โต๊ะจีน ตอนที่ 21


ให้ข้อมูลสักหน่อย

กระบวนการในการวินิจฉัยปัญหาที่ผู้เป็นมุจตะฮิด จะต้องรู้และเข้าใจ
1. อิครอญุลมะนาฏ คือการตีแผ่ตัวบทว่ามีอิลละห์ใดบ้างที่เป็นฮุก่ม
2. ตันกีฮุ้ลมะนาฏ คือการกรองอิลละห์ต่างๆในตัวบทที่มีหลายกรณี แล้วพิจาณาที่มีผลต่อปัญหามากที่สุด
3. ตะฮ์กีกุ้ลมะนาฏคือ การเอาลักษณะของปัญหาไปเที่ยบกับลักษณะที่ถูกระบุไว้ในตัวบท

ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นการชี้แจงทางวิชาการขอละที่จะไม่ตอบโต้ เรามาคุยเรื่องวิชาการกันต่อดีกว่า

เราได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า การรู้หลักฐานแต่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักฐาน เป็นเรื่องที่เป็นอันตรายแก่ผู้ที่จะเป็นมุจตะฮิด เพราะจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการอิจติฮาด หรือการวินิจฉัยปัญหา

ดังนั้นการเรียนรู้วัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับ ต้นๆ เพื่อที่จะได้เอาหลักฐานไปใช้ได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์คือ

“ฆ่อร๊อร” มีความหมายว่า “ล่อลวง” ซึ่งถูกนำมาใช้ในการซื้อขาย หมายถึง ความเสี่ยง, ปิดบังอำพราง, เล่ห์กลของการทุจริตในการซื้อขาย ความเสียหาย และไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการห้ามในตัวบทหลักฐานจากฮะดีษแต่ละบท
อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า

نَهَى رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ بَيْعِ الحَصَاةِ وَعَنْ بَيْعِ الْغَرَرِ

“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการซื้อขายด้วยการขว้างหิน และการขายที่มีฆ่อร๊อร” ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2783

จะเห็นได้ว่าบรรดาผู้บันทึกฮะดีษทั้งหลายจะนำเอาฮะดีษในเรื่องนี้ระบุไว้ เป็นบทแรกในหมวดของการซื้อขาย และบรรดานักฟิกฮ์ต่างก็เอากรณีของ “ฆ่อร๊อร” นี้เป็นมูลเหตุในการพิจารณาคำสั่งห้ามในเรื่องของการซื้อขาย เช่น

ฮะดีษที่ห้ามเรื่องการขายสิ่งที่ไม่มีอยู่ ณ ที่ผู้ขาย (ما ليس عندك หรือ ما ليس عنده ) คือสิ่งที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ในสินค้านั้น แต่ท่านอิบนุ ตัยมียะห์ และอิบนุก็อยยิม ไม่ได้ถือตามตัวอักษรของฮะดีษ แต่ท่านพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของฮะดีษคือ ฆ่อร๊อร ของข้อห้ามนี้ นั่นคือการส่งมอบ ดังนั้นท่านจึงอธิบายกรณีนี้ว่า ห้ามขายสินค้าที่ส่งมอบไม่ได้ และถึงแม้ว่าผู้ขายจะมีสิทธิ์ในสินค้าแต่ส่งมอบไม่ได้ ก็ถือว่าเข้าข่ายต้องห้ามเช่นเดียวกัน

وأما حديث النهي عن بيع ما ليس عند الإنسان فالسبب فيه: هو الغرر لعدم القدرة على التسليم، لا أنه معدوم

“ส่วนฮะดีษที่ห้ามการขายสิ่งที่ผู้คนไม่มีอยู่ ณ ที่เขานั้น เหตุของมันก็คือ ฆ่อร๊อร เนื่องจากไม่มีความสามารถในการส่งมอบ ไม่ใช่ห้ามเพราะไม่มีสินค้าอยู่”

http://islamport.com/w/fqh/Web/1272/2621.htm

อย่างนี้แหละที่บรรดานักวิชาการเขาพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของข้อห้ามแล้ววางฮุก่ม ไม่ใช่หยิบแค่ตัวอักษรไปฮุก่ม

ส่วน “ฆ่อร๊อร” ที่เป็นมูลเหตุแห่งการห้ามนี้ บรรดานักวิชาการได้แบ่งเป็นสามระดับด้วยกันคือ 1.ระสูง (มีฆ่อร๊อรมาก) 2. ระดับปานกลาง 3. ระดับน้อย

ทั้งสามกรณีนี้บรรดานักวิชาการเห็นพ้องต้องการว่า การซื้อขายที่มีฆ่อร๊อรเพียงเล็กน้อยที่สามารถขจัดได้ก็ถือว่าการซื้อขาย นั้นเป็นที่อนุญาต

http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?BookID=1&View=Page&PageNo=1&PageID=378

จะอธิบายความต่อก็พอดีมีผู้ส่งลิงค์ของผู้ใช้นามว่า “สายเชือกแห่งความผูกพัน” มาให้ เมื่ออ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ อัลฮัมดุลิ้ลลาอฮ์ ต้องขอบคุณท่านด้วย ถือว่าช่วยชี้แจงได้ผ่อนแรงไปอีกระดับหนึ่ง
จึงขออนุญาตเจ้าของโพ้สเอาข้อความของท่านมาลงไว้ ณ.ที่นี้เสียที่เดียว เพื่อผู้อ่านท่านอื่นๆจะได้อ่านได้อย่างต่อเนื่องดังนี้

สรุปการซื้อขายของล่วงหน้าโดยไม่มีในครอบครอง ถือว่าอนุญาตในทัศนะของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ หากพบว่ามีความแน่นอนชัดเจนในการได้ของ (ไม่เคยมีโต๊ะจีนไหนโกลาหลของไม่มี แขกมายืนรอเก้อ)

جواز بيعه:

นักปราชญ์ฝ่ายที่อนุญาตการขายของล่วงหน้าโดยไม่มีครอบครอง

فإن ابن تيمية يرى بصفة عامة أن المعدوم يصح أن يكون موضوعًا للعقد بمختلف أنواعه ، أي: بلا فرق بين عقود المعاوضات ، والتبرعات ، وإذا حدث أن شيئًا ما لم يصلح أن يكون محلا لعقد من العقود ، فالعلة ما يصحبه من الغرر والجهالة المفضيان عادة للمنازعة ، لا أنه معدوم . وفي هذا يقول بأنه ليس في كتاب الله ، ولا سنة رسوله ، ولا عن أحد من الصحابة أن بيع المعدوم لا يجوز ، وإنما فيه النهي عن بيع بعض الأشياء التي هي معدومة ، كما فيه النهي عن بيع بعض الأشياء التي هي موجودة ، فليست العلة في المنع الوجود أو العدم ، بل في الصحيح عن النبي -صلى الله عليه وسلم- أنه نهى عن بيع الغرر ، والغرر: ما لا يقدر على تسليمه ، سواء أكان موجودًا أم معدومًا ، كالعبد الآبق ، والبعير الشارد ، ونحو ذلك مما لا يقدر على تسليمه ، بل قد يحصل وربما لا يحصل ، وهو غرر لا يجوز بيعه ، وإن كان موجودًا ، فإن موجب البيع تسليم المبيع والبائع عاجز عنه ، والمشتري إنما يشتريه مقامرة ، فإن أمكنه أخذه كان المشتري قد قمر البائع ، وإن لم يمكنه أخذه ، كان البائع قد قمر المشتري . وهكذا المعدوم الذي هو غرر ، نهى عن بيعه؛ لكونه غررًا لا لكونه معدومًا ، كما إذا باع ما يحمل هذا الحيوان ، أو ما يحمل هذا البستان ، فقد يحمل ، وربما لا يحمل ، وإذا حمل فالمحمول لا يعرف قدره ولا صفته . فهذا من القمار والميسر الذي نهى الله عنه ، ومثل هذا إكراء دواب لا يقدر على تسليمها ، أو عقار لا يملك تسليمه ، بل قد يحصل وربما لا يحصل .

رأينا الخاص: مما تقدم: نرى أن في المسألة خلافًا شديدًا ، وأن الكثرة من الفقهاء ترى عدم جواز بيع المعدوم ، أو إجازته مثلا . ثم نرى بعد هذا جواز ذلك في بعض العقود استحسانًا لا قياسًا للضرورة ، ولجريان العرف عليه من أقدم الأزمنة حتى اليوم ، كما هو الأمر في عقود السلم ، والإجارة ، والاستصناع . ونحن نميل كل الميل لجواز أن يكون موضوعًا للعقد قياسًا لا استحسانًا كما هو رأي ابن تيمية وتلميذه ابن القيم ، ما دام لا غرر فيه ولا جهالة يؤديان إلى النزاع ، أو القمار ، وبخاصة وأن من ينظر نظرة عميقة إلى الشروط التي شرطها الفقهاء لصحة العقد يجد أنها تعود كلها إلى ضمان رضا الطرفين ، وعدم وجود ما يؤدي إلى النزاع بينهما

ทั้งนี้ก็เพราะว่าอิบนุตัยมียะฮฺนั้นมีทัศนะที่อยู่กับลักษณะโดยทั่วไปที่ ว่า ถือว่าเป็นการใช้ได้ที่จะทำสัญญา (ในเรื่องการซื้อขาย-ผู้แปล) กับสิ่งที่ไม่มีอยู่ โดยสิ่งที่ไม่มีอยู่นั้นสามารถมีได้หลากหลายประเภทด้วยกัน กล่าวคือ ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างสัญญาในสิ่งที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนต่อกันและสัญญาใน สิ่งที่ได้มาแบบไม่ต้องเสียอะไรเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกลับไป (ได้มาแบบฟรีๆ-ผู้แปล) และเมื่อมีกรณีหนึ่งเกิดขึ้นที่ว่าบางสิ่งนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ที่จะทำสัญญา ที่เป็นเช่นนั้นก็อันเนื่องมาจากเหตุผลในเรื่องความเสี่ยงและการไม่เป็นที่ สามารถรับรู้ได้ ซึ่งเหตุผลทั้งสองนี้จะนำพาไปสู่การโต้เถียงกันได้ในทางธรรมเนียมประเพณี ไม่ใช่เพราะเหตุผลที่ว่าของสิ่งนั้นไม่มีอยู่
และในเรื่องนี้ท่านจึงมีทัศนะว่า ไม่มีกล่าวเอาทั้งในอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านรซู้ลและไม่มีแม้แต่จากหมู่ ซอฮาบะฮฺที่ว่าไม่อนุญาตการขายในสิ่งที่ไม่มีอยู่ เพียงแต่มีการห้ามขายบางสิ่งที่ไม่มีอยู่เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับการห้ามขาย บางสิ่งที่มีอยู่เช่นกัน ทั้งนั้นเหตุผลในเรื่องการห้ามนั้นไม่ได้อยู่ตรงที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ แต่ทว่าที่เชื่อถือได้จากท่านนบีนั้นก็คือท่านได้ห้ามการขายที่มีความ เสี่ยงอยู่ และความเสี่ยงก็คือสิ่งที่ไม่มีความสามารถที่ส่งมอบให้ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ก็ตาม เช่น ทาสที่ได้หนีนายไป อูฐที่หนีหายไป และอะไรทำนองนั้นในสิ่งที่ไม่สามารถที่จะส่งมอบให้ได้ แต่ทว่าอาจจะได้มันมาก็ได้หรืออาจจะไม่ได้มันมาก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือว่าเป็นการขายที่มีความเสี่ยงการขายเช่นนี้จึงไม่ เป็นที่อนุญาตแม้ว่ามัน(สิ่งที่ต้องการจะขาย-ผู้แปล) จะมีอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะว่าถือเป็นสิ่งจำเป็นในการขายว่าจะต้องส่งมอบสิ่งที่จะขายให้ ได้แต่ผู้ขายกลับไม่มีความสามารถที่จะส่งมอบมันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเท่ากับว่าผู้ซื้อได้ซื้อสิ่งนั้นในลักษณะที่เป็นการ พนัน ดังกล่าวมานี้ที่สิ่งที่ไม่มีอยู่ที่มีความเสี่ยงอยู่ด้วย นี่แหละคือสิ่งท่านนบีได้ห้ามทำการขายมัน ที่เป็นเช่นนี้ก็อันเนื่องด้วยเหตุผลแห่งความเสี่ยงไม่ใช่เหตุผลแห่งการไม่ มีอยู่ เช่นเดียวกับการขายลูกที่สัตว์ได้ตั้งท้องอยู่ หรือการขายผลผลิตที่จะงอกออกมาจากสวน ซึ่งก็อาจจะได้หรืออาจจะไม่ได้ก็ป็นไปได้ และเมื่อมันสามารถที่จะให้ผลได้ แต่ทว่าสิ่งที่ให้ผลก็ไม่เป็นที่รับรู้อีกในเรื่องปริมาณของมันและลักษณะของ มัน ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการพนันและการเสี่ยงทายซึ่งพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงสั่ง ห้ามเอาไว้และเช่นเดียวกันการให้เช่าสัตว์โดยที่ไม่สามารถนำมันมาส่งมอบให้ ได้หรือทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยที่ไม่สามารถส่งมอบมันได้ แต่ทว่าอาจจะได้มันหรืออาจจะไม่ได้มันมาก็ได้

ทัศนะของเราเป็นการเฉพาะ:
จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว เรามีทัศนะว่าในเรื่องนี้นั้นมีการเห็นต่างกันอย่างรุนแรงและนักฟิกฮฺจำนวน มากมีทัศนะว่าไม่อนุญาตให้ขายในสิ่งที่ไม่มีอยู่หรืออนุญาตการขายเช่นนั้น แต่หลังจากที่ได้ชี้แจงสิ่งต่างๆไปแล้ว เรามีทัศนะว่าอนุญาตในเรื่องดังกล่าวในการทำสัญญาบางประเภทโดยใช้หลัก การอิซติห์ซานเมื่อมีความจำเป็นโดยไม่ได้ใช้หลักกิยาส และธรรามเนียมประเพณีตั้งแต่ยุคสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันก็ดำเนินเช่นนี้กันมา เหมือนเช่นในกรณีของการทำสัญญาแบบสลัมและอิญาเราะฮฺและอิซติซนาอฺ และเราโน้มเอียงเป็นอย่างยิ่งในการที่จะอนุญาตในเรื่องการทำสัญญาโดยใช้หลัก การกิยาส ไม่ใช่หลักการอิซติห์ซาน ดังเช่นทัศนะของอิบนิตัยมียะฮฺและศิษย์ของท่านอิบนิกอยยิม ตราบใดที่ไม่มีความเสี่ยงในการขายและไม่มีสภาพแห่งการที่ไม่สามารถรู้ได้(ก็ สามารถขายได้-ผู้แปล)ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้(การที่ไม่มีความแน่นอนในการได้ ของ)จะนำไปสู่การถกเถียงและขัดแย้งกัน หรือเป็นการพนันและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วใครก็ตามที่ได้พิจารณาดูอย่าง ละเอียดถี่ถ้วนแล้วในเรื่องเงื่อนไขต่างๆที่บรรดานักฟิกฮฺได้กำหนดเอาไว้ใน การที่จะทำให้สัญญาใช้ได้นั้น ก็จะพบว่าเงื่อนไขต่างๆทั้งหมดนั้นกลับมาอยู่ที่เรื่องของการรับรองในเรื่อง ความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายและการที่จะต้องไม่มีสิ่งอันจะนำไม่สู่การขัดแย้ง กันของทั้งสองฝ่าย

http://shamela.ws/browse.php/book-8322/page-21258

สรุป

1. ท่านอิบนุตัยมียะฮฺได้อนุญาตขายของโดยไม่มีในครอบครอง หากพบว่ามีความแน่นอนได้ของชัดเจน ซึ่งโต๊ะจีนนั้นมีความแน่นอนในการได้อาหารอยู่แล้วสำหรับคนกิน

2. ฆอรอร หรือ การห้ามขายของโดยไม่มีในการครอบครองตามหะดีษของท่านนบี ในทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮฺหมายถึง ของที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะได้ เช่น ไปขายอูฐที่หลงหายหนีไปจากคอก แบบนี้ไม่แน่นอนจะตามหาเจอหรือโดนฆ่าตายไปแล้วหรือเปล่าไม่รู้

3 คำอธิบายของท่านอิบนุตัยมียะฮฺ ถือว่าไม่ขัดแย้งอะไรกับอิจมาอ์ของอิบนุลมุนซิร เพราะอิจมาอ์ของอิบนุลมุนซิรนั้นหมายถึงการห้ามขายครอบครองโโยไม่มีในครอบ ครอง แต่นิยามและขอบเขตของคำว่าครอบครอง อันนี้นักวิชาการเขาขัดแย้งในรายละเอียด

4. การอนุญาตซื้อขายของที่ไม่มีในครอบครอง (บัยอุลมะอฺดูม) ที่อิบนุตัยมียะฮฺและลูกศิษย์คืออิบนุลก็อยยิมเลือกนี้ ไม่ใช่สะลัม สะลัมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อิบนุลก็อยยิมกล่าวไว้ใน ซาดุลมะอาด เล่ม 5 หน้า 399 ว่า

وقد ظن طائفة أن بيع السلم مخصوص من النهى عن بيع ما ليس عنده وليس هو كما ظنوه فإن السلم يرد على أمر مضمون في الذمة ثابت فيها مقدور على تسليمه عند محله ولا غرر في ذلك ولا خطر بل هو جعل المال في ذمة المسلم إليه يجب عليه أداؤه عند محله فهو يشبه تأجيل الثمن في ذمة المشتري فهذا شغل لذمة المشتري بالثمن المضمون وهذا شغل لذمة البائع بالمبيع المضمون فهذا لون وبيع ما ليس عنده لون ورأيت لشيخنا في هذا الحديث فصلا مفيدا وهذه سياقته

กลุ่มหนึ่งได้คิดไปว่าการขายแบบสลัมนั้นคือข้อยกเว้นจากการห้ามขายในสิ่งที่ ยังไม่ได้มีเอาไว้ในครอบครอง (คือคิดว่าการอนุญาตให้ซื้อขายแบบไม่มีในครอบครองนั้นมีแค่สะลัมอย่าง เดียว-ผู้แปล) ทั้งที่มันไม่ได้เป็นตามที่พวกเขาได้คิดเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าสลัมนั้นถูกกล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับการรับรองเอาต่อ สิ่งที่ถูกติดค้างเอาไว้ โดยมีความแน่นอนในสิ่งที่ถูกติดค้างเอาไว้และสามารถที่จะส่งมอบสิ่งของได้ เมื่อถึงกำหนดเวลา โดยไม่มีความเสี่ยงและเสียหายในสิ่งกล่าว แต่ทว่ามันคือการทำให้ทรัพย์ที่อยู่ในครอบครองของผู้ขายได้ถูกส่งมอบให้กับ กับเขา (ผู้ซื้อ-ผู้แปล) เมื่อถึงกำหนดเวลา ซึ่งก็คล้ายๆกับในกรณีที่ผู้ซื้อได้เลื่อนการจ่ายราคาสิ่งของนั้นออกไป โดยในกรณีนี้จะเกี่ยวกับการที่ผู้ซื้อได้ติดหนี้ที่ได้รับการประกันเอาไว้ ที่จะต้องจ่าย และในอีกกรณีหนึ่งก็จะเกี่ยวกับการที่ผู้ขายได้ติดค้างสิ่งที่ถูกขายที่ ถูกรับรองเอาไว้ (นั่นคือแบบสะลัฟ-ผู้แปล) เพราฉะนั้นสิ่งนิ้ (การซื้อขายแบบสะลัฟ-ผู้แปล) ก็เป็นประเภทหนึ่ง ส่วนการขายในสิ่งที่ยังไม่ได้มีอยู่ก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง และฉันได้เห็นว่าเชคของเราได้ให้การอธิบายที่ถือว่มีประโยชน์เอาไว้และต่อไป นี้คือสิ่งที่ท่านได้อธิบายเอาไว้

5. กรณีที่ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ห้ามมีการซื้อขาย 3 ฝ่ายแบบบวกกำไรนั้น อิบนุตัยมียะฮฺเขาหมายถึงในกรณีสะลัม

القول الثاني: أنه يجوز بيع المسلم فيه قبل قبضه. رابط الموضوع: http://www.alukah.net/sharia/0/68528/#ixzz3TIGw4NwF

แต่กรณีที่เราพูด เราไม่ได้คุยกันเรื่องสะลัม เรื่องคุยกันเรื่องกาซื้อขายของที่ไม่มีอยู่ในครอบครองจากประเภทที่ท่าน อิบนุตัยมียะฮฺได้อนุญาตแล้วไม่ใช่สะลัม

6. กระทู้ด้านล่างได้ชี้แจงไปแล้ว อ.ฟารีดและทีมงานมรดก ขายโต๊ะจีน 2 ฝ่ายเท่านั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยอะไรที่บางคนเข้าใจ

7. สรุปแล้วข้อกล่าวหาที่อ้างว่ามรดกฝืนอิจมาอ์ จึงเป็นการยัดข้อหาอย่างชัดเจน!23

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=335032533364767&id=100005740689770