ตอบคำถามของอาจารย์อิสหาก พงษ์มณี


ต้องขออนุญาตต่อพี่น้องที่สอบถามคำถามเข้ามาก่อนหน้านี้ ที่เราเปิดโอกาสให้สอบถามคำถามเรื่องโต๊ะจีนภายในหนึ่งสัปดาห์ และจะครบกำหนดในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

แต่เนื่องจากท่านอาจารย์อิสหาก พงษ์มณี ซึ่งถือเป็นนักวิชาการที่ได้รับความเคารพนับถือท่านหนึ่งในสังคม ได้ให้เกียรติสอบถามคำถามด้วยตัวท่านเอง เราจึงให้เกียรติแก่ท่านด้วยการตอบคำถามของท่านก่อนเป็นอันดับแรก

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=352615274939826&id=100005740689770

#‎ท้าวความ‬

สืบเนื่องจากคุณอามีน คงดำ ได้โพ้สข้อความสอบถามบรรดาคณาจารย์ซึ่งมีผมเป็นหนึ่งในนั้นด้วยที่ถูกถามโดยมีข้อความดังนี้

“จ้างทำอาหารล่วงหน้าสักสองเดือน ในราคา 1400 บาท แล้วนำไปขายต่อล่วงหน้าแบบมึนๆในราคาอีกราคานึงที่ราคา 3000 บาท คำถามคือ...อะไรคือการซื้อขายหน้างาน...?”

ผมได้เข้าไปตอบคำถามตามคำเชิญโดยนำลิงค์บทความเรื่องโต๊ะจีนตอนที่ 9 ซึ่งผมได้เขียนไว้นานแล้ว และมีรายละเอียดขั้นตอนของการซื้อขายซึ่งตรงกับคำถามตามที่แนบลิงค์มานี้

ตอนที่ 9
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=327564037444950&id=100005740689770

ต่อมาอาจารย์อิสหาก พงษ์มณี ได้เข้ามาโพ้สข้อความว่า : “ไม่เห็นตอบอะไรเลย เดี๋ยวผมก็โยงบ้างว่าให้ไปอ่านเอกสารที่ผมเขียน มันก็ไม่แตกต่างกัน บัตรโต๊ะจีนที่เร่ขายนะคุณเอาธุรกรรมอะไรมาสวม แค่นี้พอแล้ว ไม่ยาว ไม่ต้องยืดเยื้อ เดี่ยวผมตอบใก้แน่นอน”

ผมก็ไม่ทราบว่าอาจารย์อิสหากท่านเป็นเจ้าของคำถามหรืออย่างไร หรือเดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับคำตอบของผม และที่สำคัญข้อเขียนในบทความตามลิงค์ที่แนบนี้ก็มีคำตอบอยู่แล้ว แต่ท่านกลับพูดว่า ไม่เห็นตอบอะไร

ผมยกตัวอย่างข้อเขียนในบทความให้ดูดังนี้

“ถามว่าตอนนี้เราซื้อหรือยัง . ตอบ...ยัง
ทำหรือยัง ตอบ...ยัง
ถามว่าเขาเลี้ยงกันหรือยัง ตอบ...ยัง
เขาขายกันหรือยัง ตอบ...ยัง
เขาจะเลี้ยงและจะซื้อจะขายกันเมื่อไหร่ ตอบ...วันที่นัดหมายคือ ศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ ตามเวลาและสถานที่ที่แจ้งไว้ในบัตรเชิญ
ถามว่า ถ้าจองต้องชำระมัดจำไหม ตอบ...ไม่ต้อง
ต้องทำสัญญาจองไหม ตอบ..ไม่ต้อง เพียงท่านแจ้งชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรกลับเท่านั้น
ต้องจ่ายเงินเลยไหม ตอบ...ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่เราวางไว้ จะกินก่อนแล้วจ่ายทีหลังก็ยังได้

เพราะฉะนั้นบัตรเชิญหรือการ์ดงานของเรา จึงเป็นหนังสือเชิญให้ท่านมาร่วมกินร่วมซื้อกับเราในวันเวลาที่นัดหมายโดย ไม่มีเงื่อนไขบังคับ”

นี่คือตัวอย่างบางส่วนบางตอนในบทความเท่านั้นยังมีรายละเอียดอีกมาก แต่ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์อิสหากไม่ได้อ่านหรืออย่างไร จึงได้กล่าวว่า ไม่เห็นตอบอะไร

ส่วนคำถามของอาจารย์อิสหากที่กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “บัตรโต๊ะจีนที่เร่ขายนะคุณเอาธุรกรรมอะไรมาสวม แค่นี้พอแล้ว ไม่ยาว ไม่ต้องยืดเยื้อ เดี่ยวผมตอบใก้แน่นอน”

คำถามนี้ผมไม่ได้ตอบแก่อาจารย์อิสหากโดยทันทีอันเนื่องมาจาก เพตนั้นไม่ใช่พื้นที่ ที่นักวิชาการจะสนทนากันโดยอิสระ เพราะยังมีคนอื่นที่สามารถเข้ามาโพ้สข้อความแทรกได้ตลอดเวลา ผมจึงเสนอให้ตั้งเพตที่คุยกันเฉพาะนักวิชาการส่วนคนอื่นให้ติดตามอ่านเท่า นั้น แต่ข้อเสนอของผมนี้ก็ไม่รับการตอบรับจากอาจารย์อิสหาก

ขณะเดียวกันเจ้าของโพ้สก็เสนอว่าให้นัดคุยกันที่ศูนย์กลาง (ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย) ผมก็รับข้อเสนอโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากอาจารย์อิสหากอีกเช่นเดียวกัน

แต่เมื่อท่านตั้งเป็นประเด็นคำถามทิ้งไว้ก็ถือว่าได้รับเกียรติจากท่านเป็น อย่างยิ่งที่สอบถามคำถามจากเราโดยตรง แต่ความจริงแล้ว เราได้เขียนบทความเรื่องที่ท่านถามไว้ก่อนที่ท่านจะถามตั้งเนิ่นนาน แต่ท่านก็ยังตั้งคำถามซ้ำมาอีก ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าท่านไม่ได้อ่านบทความของเราจริงๆ หรือท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจ แต่เอาละ...เราจะโทษตัวเองว่าไม่สามารถเขียนบทความให้ท่านอ่านเข้าใจได้

#‎คำพูดของท่านทีว่า‬ “บัตรโต๊ะจีนที่เร่ขายนะ”

ขอมะอัฟที่จะกล่าวว่า ท่านพูดผิดและเข้าใจผิด เราพูดไม่รู้กี่ครั้งว่า “การ์ดงานของเรามันคือบัตรเชิญ” เราต้องยกข้อความในบทความตามลิงค์ข้างต้นให้ท่านดูอีกครั้งดังนี้

“ถามว่า ถ้าจองต้องชำระมัดจำไหม ตอบ...ไม่ต้อง
ต้องทำสัญญาจองไหม ตอบ..ไม่ต้อง เพียงท่านแจ้งชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรกลับเท่านั้น
ต้องจ่ายเงินเลยไหม ตอบ...ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่เราวางไว้ จะกินก่อนแล้วจ่ายทีหลังก็ยังได้

เพราะฉะนั้นบัตรเชิญหรือการ์ดงานของเรา จึงเป็นหนังสือเชิญให้ท่านมาร่วมกินร่วมซื้อกับเราในวันเวลาที่นัดหมายโดย ไม่มีเงื่อนไขบังคับ”

แล้วอย่างไรเล่าที่ท่านกล่าวว่า “เร่ขายนะ” ทั้งๆที่ข้อความในบัตรก็ระบุชัดว่า “ขอเชิญร่วมงาน”

หรือท่านจะยึดติดข้อความท้ายบัตรที่ระบุว่า “ราคา 3,000.-บาท”
ถ้าเช่นนั้นเราถามว่าที่ระบุอย่างนี้ถือว่าเป็นการซื้อขายกันหรือยัง ตอบ..ยัง
เพราะอะไร ตอบ..เพราะไม่ได้เรียกชำระเงิน

คนที่รับบัตรไป ไม่มาร่วมงานและไม่จ่ายเงินก็มี มาชำระหลังงานก็มีและเราก็ไม่ได้ตามทวงเพราะเรายืนยันว่าการ์ดงานของเราคือ บัตรเชิญ

ถ้าจะถามว่า แล้วที่ประกาศขายบัตรละ
ขอเรียนว่า เราประกาศให้จอง โดยไม่เรียกเก็บมัดจำหรือค่าจองแต่อย่างใทั้งสิ้น
หากท่านจะถามว่า มีการเรียกเก็บเงินก่อนไหม

เราเอาคำชี้แจงของฝ่ายการเงินมาแสดงให้เห็นดังนี้

“การ์ดงานที่ผ่านมา มีการชำระที่ต่างกัน..ชำระส่วนมากวันงานแบ่งย่อย..เดินเข้างาน,กินไปบางส่วน ก็มาชำระ,กินครบแล้วค่อยมาชำระ, กินแล้วจบงานแล้ว..ขอชำระวันหลัง ก่อนงานบางท่านใช้ความสะดวกไม่ยุ่งหน้างานก็ขอชำระ,บางท่านผ่อนชำระจ่ายอีก ทีวันงาน, บางท่านทำบุญเด็กนัก เรียน..เด็กกำพร้า อยู่ไกลก็โอนผ่านบัญชีมูลนิธิ(เชครายการเงินเข้าบัญชีทางอินเตอร์เน็ต) การ์ดงานบางท่านรับไปและไม่มาวันงานทางมูลนิธิก็ปล่อยเลยตามเลย...ที่กล่าว ข้างต้นเป็นจริงไม่ได้พูดเกินเลย” (ข้อความจากฝ่ายการเงินโดยคุณมาเรียม เรืองพานิช)

แม้ว่าเราจะวางหลักว่า ซื้อสดขายสดกันในงานแต่ก็มีทีมงานของเราบางคนที่ไม่ทราบเรื่องได้โทรไปขอให้ ชำระเงินก่อนวันงาน และเมื่อผมกับ อ.อับดุลลอฮ์ สุไลหมัด ทราบเรื่องจึงได้ให้เขาแจ้งว่าให้มาชำระเงินที่หน้างาน นี่คือข้อเท็จจริงที่เรามิอาจปฏิเสธได้

แต่การจะเก็บเล็กเก็บน้อยแล้วโยนข้อหาให้เราว่าโกหก หรือลงฮุก่มว่าเราผิดทั้งหมด หรือทำในสิ่งที่ฮะรอม ดูมันจะเป็นเรื่องที่เกินเลย แต่หากจะยืนยันว่าบางส่วนที่ชำระเงินก่อนนั้นอยู่ในฮุก่มไหน เราก็อยากให้ท่านได้อ่านข้อความของนักวิชาการที่เราจะแสดงให้เห็นดังนี้

#‎ประการต่อมา‬ อาจารย์อิสหากถามว่า “บัตรเชิญของเราเอาธุรกรรมอะไรมาสวม” เราก็กล่าวเหมือนเดิมว่าท่านคงจะไม่ได้อ่านบทความของเราอีกเช่นเคย บัตรเชิญของเราคือ “อัลมุวาอะห์” ซึ่งเราเขียนชี้แจงเรื่องนี้ไว้ก่อนที่ท่านจะถามนานแล้วดังนี้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=333710940163593&id=100005740689770

ขอเรียนว่า บัตรเชิญไม่ใช่ธุรกรรม และ “อัลมุวาอะห์” ก็ไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขายครับ ท่านอย่าเข้าใจผิด

มุวาอะดะห์มาจากคำว่า وعد คือข้อตกลง ไม่ใช่ عقد ที่แปลว่า สัญญา เพราะฉะนั้น “อัลมุวาอะดะห์” คือข้อตกลงก่อนทำการซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาในการทำการซื้อขาย

ท่านอย่าเข้าใจว่า “อัลมุวาอะดะห์” คือธุรกรรมที่มีข้อสัญญาแล้วเอาไปรวมกับธุรกรรมอื่น ถ้าท่านทำเช่นนั้นท่านเข้าใจผิดแน่นอน

บรรดานักวิชาการได้ชี้ข้อเท็จจริงของ “อัลมุวาอะดะห์” ที่เรากล่าวข้างต้นดังนี้

المواعدة على البيع والشراء لا تعتبر بيعا ولا شراء وإنما هي وعد من كل من البائع والمشتري بذلك

“ข้อตกลงจะซื้อจะขายนั้นไม่ถือว่าเป็นการซื้อและไม่ถือว่าเป็นการขาย แต่ทว่ามันคือข้อตกลงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องดังกล่าว” (มะญัลละห์ อัลบูฮูสอัลอิสลามียะห์ ญุชอ์ที่ 43 หน้าที่ 181)

ดังนั้น “อัลมุวาอะดะห์” จึงไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขาย และไม่ใช่การซื้อขายล่วงหน้า,ไม่ใช่การซื้อขายในสิ่งที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์, หรือการซื้อขายอาหารที่ยังไม่ได้ครอบครอง และหรือการซื้อขายในประเภทใดๆก็ตาม แต่ “อัลมุวาอะดะห์” เป็นเพียงข้อตกลงในเบื้องแรกของการจะซื้อจะขาย โดยผู้จะซื้อและผู้จะขายตกลงนัดแนะกันว่าจะทำการซื้อขายสินค้าใดๆ ตามวันและเวลานัดหมาย

เรายืนยันอีกครั้งว่า บัตรเชิญของเราคือ “อัลมุวาอะดะห์” ที่ไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขายแต่อย่างใด

และหากจะถามว่า “อัลมุวาอะห์” มีการชำระเงินได้ไหม แล้วเงินที่ชำระเรียกว่าอะไร เราจะให้นักวิชาการเป็นผู้ตอบคำถามนี้ดังนี้

ونظرًا إلى أن العربون لا يكون إلا في عقد بيع ، وهو دفعة أولى من الثمن في حال اختيار إمضاء البيع فلا يظهر لنا وجاهة القول بجواز العربون في المواعدة على الشراء ، وهذا لا يعني القول بعدم جواز أن يدفع الواعد للموعود له بالشراء شيئا من المال لقاء الوفاء بالوعد ببيع السلعة عليه ، ولكننا لا نسمي هذا المال عربونا ، ويمكن أن يكون من الشروط الجزائية وهو خاضع للاتفاق بين المتواعدين إن اتفقا على أن يكون جزءا من الثمن في حال الشراء لزم الاتفاق ونفذ . وإن اتفقا على استحقاقه للموعود له دون اعتباره جزءا من الثمن في حال الشراء فهما على ما اتفقا عليه؛ إذ المسلمون على شروطهم إلا شرطا حرم حلالا أو أحل حراما .

“ประเด็นพิจารณา ณ ที่นี้คือ มัดจำจะยังไม่เกิดขึ้นนอกจากในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งมันคือเงินก้อนแรกของราคาสินค้าในการดำเนินการค้าขาย โดยไม่ปรากฏแง่มุมทางวิชากาใดๆที่อนุญาตเรื่องมัดจำในข้อตกลงจะซื้อจะขาย (อัลมุวาอะดะห์) นี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นที่อนุญาตในการที่คู่ค้าทั้งสองตกลงชำระ เงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันในข้อตกลงการขายสินค้านั้น แต่ทว่าเราไม่เรียกว่า “มัดจำ” ซึ่งเป็นที่ยอมรับต่อเงื่อนไขของข้อตกลงระหว่างคู่ค้า หากทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าให้นำเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าในขณะ ทำการซื้อขาย ก็ให้ถือไปตามข้อตกลงและดำเนินการตามนั้น
และหากคู่ค้าได้ตกลงให้เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยไม่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ราคาสินค้าในการทำการซื้อขายก็ให้ดำเนินการไปตามข้อตกลงนั้น : มุสลิมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พวกเขาตกลงกัน นอกจากข้อตกลงที่ทำให้สิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติหรือสิ่งที่อนุมัติเป็นที่ ต้องห้าม” (อัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 1272)

http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?BookID=2&View=Page&PageNo=2&PageID=6089

เราหวังว่าคำชี้แจงของเรานี้คงจะทำให้อาจารย์อิสหากได้คลายกังวลลงได้บ้าง ต้องขอบคุณท่านที่ห่วงใยองค์กรของเราช่วยตรวจสอบให้ และหากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติมเราก็ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านจะสอบถามเราโดยตรง แต่ขอความกรุณาว่าอย่าถามแบบลอยมากลางอากาศเพราะเราไม่รู้ว่าท่านถามใคร

พร้อมกันนี้เรามีข้อสงสัยในคำฟัตวาของท่าน หากท่านจะกรุณาชี้แจงแก่เราก็ขออัลลอฮ์ตอบแทนท่านด้วย

1 . ข้อเขียนในบทความของท่านที่ว่า “โต๊ะจีนคือธุรกรรมสามฝ่าย” สมติฐานนี้เราถือว่าเป็นเท็จ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงของโต๊ะจีนและเราพร้อมที่จะพิสูจน์ เราจึงอยากทราบว่า คำพูดนี้เป็นคำของอุลามาอ์ท่านใด

2. ระหว่างผู้จัดกับผู้รับทำอาหารนั้นไม่ใช่การซื้อขายอาหาร แต่คือการสั่งทำอาหารที่เรียกว่า อัลอิสติศนาอ์ และทั้งสองนี้มีกฏเกณฑ์เงื่อนไขและฮุก่มต่างกัน เราจึงอยากทราบว่า เพราะเหตุใดท่านจึงนำเอาฮะดีษและอิจมาอ์ที่กล่าวเรื่องซื้อมาเป็นหลักฐาน เรื่องการสั่งทำ

3 . เพราะเหตุใดท่านจึงนำเอาบัตรโต๊ะจีนไปเปรียบกับ ซิก๊าก ซึ่งเป็นเอกสารที่ทางการมอบให้แก่ประชาชนแบบให้เปล่า อิหม่ามนะวาวีชี้แจงว่า มัซฮับชาฟีอีอนุญาตให้มือแรกขายได้แต่ไม่อนุญาตให้ขายตกทอด มุบาร๊อกฟูรีกล่าวว่า ประชาชนรีบร้อนเอาไปขายตกทอดต่อๆกันและมันคือดอกเบี้ย แต่บัตรโต๊ะจีนไม่ใช่เอกสารทางการ ไม่ใช่การให้เปล่า ไม่มีการขายตกทอดต่อๆกัน

หากท่านสะดวกกรุณาตอบคำถามให้ด้วย