โต๊ะจีน ตอนที่ 17


อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์

หลังจากที่เราท้วงติงเรื่องความหมายและวัตุประสงค์ของ “อิจมาอ์” ไปแล้ว ท่านก็ยอมแก้ไขคำแปลดังนี้

وَقَالَ ابْنُ الُمْنْذِرِ: أَجْمَعَ أَهْلُ الْعِلْمِ عَلَى أَنَّ مَنْ اشْتَرَى طَعَامًا فَلَيْسَ لَهُ أَنْ يَبِيعَهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ، وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الُمْشْتَرِي جَازَ لَهُ بَيْعُهُ وَالتَّصَرُّفُ فِيهِ، كَمَا بَعْدَ الْقَبْضِ

คำแปลเก่า (ที่ยกเลิก)
“นักวิชาการต่างมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดก็ตามซื้ออาหารมา เขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วนก่อน และหากอาหารนั้นมาอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว จึงจะสามารถนำไปขายได้หรือจัดการใดๆ ได้ เฉกเช่นหลังการครอบครอง” ( อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)

คำแปลใหม่ (ตามคำเรียกร้อง)
“ท่านอิบนุลมุนซิรกล่าวว่า “นักวิชาการมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ใดที่ซื้ออาหารเขาจะยังนำมันไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้มันมาโดยครบถ้วนสมบูรณ์เสียก่อน และหากว่ามันได้เข้ามาอยู่ในความรับผิดของผู้ซื้อ ถึงจะอนุญาตให้ขายหรือจัดการใดๆ ได้ เหมือนสภาพหลังจากที่ได้ครอบครองแล้ว” (อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)

แม้ว่าท่านจะยอมแก้ไขคำแปล แต่ท่านก็ไม่ยอมกล่าวถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของอิจมาอ์ในประโยคที่ว่า

وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الُمْشْتَرِي جَازَ لَهُ بَيْعُهُ وَالتَّصَرُّفُ فِيهِ، كَمَا بَعْدَ الْقَبْضِ

“และหากได้เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ก็อุญาตแก่เขาในการขายมัน (อาหาร) และทำการจัดการใดๆกับมัน (อาหาร) เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง”

ท่านได้แต่กล่าวเลี่ยงๆ ไปว่า
“ประเด็นหลักของเราคือ เขายังไม่ส่งมอบสินค้าท่านก็อาสารับผิดชอบสินค้านั้นใช่ไหมแล้วก็บอกว่านี่ ไง ฉันรับผิดแล้วโดยการอาสาของฉัน ฉันจึงนำมาขายได้ไงถ้าจะออกกันแบบนี้ ผมคงไม่มีอะไรจะพูดแล้วครับ ตัวใครตัวมัน”

ความจริง ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะอาสาหรือไม่ แต่เป็นหลักการที่ได้จากอิจมาอ์ หากเราเข้าใจในวัตถุประสงค์ของอิจมาอ์นี้อย่างแท้จริงคือ

“อนุญาตให้ทำการขายอาหารหรือจัดการใดๆได้ เมื่ออยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ แม้จะยังไม่ได้ครอบครองอาหารนั้น เนื่องจากคำว่า “ก่ามาบะอ์ดัลก๊อบฏิ” ที่แปลว่า “เช่นเดียวกับหลังจากการครอบครอง” มีวัตถุประสงค์ว่า “แม้อาหารยังไม่ได้อยู่ในการครอบครองแต่ฮุ่ก่มของมันก็เหมือนกับได้ครอบครอง แล้ว”

ฉะนั้นเราคงจะไม่กล่าวให้ผิดเพี้ยนไปจากวัตถุประสงค์ เพราะนี่คือหลักการไม่ใช่เรื่องที่ใครจะอาสาหรือไม่

อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ เรายังไม่รับคำตอบคือ เรื่อง “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” ตามที่เราได้ทักท้วงไว้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=332603906940963&id=100005740689770

ซึ่งกรณีนี้ ท่านได้นำไปยัดข้อหา ย้ำว่า ยัดข้อหา ฮุก่มใครต่อใครว่า “สวนอิจมาอ์” ซึ่งเรากล่าววิจารณ์ว่า ของถูกแต่เอาไปครอบผิด หรือเอาไปฮุก่มแบบรุ่มร่าม

ความจริง “ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏ” คือกฏที่เป็นอิจมาอ์ เช่นเดียวกัน เราหวังว่าท่านจะไม่ปฏิเสธอิจมาอ์นี้ หรือคงไม่เป็นผู้ที่สวนอิจมาอ์เสียเอง

รอคำชี้แจง