อิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์ (ตอนที่ 3)
ตอบอาจารย์คอลิด ปานตระกูล
เรายืนยันว่ามีอิจมาอ์ที่เป็นอิจมาอ์ และอิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์ ซึ่งคำยืนยันของเรานี้คือสิ่งที่ท่านชัยคุ้ลอิสลามอิบนิตัยมียะห์ได้ชี้แจง ไว้ดังนี้
# อิจมาอ์ที่เป็นอิจมาอ์
كل ما أجمعوا عليه فلا بدَّ أن يكون فيه نصٌّ عن الرسول ، فكل مسألة يُقطع فيها بالإجماع وبانتفاء المنازع من المؤمنين : فإنها مما بيَّن الله فيه الهدى ، ومخالف مثل هذا الإجماع يكفر ، كما يكفر مخالف النص البيِّن
“ทุกสิ่งที่พวกเขาได้ลงมติเอกฉันท์ก็จำเป็นที่จะต้องมีตัวบทใดๆจากท่านรอซูล ฉะนั้นทุกๆปัญหาที่เป็นมิติเอกฉันท์แบบเด็ดขาดโดยไม่มีผู้ศรัทธาคนใดโต้แย้ง มันก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงแจ้งทางนำไว้ในนั้น และผู้ที่คัดค้านอิจมาอ์ประเภทนี้ถือเป็นผู้ปฏิเสธ เช่นเดียวกับการคัดค้านตัวบทหลักฐานที่ชัดเจน” มัจมัวอุ้ลฟะตาวา 7/39
# อิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์
وأما إذا كان يظن الإجماع ، ولا يقطع به : فهنا قد لا يقطع أيضاً بأنها مما تبين فيه الهدى من جهة الرسول ، ومخالف مثل هذا الإجماع قد لا يكفر ؛ بل قد يكون ظن الإجماع خطأ ، والصواب في خلاف هذا القول ، وهذا هو فصل الخطاب فيما يكفر به من مخالفة الإجماع ، وما لا يكفر
“ส่วนที่คาดการณ์กันว่าเป็นอิจมาอ์ แต่ไม่เด็ดขาด จึงไม่เป็นที่มั่นใจเช่นเดียวกันว่ามันคือสิ่งที่ชัดเจนจากทางนำของท่านรอ ซูล และผู้ที่ขัดแย้งอิจมาอ์ประเภทนี้ก็ไม่ได้เป็นผู้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ทว่าบางทีการคาดการณ์ว่าเป็นอิจมาอ์อาจจะผิด แต่ที่ถูกต้องอาจตรงกันข้ามก็ได้ นี่คือรายละเอียดในการขัดแย้งอิจมาอ์ว่าจะตกเป็นผู้ปฏิเสธหรือไม่” มัจมัวอุ้ลฟะตาวา 7/39
ดังนั้นข้อความของเราที่ว่า “อิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์” จึงไม่ใช่เรื่องที่เรายกเมฆเอาเองเพื่อต้องการดีสเครดิตอุลามาอ์ท่านใด แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านได้เขียนบทความโต้แย้งภายใต้ชื่อเรื่องว่า “อิจมาอ์คืออิจมาอ์ อย่าบิดพริ้ว” ขอเรียนให้ทราบตามตรงว่า หากท่านเจ้าของบทความยืนยันว่า อิจมาอ์ต้องเป็นอิจมาอ์เสมอไปนั้น ท่านก็ไม่ได้โต้แย้งคัดต้านเราหรอก แต่ท่านกำลังเถียงและคัดค้านซัยคุ้ลอิสลาม อิบนิตัยมียะห์ เพราะอิบนุตัยมียะห์ชี้แจงว่า อิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์นั้นมีจริง
และเมื่อเรายกตัวอย่าง อิจมาอ์ที่ไม่ใช่อิจมาอ์ ของอิบนุลมุนซิร และ อิบนุกุดามะห์ เราก็ถูกกล่าวหาว่า ดิสเครดิตอุลามาอ์ นอกจากนั้นแล้วท่านยังลากเอากรณีตัวอย่างที่เราเขียนไปเกี่ยวกับเรื่องโต๊ะ จีนแล้วกล่าวหาโจมตีเราว่า “สร้างความสงสัยในอิจมาอ์ที่อิมามอิบนุลมุนซิร-ร่อ ฮิมะฮุลลอฮ์ -(ตายฮ.ศ.318)- และอิมามอิบนุกุดามะฮ์ อัลมักดิซีย์-ร่อฮิมะฮุลลอฮ-(ตายฮ.ศ. 620)ซึ่งได้รายงาน อิจมาอ์-มติเอกฉันท์-เรื่องการห้ามขายอาหารจนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอยู่ในมือ อย่างครบถ้วนสมบรูณ์เสียก่อน” อะไรที่ทำให้ท่านคิดเลยเถิดขนาดนี้ ทั้งๆกรณีตัวอย่างที่เราเขียนนี้ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโต๊ะจีนเลยแม้แต่น้อย และเราก็ชี้แจงในบทความก่อนหน้านี้แล้วว่า ถ้าเรื่องอิจมาอ์ที่ท่านนำมาอ้างเกี่ยวกับโต๊ะจีนนั้น แม้เราจะยกประโยชน์ให้ว่า มันคือ “อิจมาอ์ก๊อฏอีย์” แล้วก็ตามแต่ท่านก็ยังเข้าใจผิดอยู่ดี กรุณาย้อนกลับไปอ่านเถิด
แม้ว่าเราจะยืนยันก่อนหน้านี้ว่า เรามิบังอาจที่จะคัดค้านหรือโต้แย้งด้วยภูมิรู้ของเรา เนื่องจากเราไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำเช่นนั้น แต่เมื่อบรรดานักวิชาการเขาโต้แย้งและคัดค้านกันเอง ก็เป็นสิ่งที่เราต้องรับฟัง ไม่ใช่ตีโพยตีพาย ประหนึ่งว่าไม่เคยได้ยินคำโต้แย้งและคัดค้านของบรรดานักวิชาการมาก่อน
กรณีคำอ้างของอิบนุ้ลมุนซิร ว่าการอาเจียนแล้วเสียบวชเป็นอิจมาอ์นั้น ท่านเชื่อเช่นนั้นหรือว่า มันคืออิจมาอ์จริงๆโดยไม่มีนักวิชาการท่านใดโต้แย้งและคัดค้านเลย ท่านไม่เคยพบ ไม่เคยอ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนหรือ
ความจริงแล้วนักวิชาการเขาคัดค้านโดยรวบรวมเป็นตำรากันเลยทีเดียวเช่น “ตัมบีฮุ้ลอะนาม” ของเชคอบุ้ลวะฟาอ์ อัตตูนิซีย์ ซึ่งเราจะนำเอาบางส่วนของคำคัดค้านมาแสดงให้ท่านเห็นดังนี้
نقض إجماع ابن المنذر و الخطابي من الوجه الثاني مع نقض إجماع السمرقندي :(1)
الآن نأتي على نقض الإجماع عموما في مسألة تعمد القيء و ذلك ببيان مذهب من ذهب إلى عدم الإفطار بالإستقاء عمدا مطلقا.
فقد ذهب ابن مسعود و ابن عباس و عكرمة و طاووس (2) و مالك في رواية إلى ان القيء عمدا لا يفطر و لا يوجب قضاءا و لا كفارة إلا مالك فقد ذكر عنه استحباب القضاء و اختار هذه الرواية ابن الجلاب.
قال الصنعاني :(3)
روي عن ابن عباس ومالك وربيعة والهادي أن القيء لا يفطر مطلقا إلا إذا رجع منه شيء.هـ
قال الشيخ أبو الحسين بن العلامة المباركفوري :(4)
وقال ابن المنذر : أجمع أهل العلم على إبطال صوم من استقاء عامداً ، وحكى عن ابن مسعود وابن عباس إن القيء لا يفطر.هـ
قال الآبي الأزهري :(5)
(وإن استقاء) الصائم أي طلب القئ (فقاء فعليه القضاء) وهل وجوبا أو استحبابا قولان شهر ابن الحاجب الاول وهو الراجح، واختار ابن الجلاب الثاني.هـ
.......................................
1- أقصد بالوجه الثاني بقول من قال أن القيء عمدا لا يفطر مطلقا
2- راجع بداية المجتهد لابن رشد
3- سبل السلام ج2 ص161
4- مرعاة المفاتيح شرح مشكاة المصابيح ج6 ص511
5- الثمر الداني ج1 ص300
ข้างต้นนี้คือไฟล์หนังสือที่เรานำมาแสดงเพื่อชี้ให้เห็นว่า ไม่ใช่เราหรอกที่คัดค้านคำรายงานอิจมาอ์ของอิบนุลมุนซิร และไม่ใช่เราหรอกที่ดิสเครดิตอิบนุ้ลมุนซิรตามที่ท่านกล่าวหา แต่บรรดานักวิชาการเขาวิพากษ์วิจารณ์กันเอง หรือท่านจะกล่าวว่าบรรดานักวิชาการเหล่านี้เขาดิสเครดิตอิบนุ้ลมุนซิรเล่า
และในข้อความข้างต้นนี้อ้างถึงหนังสือ “บิดายะตุ้ลมุจตะฮิด” ของอิบนุรุชดิน และ “ซุบุลุสสลาม” ของศอนอานีย์ ที่สำคัญคือข้อความที่อ้างถึงจุดยืนในเรื่องนี้ของบรรดาศอฮาบะห์และตาบีอี นและในระดับมัซฮับ ที่ค้านกับคำรายงานของอิบนุลมุนซิรคือ
فقد ذهب ابن مسعود و ابن عباس و عكرمة و طاووس
و مالك في رواية إلى ان القيء عمدا لا يفطر و لا يوجب قضاءا و لا كفارة إلا مالك فقد ذكر عنه استحباب القضاء و اختار هذه الرواية ابن الجلاب
“อิบนุมัสอู๊ด, อิบนุอับบาส, อิกริมะห์, ฏอวูส มีทัศนะและมาลิกในรายงานหนึ่งที่ว่า การอาเจียนโดยเจตนาไม่ทำให้เสียบวชและไม่จำเป็นต้องบวชใช้และไม่ต้องจ่ายกัฟ ฟาเราะห์ นอกจากท่านมาลิกที่มีคำรายงานถึงท่านว่าสมควรที่จะบวชใช้ และอิบนุลญัลลาบก็เลือกเอารายงานนี้”
نقد العلماء لإجماع ابن المنذر رحمه الله:
و إليكم نقولات لأهل العلم صريحة في نقد و رد إجماع الإمام ابن المنذر:
قال الصنعاني :(6)
ونقل ابن المنذر الإجماع على أن تعمد القيء يفطر قلت ولكنه روي عن ابن عباس ومالك وربيعة والهادي أن القيء لا يفطر مطلقا إلا إذا رجع منه شيء.هـ
قال صديق خان :(7)
وقد حكى ابن المنذر الإجماع على أن تعمد القيء يفسد الصيام وفيه نظر فإن ابن مسعود وعكرمة وربيعة قالوا: إنه لا يفسد الصوم سواء كان غالبا أو مستخرجا ما لم يرجع منه شيء باختياره.هـ
قال الشيخ سليمان العلوان فك الله أسره :(8)
وذهب الجمهور إلى أن من استقاء عمداً فليقض وحكاه بن المنذر وغيره إجماعاً وهذا فيه نظر فلم ينعقد إجماع في هذه المسألة.هـ
.....................................................
6- سبل السلام ج2 ص161
7- الروضة الندية ج1 ص227
8- شرح كتاب الصيام من سنن الترمذي مفرغ على الشبكة
# คำวิจารณ์ของบรรดาอุลามาอ์เกี่ยวกับอิจมาอ์ของอิบนุลมุนซิร
และนี่คือถ้อยคำของนักวิชาการที่ชัดเจนในการคัดค้านและโต้แย้งอิจมาอ์ของอิหม่าม อิบนุ้ลมุนซิร
# ศอนอานี่ย์ กล่าวว่า
อิบนุลมุนซิรได้รายงานอิจมาอ์ว่า การตั้งใจอาเจียนนั้นทำให้เสียบวช ฉัน (ศ็อนอานีย์) ขอกล่าวว่า แต่ทว่ามีรายงานจาก อิบนิอับบาส จากมาลิก จากรอบีอะห์ และอัลฮาดีว่า การอาเจียนไม่ได้ทำให้เสียบวชแต่อย่างใด นอกจากเขาจะกลืนสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไป”
# ศิดดีก คาน กล่าวว่า
อิบนุ้ลมุนซิร ได้รายงานอิจมาอ์ว่า การอาเจียนโดยเจตนาทำให้เสียบวชนั้นมีประเด็นที่ต้องพิจารณา เพราะ อิบนิมัสอู๊ด, อิกริมะห์, และรอบีอะห์ กล่าวว่า มันไม่ได้ทำให้เสียบวชไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามตราบใดที่ไม่ได้กลืนสิ่งใด เข้าไป
# เชคสุไลมาน อัลอุลวาน กล่าวว่า
บรรดาปวงปราชญ์มีทัศนะว่า การอาเจียนโดยตั้งใจนั้นทำให้เสียบวช และอิบนุ้ลมุนซิรกับคืนอื่นๆรายงานว่าเป็นอิจมาอ์ แต่มันมีประเด็นพิจาณาเนื่องจากมันไม่ถึงขั้นอิจมาอ์ในปัญหานี้
ขอเรียนตามตรงว่า เราคงไม่สามารถนำเอาข้อความทั้งหมดมาแสดง ณ ที่นี้ได้ แต่ที่ท่านได้อ่านมานี้ก็คงจะเพียงพอแล้วที่จะยืนยันว่า นักวิชาการเขาโต้แย้งและคัดคัดค้านอิจมาอ์ของอิบนุ้ลมุนซิรในเรื่องการอา เจียรแล้วเสียบวช ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องโต๊ะจีนและข้อหาที่ท่านยัดเยียดให้แก่เราว่าดิส เคคดิต อิบนุ้ลมุนซิร แต่อย่างใด
เราลองดูบทสรุปของเรื่องนี้หน่อยก็จะเป็นการดี
العلماء اختلفوا في القيء عمدا هل يفطر أم لا على ستة مذاهب:
1-مفطر مطلقا:وهو مذهب جمهور أهل العلم كأبي حنيفة و محمد و رواية عن مالك و الشافعي و الصحيح من مذهب أحمد.
2-مفطر إذا كان ملء الفم دون غيره:وهو مذهب أبو يوسف و رواية عن أحمد اختارها ابن عقيل.
3-مفطر إذا كان ملء الفم أو نصفه:هذا القول رواية عن أحمد
4-مفطر إذا فحش:وهو رواية عن أحمد
5-غير مفطر مطلقا:وهو مذهب ابن مسعود و ابن عباس و عكرمة و طاووس و رواية عن مالك اختارها ابن الجلاب.
บรรดานักวิชาการได้ขัดแย้งกันในการอาเจียนโดยเจตนาทำให้เสียบวชหรือไม่ 6 แนวทางด้วยกัน (แต่เราพบเพียงแค่ห้าแนวทางเท่านั้น)
1 – ถือว่าเสียบวชทั้งหมดคือ ทัศนะของปวงปราชญ์ เช่น อบูฮะนีฟะห์ และมูฮัมหมัด และในรายงานหนึ่งของอิหม่ามมาลิก, อิหม่ามชาฟีอี และที่ถูกต้องจากมัสฮับอิหม่ามอะห์หมัด
2 – ถือว่าเสียบวช กรณีที่อาเจียนเต็มปากคือมัซฮับของอบูยูซุบ และรายงานหนึ่งจากอิหม่ามอะห์หมัด ซึ่งอิบนุอะกีล ได้เลือกเอาทัศนะนี้
3 – ถือว่าเสียบวชถ้าหากอาเจียนเต็มปากหรือครึ่งหนึ่ง ทัศนะนี้คือรายงานหนึ่งจากอิหม่ามอะห์หมัด
4 - เสียบวชถ้ามีอาการหนัก คือรายงานหนึ่งของอิหม่ามอะห์หมัด
5 - ไม่เสียบวชทุกกรณีคือ ทัศนะของอิบนิมัสอู๊ด, อิบนุอับบาส, อิกริมะห์, ฏอวูส และรายงานหนึ่งจากอิหม่ามมาลิก และอิบนุลญัลลาบได้เลือกเอาทัศนะนี้
เรื่องที่เรานำมาแสดงนี้ไม่ได้ต้องการจะชี้ว่าทัศนะใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน แต่เราต้องการจะชี้ให้เห็นว่า การอาเจียนโดยเจตนาเป็นอิจมาอ์ดั่งที่อิบนุ้ลมุนซิรได้กล่าวจริงหรือไม่
เชค อบุ้ลวะฟาอ์ อัตตูนีซี่ย์ ได้สรุปว่า
خلاصة البحث:
لا يوجد إجماع في الفطر بالإستقاء عمدا و كل إجماع تم ذكره في المسألة هو إجماع غير منضبط و مسبوق بخلاف لأهل العلم
“ไม่พบว่าเป็นอิจมาอ์ในการเสียบวชจากการอาเจียน และทุกๆอิจมาอ์ที่กล่าวอ้างในปัญหานี้คือ อิจมาอ์ที่ไม่แน่นอนท่ามกลางความขัดแย้งของบรรดานักวิชาการ” ตัมบีฮุ้ลอะนาม (6)
จากที่นำเสนอนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางเรื่องพอสังเขปในคำชี้แจงทางวิชาการของ นักวิชาการที่เขาโต้แย้งหักล้างกันด้วยตัวบทหลักฐาน และเราคงจะไม่กล่าวว่า อุลามาอ์เขาดีสเคดิตกัน และหากท่านต้องการที่จะปกป้องอุละมาอ์ อิมามผู้ทรงความรู้ในอิสลามคืออิมามอิบนุลมุนซิร และอิมามอิบนุลกุดามะฮ์ อัลมักดิซีย์ ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ในบทความ ซึ่งเราเชื่อว่าท่านเจตนาบริสุทธิ์ตามที่ได้กล่าวจริง แต่ท่านจำต้องหาหลักฐานมายืนยันและคัดค้านว่า อาเจียรแล้วเสียบวชเป็นอิจมาอ์จริงตามที่อิบนุ้ลมุนซิรกล่าวอ้าง ไม่ใช่เอะอะโวยวายและทึกทักเอาเองว่าเราดิสเครดิตอุลามาอ์
และฝากข้อความให้ท่านพิจารณาหน่อย
ท่านจะว่าอย่างไรกับข้อความต่อไปนี้
وكذلك ابن المنذر يتساهل في الإجماع، وكتاب "الإشراف" هو مرجع أساسي لعدة مصادر مثل مغني ابن قدامة
“และในทำนองเดียวกัน อิบนุ้ลมุนซิรนั้นไม่รอบคอบในเรื่องอิจมาอ์ และหนังสือ “อัลอิชรอฟ” ก็เป็นรากฐานที่มาของตำราหลายเล่ม เช่น มุคนี ของอิบนุกุดามะห์ เป็นต้น”
http://www.ibnamin.com/ijma.htm
เรายืนยันว่าข้อความข้างต้นนี้ไม่ใช่คำพูดของเราอย่างแน่นอน และเราได้ก๊อปลิ้งค์แนบมา ณ ที่นี้แล้วขอให้ท่านพิจารณาเถิด
โปรดติดตามคำชี้แจงเรื่อง อิจมาอ์ของอิบนุกุดามะห์ ในตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ์
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=346741902193830&id=100005740689770