้อก็เชิญ ไม่พอใจซื้อก็เชิญ ใครจะซื้อสด ซื้อผ่อนก็เชิญ ขอชิมก่อนก็เชิญ หรือไม่ถูกใจจะขอคืนก็ย่อมได้ และคำเชื่อเชิญให้ร่วมกิจกรรมกับเราอย่างนี้เรียกว่า “อัลมุวาอะดะห์”
ผลที่ได้รับจากการเชื้อเชิญของเราในครั้งนี้ปรากฏว่าเกินเป้าหมาย เนื่องจากมีพี่น้องที่ทราบข่าว มาร่วมงานโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งพี่น้องที่ได้ร่วมงานกับเรา 3,500 กว่าคนได้ประจักษ์แก่ตัวเองว่าวิธีการจัดการของเราเป็นเช่นใด และสภาพข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายการเงินของงานได้โพ้สข้อความแจ้งให้ทราบไปแล้ว คือ
“การ์ดงานที่ผ่านมา มีการชำระที่ต่างกัน..ชำระส่วนมากวันงานแบ่งย่อย..เดินเข้างาน,กินไปบางส่วน ก็มาชำระ,กินครบแล้วค่อยมาชำระ, กินแล้วจบงานแล้ว..ขอชำระวันหลัง ก่อนงานบางท่านใช้ความสะดวกไม่ยุ่งหน้างานก็ขอชำระ,บางท่านผ่อนชำระจ่ายอีก ทีวันงาน, บางท่านทำบุญเด็กนัก เรียน..เด็กกำพร้า อยู่ไกลก็โอนผ่านบัญชีมูลนิธิ(เชครายการเงินเข้าบัญชีทางอินเตอร์เน็ต) การ์ดงานบางท่านรับไปและไม่มาวันงานทางมูลนิธิก็ปล่อยเลยตามเลย...ที่กล่าว ข้างต้นเป็นจริงไม่ได้พูดเกินเลย”
ข้างต้นนี้คือถ้อยคำที่ยืนยันต่อสาธารณะว่า การ์ดงานของเราเป็นเพียงแค่บัตรเชิญ ผู้ที่รับไปแล้วและไม่ได้มางานเราก็ไม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร และเราก็ไม่ตามทวง ปล่อยเลยตามเลย เพราะมันคือแค่บัตรเชิญเท่านั้น แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
ฉะนั้นเราจึงยืนยันมาโดยตลอดว่า สิ่งที่เราทำกับสิ่งที่เขาคิดมันคนละเรื่องกัน และการนำหลักฐานใดๆมาแสดงแล้ววางฮุก่มเพื่อให้เราตกเป็นจำเลยของสังคมนั้น จึงเป็นความเลยเถิดที่เกิดจากการคิดเอาเอง เนื่องจาก “อัลมุวาอะดะห์” ตามที่ชี้แจงนี้ไม่ได้เข้าอยู่ในเงื่อนไขของการซื้อขายในประเภทใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายอาหารหรือสิ่งของที่ยังไม่ครอบครอง หรือขายในสิ่งที่ไม่มีผู้ขายไม่มีกรรมสิทธ์ หรือในประเภทอื่นๆ หรือกล่าวได้ว่า “อัลมุวาอะดะห์” คือข้อตกลงในเบื้องต้นโดยที่การซื้อขายจริงยังไม่ได้เกิด และการซื้อขายจริงได้เกิดขึ้นในวันและเวลาที่เรานัดหมาย
ไหนๆ ก็คุยมาถึงขนาดนี้แล้ว ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกสักนิดเผื่อมีกรณีแทรกเข้ามา และพี่น้องจะได้มีคำตอบให้กับตัวเองคือ เงินส่วนหนึ่งที่จ่ายล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดหมาย ในกรณีนี้จะถือเป็นอุรบูน (มัดจำ) หรือไม่ และเราจะไม่ตอบคำถามนี้ด้วยตัวเอง แต่เราลองไปฟังคำตอบจากฟัตวาของบรรดานักวิชาการดีกว่า คือ
ونظرًا إلى أن العربون لا يكون إلا في عقد بيع ، وهو دفعة أولى من الثمن في حال اختيار إمضاء البيع فلا يظهر لنا وجاهة القول بجواز العربون في المواعدة على الشراء ، وهذا لا يعني القول بعدم جواز أن يدفع الواعد للموعود له بالشراء شيئا من المال لقاء الوفاء بالوعد ببيع السلعة عليه ، ولكننا لا نسمي هذا المال عربونا ، ويمكن أن يكون من الشروط الجزائية وهو خاضع للاتفاق بين المتواعدين إن اتفقا على أن يكون جزءا من الثمن في حال الشراء لزم الاتفاق ونفذ .
وإن اتفقا على استحقاقه للموعود له دون اعتباره جزءا من الثمن في حال الشراء فهما على ما اتفقا عليه؛ إذ المسلمون على شروطهم إلا شرطا حرم حلالا أو أحل حراما .
“ประเด็นพิจารณา ณ ที่นี้คือ มัดจำจะยังไม่เกิดขึ้นนอกจากในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งมันคือเงินก้อนแรกของราคาสินค้าในการดำเนินการค้าขาย โดยไม่ปรากฏแง่มุมทางวิชากาใดๆที่อนุญาตเรื่องมัดจำในข้อตกลงจะซื้อจะขาย (อัลมุวาอะดะห์) นี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นที่อนุญาตในการที่คู่ค้าทั้งสองตกลงชำระ เงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันในข้อตกลงการขายสินค้านั้น แต่ทว่าเราไม่เรียกว่า “มัดจำ” ซึ่งเป็นที่ยอมรับต่อเงื่อนไขของข้อตกลงระหว่างคู่ค้า หากทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าให้นำเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าในขณะ ทำการซื้อขาย ก็ให้ถือไปตามข้อตกลงและดำเนินการตามนั้น
และหากคู่ค้าได้ตกลงให้เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยไม่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ราคาสินค้าในการทำการซื้อขายก็ให้ดำเนินการไปตามข้อตกลงนั้น : มุสลิมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พวกเขาตกลงกัน นอกจากข้อตกลงที่ทำให้สิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติหรือสิ่งที่อนุมัติเป็นที่ ต้องห้าม” (อัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 1272)
http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.asp