ข้อแตกต่างระหว่าง อัลอิสติศนาอ์ และซะลัฟหรือสะลัม


หลังจากได้ชี้แจงเรื่องการซื้อขายในประเภทต่างๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติของ ศาสนาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากพี่น้องบางท่านยังเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับเงื่อนไขการซื้อขาย ประเภท อัลอิศติศนาอ์ (การสั่งผลิตสินค้า) กับซะลัฟหรือสะลัม (การซื้อขายล่วงหน้า) บางท่านกล่าวว่า อัลอิสติศนาอ์ ไม่สามารถกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าได้ เพราะถ้าหากกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าก็จะไม่ใช่ อิสติศนาอ์ แต่จะเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายเป็นซะลัฟหรือสะลัมไปทันที

ขอเรียนชี้แจงว่า ความเข้าใจข้างต้นนี้มีอยู่จริงในแวดวงของนักวิชาการ แต่เป็นเพียงหนึ่งในทัศนะของฮานาฟี และนักวิชาการในสายฮานาฟี เท่านั้น

http://fatwa.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=11224

ดังนั้น จึงไม่เป็นการสมควรเลยที่จะนำทัศนะที่สอดคล้องกับมุมมองของตนเองมายัดเยียด ให้แก่พี่น้องที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง และการนำทัศนะส่วนหนึ่งมาแสดงแล้วปิดบังทัศนะและมุมมองของนักวิชาการคนอื่นๆ ไว้นั้น ไม่เป็นการบังควรเลยผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่อศาสนาจะกระทำเช่นนี้

เนื่องจากคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาด้านฟิกฮ์ หรือ ( مجمع الفقه الإسلامي) และนักวิชาการสายฮานาฟีอีกส่วนหนึ่งกลับเข้าใจว่า อัลอิสติศนาอ์นั้นสามารถกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าได้ และไม่ได้ทำให้รูปแบบของอิสติศนาอ์ต้องเปลี่ยนไปเป็นการซื้อขายในรูปแบบซะ ลัมหรือสะลัมแต่อย่างใด

ส่วนความแตกต่างระหว่างอิลอิสติศนาอ์ กับซะลัมหรือสะลัฟนั้นอยู่ที่การชำระค่าสินค้า เนื่องจากการซื้อขายแบบซะลัมหรือสะลัฟ (การซื้อขายล่วงหน้า) นั้นต้องส่งมอบค่าสินค้าทั้งหมดในวันทำสัญญา แต่ อัลอิสติศนาอ์ (การสั่งผลิตสินค้า) นั้นสามารถชำระบางส่วนหรือจะชำระเป็นงวดหรือชำระทีเดียวเมื่อสินค้าเสร็จ แล้วก็ย่อมได้

และเพื่อยืนยันข้อความที่เรากล่าวข้างต้นนี้ เราจึงได้แนบลิงค์ต้นฉบับมติของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาด้านฟิกฮ์ หรือ ( مجمع الفقه الإسلامي ) มา ณ.ที่นี้เพื่อให้ท่านได้ตรวจสอบ ทบทวน แก้ไขข้ออ้างและการนำเสนอของท่านในลำดับถัดไป

http://www.fiqhacademy.org.sa/qrarat/7-3.htm