โต๊ะจีน ตอนที่ 14


การให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการเลือก

เราได้กล่าวหลายครั้งว่าการจัดงานของเรานั้นได้ให้สิทธิ์แก่ผู้ร่วมงานกับ เราว่า เลือกซื้อขายกับเราหรือไม่ก็เชิญ จะซื้อสดจ่ายสดก็เชิญ จะกินก่อนแล้วจ่ายทีหลังก็เชิญ หรือจะขอคืนเราก็ยินดี และเราก็ได้ปฏิบัติเช่นนี้จริงตามที่ฝ่ายการเงินของงานได้แจ้งให้ท่านทราบ ต่อสาธารณะไปแล้ว และเราก็ได้ประกาศถ้อยคำข้างต้นนี้บนเวทีในงานที่ผ่านมา ซึ่งบรรดาผู้ร่วมงานกับเรา 3,500 คนก็ได้ประจักษ์ด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีการอย่างนี้เรียกว่า بيع الخيار “บัยอุ้ลคิยาร” คือการให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการเลือก

และการที่เราได้ยืนยันเช่นนี้ ทำให้บางคนเข้าใจไปเองว่า เราเอาธุรกรรมหลายอย่างมารวมกัน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา แต่โดยความเป็นจริงแล้วคำว่า “บัยอุ้ลคิยาร” นี้ไม่ใช่เป็นประเภทหนึ่งของการซื้อขาย แต่เป็นลักษณะวิธีของการซื้อขาย หรือเรียกได้ว่าเป็น “ซุรูฏ” หรือเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้การซื้อขายนั้นถูกต้อง ดังนั้นการกล่าวว่า การให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการเลือก เป็นการเอาธุรกรรมต่างๆมายำรวมกันจึงเป็นการเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง

ส่วนการควบรวมธุรกรรมหลายอย่างในสัญญาเดียวมีตัวบทหลักฐานทางศาสนาอย่างไรนั้น ต้องขอละไว้ เพราะไม่ใช่กรณีที่เราทำ

ดังได้ชี้แจงไปก่อนแล้วว่า เราไม่ได้ทำธุรกรรมหลายอย่างกับคนเดียวในวาระเดียว แต่เราทำธุรกรรมกับคน 3,500 คน แต่การควบรวมธุรกรรมหลายอย่างในสัญญาเดียวก็น่าสนใจไม่น้อย และยังมีคนเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่ และถ้ามีโอกาสจะได้นำมาอธิบายในภายหลัง อินชาอัลลอฮ์

“อัลคิยาร” นี้มีอยู่ในการทำธุรกรรมการซื้อขายหลายประเภท แต่ย้ำว่ามันคือเงื่อนไขที่จะทำให้ธุรกรรมนั้นถูกต้อง

เราลองยกตัวอย่างธุรกรรมสักประเภทหนึ่ง เช่น การซื้อขายขณะที่ไม่เห็นสินค้า หรือที่เรียกว่า بيع المغيبات “บัยอุ้ลมะฆีบาต” ซึ่งการซื้อขายในประเภทนี้ยังเป็นข้อถกเถียงของบรรดานักวิชาการ เช่นการซื้อขายสินค้าที่อยู่ในดิน เช่น หัวหอม กระเทียม หรือสินค้าอุปโภค/บริโภค ที่ผู้ซื้อไม่เห็นตัวตนของสินค้า ซึ่งท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะห์ มีมุมมองว่าอนุญาตให้ทำการซื้อขายสินค้าในประเภทนี้ได้ และมุมมองของนักวิชาการที่หยิบเอาปัญหานี้มาพิจารณาคือ

การแจ้งลักษณะของสินค้าให้ผู้จะซื้อทราบเพียงพอไหมที่จะทำให้การซื้อขายนี้ถูกต้อง หรือผู้ซื้อต้องได้เห็นสินค้านั้นเสียก่อน

การแจ้งลักษณะของสินค้าให้ผู้ค้าทราบอาจจะไม่ตรงตามความเข้าใจในมุมมองของ ลูกค้า คืออาจจะเข้าใจลักษณะของสินค้าไปคนละทางก็ได้ เหมือนดั่งที่เราดูโฆษณาสินค้าในช่องทีวีต่างๆ ซึ่งเราได้เห็นภาพและได้ยินการบรรยายลักษณะและสรรพคุณของสินค้า แต่เมื่อสั่งซื้อไปแล้วและได้รับสินค้าแล้วอาจจะไม่ตรงตามที่คิดไว้ก็เป็น ได้ เพระฉะนั้นการให้โอกาสลูกค้าในการตัดสินใจเลือกหลังจากได้เห็นสินค้าแล้ว จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รูปแบบการซื้อขายประเภทนี้ถูกต้อง แม้ว่าสินค้าที่ตกลงจะซื้อจะขายจะไม่ตรงตามที่ระบุไว้ก่อนหน้า แต่ถ้าลูกค้าได้เห็นสินค้าแล้วเกิดพึงพอใจก็สามารถที่จะซื้อขายได้

ข้างต้นนี้คือตัวอย่างพอสังเขปที่อธิบายให้เห็นว่า “บัยอุ้ลคิยาร” คือลักษณวิธีหรือเงื่อนไข ไม่ใช่รูปแบบการซื้อขายแต่อย่างใด และลักษณะวิธีที่จะทำให้การซื้อขายในรูปแบบต่างๆถูกต้องเช่นนี้ ก็เป็นที่แพร่หลายในหมู่ศอฮาบะห์ จนกระทั่งได้กลายเป็นอิจมาอ์ของเหล่าศอฮาบะห์ไปในที่สุด ดังคำรายงานต่อไปนี้

أن سيدنا عثمان بن عفان رضي الله عنه باع أرضاً له من طلحة بن عبد الله رضي الله عنهما، ولم يكونا رأياها، فقيل لطلحة: (غبنت)، فقال: «لي الخيار، لأني اشتريت ما لم أره» فحكّما في ذلك جبير بن مطعم، فقضى بالخيار لطلحة رضي الله عنه ، أي للمشتري دون البائع وإن باع مالم يره. وكان ذلك بمحضر من الصحابة رضي الله عنهم، ولم ينكر عليه أحد منهم، فكان إجماعاً منهم على شرعية هذا الخيار.

“แท้จริงท่านอุสมาน บินอัฟฟาน ได้ขายที่ดินแปลงหนึ่งที่เป็นของท่านเองให้กับท่านฏอลฮะห์ บิน อุบัยดิลลาฮ์ และทั้งสองก็ไม่เคยเห็นที่ดินแปลงนั้นมาก่อน จึงมีผู้กล่าวกับท่านฏอลฮะห์ว่า (ท่านโดนหลอกแล้ว) ท่านฏอลฮะห์ จึงกล่าวว่า ฉันมีสิทธิ์เลือกเพราะฉันซื้อในสิ่งที่ฉันไม่เคยเห็นมัน แล้วทั้งสองก็ได้มอบให้ท่าน ญุบัยร์ บิน มุฏอิม เป็นผู้ตัดสินในกรณีนี้ และท่านญุบัยร์ ก็ตัดสินให้ท่านฏอลฮะห์มีสิทธ์ตัดสินใจในการเลือก คือ การตัดสินใจในการเลือกกรณีที่ไม่ได้เห็นสินค้าให้เป็นสิทธิ์ของผู้จะซื้อ เท่านั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ ถึงแม้ว่าเขาจะขายในสิ่งที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนก็ตาม” (นัศบุลรอยะห์ โดยท่านซัยละอีย์ 4/10)

และเหตุการณ์ข้างต้นนี้ ท่าน ด๊อกเตอร์วะฮ์บะห์ อัรรุฮัยลีย์ ได้อธิบายต่อว่า “การตัดสินของท่านญุบัยร์ในครั้งนี้ เกิดขึ้นโดยการรู้เห็นของบรรดาศอฮาบะห์ และไม่มีศอฮาบะห์ท่านใดที่คัดค้านไม่เห็นด้วย จึงถือว่าเป็น “อิจมาอ์” การเห็นชอบของบรรดาศอฮาบะห์อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า สิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกเป็นไปตามเป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนา” (อัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์วะอะดิ้ลละตุฮู 5/250 )

การให้สิทธิ์แก่ลูกค้าในการเลือกนี้มิได้มีข้อจำกัดว่าเป็นสินค้าประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรืออุปโภคฝบริโภคหรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ เมื่อ ผู้ซื้อได้เห็นสินค้าแล้วพอใจหรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อตัดสินใจว่า พอใจจะซื้อหรือไม่

ฉะนั้นการที่เรายืนยันมาโดยตลอดว่า เราให้สิทธิ์แก่ผู้ร่วมงานกับเราโดยอิสระว่า พอใจจะซื้อหรือไม่, จะซื้อสดก็เชิญ, จะกินก่อนผ่อนที่หลังก็เชิญ, จะชิมก่อนแล้วค่อยตัดสินใจก็เชิญ, หรือไม่พอใจจะขอคืนก็ยินดี ซึ่งคำยืนยันของเรานี้มิใช่พูดกันเล่นๆ หรือพูดเพื่อให้ใครเอาไปเยอะเย้ยถากถาง ดูแคลน

แต่มันเป็นวิธีปฏิบัติของเหล่าศอฮาบะห์ และเป็นอิจมาอ์ของเหล่าศอฮาบะห์ที่เรียกว่า “อิจมาอ์ซุกูตี่ย์” ในระดับศอฮาบะห์ และเป็นสิ่งที่ญุมฮูรุ้ลอุลามาอ์ได้ยึดถือเป็นหลักฐาน (ดูอัลมุฮัซซับฟีอุศูลิลฟิกฮ์ 2/933)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=334073856793968&id=100005740689770