อย่าเปลี่ยนฮุก่มศาสนา


อย่าเปลี่ยนฮุก่มศาสนาเพื่อปกป้องความผิดพลาดของตนเองเลย มันจะยิ่งกลายเป็นผิดซ้ำผิดซ้อน.......

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=356116551256365&id=100005740689770

หลังจากที่เราชี้ข้อผิดพลาดในการอ้างหลักฐานเรื่องโต๊ะจีน โดยหนึ่งในข้อผิดพลาดคือการนำเอาหลักฐานเรื่องซื้อมาครอบเรื่องสั่ง ทั้งๆที่ทั้งสองอย่างนี้มีกฏเกณฑ์ เงื่อนไข และฮุก่มที่ต่างกัน

และนี่คือคำพูดของเราที่กล่าวมาโดยตลอดอย่างเสมอต้นเสมอปลายว่า

“หลักฐานจากฮะดีษและอิจมาอ์ ที่ท่านนำมาอ้าง คือหลักฐานที่กล่าวถึงเรื่อง การซื้ออาหารมาแล้วนำไปขายต่อ แต่การจัดโต๊ะจีนนั้นไม่ใช่การซื้อหารอาหารมา แต่เป็นการสั่งทำอาหาร และทั้งสองอย่างนี้มีองค์ประกอบ เงื่อนไขและฮุก่มที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงกล่าวว่า ท่านเอาหลักฐานมาอ้างผิดเรื่องผิดประเด็น”

แต่มีนักวิชาการบางท่านได้บิดเบือนถ้อยคำของเรา จากการที่เราพูดว่า “ซื้อกับสั่ง” จนกลายเป็น “ซื้อกับจ้าง” แล้วก็พยายามชี้แจงเพื่อให้ผู้คนได้เห็นว่าเราอ้างผิดและโกหก โดยเขากล่าวว่า

“หากเขาอ้างการ “จ้าง” เขาก็โกหกเอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว มันไม่ใช่แค่จ้างเพราะเขาอ้างตลอดเวลาว่าข้อตกลงระหว่างเขากับผู้รับเหมาทำ โต๊ะจีนคือ “อัลอิศติศนาอฺ” ที่แปลว่า “ว่าจ้างเหมาทำของ” ส่วนคำว่า “จ้าง” ต้องใช้คำว่า “อัลอิญาเราะห์” หากอ้างลอยๆ อย่างนี้โกหกอีกรอบหนึ่ง หรือเป็นการหลอกชาวบ้านที่ตามไม่ทัน”

อะไรหนอที่ทำให้ผู้รู้ของเราเป็นไปได้ขนาดนี้

นอกจากบิดเบือนถ้อยคำของเราแล้วยังกล่าวหาว่าเราโกหกอีก นอกจากนั้นยังพยายามหยิบโยงข้อความให้ดูน่าเชื่อถือโดยกล่าวว่า

“ความแตกต่างระหว่าง “ว่าจ้าง-อัลอิญาเราะห์” กับ “ว่าจ้างเหมาทำของ อัลอิศติศนาอฺ” คือ ว่าจ้าง มีเพียงค่าจ้างไม่มีค่าของ แต่ว่าจ้างเหมาทำของ มีค่าจ้างด้วยและค่าของด้วย และที่สำคัญยังเป็นข้อตกลงลักษณะล่วงหน้า ดังนั้นอย่านำมาปนกันจนมั่วไปหมด โดยอ้างว่าคนอื่นมั่ว ที่แท้คนมั่วคือตัวเอง”

ดูเอาเถิดว่าเขาทำอย่างไร เราพูดถึงเรื่องซื้อกับสั่ง แต่เขาบิดเบือนถ้อยคำเรากลายเป็น “ซื้อกับจ้าง” กล่าวหาว่าเราโกหกยังไม่พอ ยังลากเรื่องที่เราไม่กล่าวถึงมาโยงใยแล้วยัดเยียดข้อหาว่าเรามั่วอีกต่างหาก

คำว่าจ้างอาจจะหมายถึงการจ้างค่าแรงอย่างเดียวหรืออาจจะหมายถึงการจ้างเหมา ทั้งค่าของและค่าแรงด้วยก็ได้ แต่เราก็ใช้ว่า “สั่ง” เพื่อให้กระชับรัดกุมและเข้าใจได้ง่าย แต่ก็ยังไม่วายบิดเบือนคำของเราและใส่ความเรา ยัดเยียดข้อหาให้แก่เรา

ตั้งแต่ที่เราพูดอธิบายข้อเท็จจริงของโต๊ะจีนมานี้ เราโดนกล่าวหาว่าโกหกมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่เราก็ไม่คิดอะไรมากมายเพราะเข้าใจว่า ผู้ที่กล่าวหาเราคือผู้ที่ไม่รู้ แต่ตอนนี้ผู้รู้กลับบิดเบือน โกหกใส่ร้ายเราซึ่งหน้าเสียเอง จนเราไม่รู้จะหาถ้อยคำใดๆ มากล่าวแล้ว ช่วยขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ให้เขาละกันว่า “ขออัลลอฮ์ทรงอภัยและเปิดใจเขาด้วยเถิด

การบิดเบือนถ้อยคำของเรานั้นก็ยังพอทำเนา แต่การบิดเบือนและเปลี่ยนฮุก่มศาสนานั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่น่าให้อภัย

ประการแรก ท่านเอาคำจำกัดความของ “อิสติศนาอ์” มาแสดงว่า

นิยาม ของอัลกาซานี่
تعريف الكاساني : " هو عقد على مبيع في الذمة شرط فيه العمل " (علاء الدين الكاساني . بدائع الصنائع ، ج : 5 ، صفحة : 2(
แปลว่า "คือข้อตกลงในสินค้าที่อยู่ในภาระผูกพันรับผิดชอบ โดยมีเงื่อนไขให้ทำ (สินค้านั้นขึ้น)"

นิยามของ อัสสะมัรกอนดี่
تعريف السمرقندي : " هو عقد على مبيع في الذمة وشرط عمله على الصانع (علاء الدين السمرقندي . تحفة الفقهاء ، ج 2 صفحة : 326 .)
แปลว่า "คือข้อตกลงในสินค้าที่อยู่ในภาระผูกพันรับผิดชอบ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ทำ (ทำสินค้านั้นขี้น)"

นิยามของ เชคบักรฺ อะบูซัยดฺ
" عقد على مبيع في الذمة شرط فيه العمل على وجه مخصوص بثمن معلوم " (بحث عقد الاستصناع : ص /5 )
แปลว่า "คือข้อตกลงในสินค้าที่อยู่ในภาระผูกพันรับผิดชอบ โดยมีเงื่อนไขให้ทำ (สินค้านั้นขึ้น) ในลักษณะเฉพาะ ด้วยราคาที่ชัดเจน "

หลังจากที่ท่านเอาคำจำกัดความมาแสดงข้างต้นแล้ว ท่านก็พยามอธิยายชักลากให้คำว่า สั่ง มีความเดียวกับคำว่า “ซื้อ” โดยกล่าวว่า

“จะเห็นได้ว่าคำอธิบายของปราชญ์ ไม่ยุคก่อนหรือยุคหลังต่างไกล้เคียงกันในประเด็นสัญญา "อัลอิศติศนาอฺ" หรืกการว่าจ้างรับเหมาทำของนั้น แท้จริงแล้วไม่แตกต่างกับการซื้อขาย เพราะมีตัวสินค้าเป็นประเด็นหลัก หากดูตามคำศัพท์แล้วคำว่า "มะเบี๊ยอฺ" แปลตรงตัวว่า "สิ่งที่จะซื้อขายกัน" ฉะนั้นการทึกทักเอาเองว่า เนื่อความในฮะดีษไม่เกี่ยวข้องกับตนทำ เพราะฮะดีษระบุว่า "สิ่งที่ซื้อมา" จึงเป็นการบิดเบือนเนื้อหาของฮะดีษ โดยอาศัยถ้วยความที่ปรากฏเท่านั้น ไม่ได้ดูที่เนื้อหาว่าครอบคลุมสิ่งใด นี่แหละเรียกว่าแปลเอาเอง และเบี่ยงประเด็นเรื่องอาหารที่ซื้อมาและยังมิได้ครอบครองหรือรับผิดชอบตาม ตัวบท แล้วนำไปขายต่อเอากำไร น่าเศร้าใจจริงๆ กับการกระทำเช่นนี้”

เมื่อได้อ่านข้อความของท่านแล้วก็รู้สึกฉงนไม่น้อยว่า มีข้อความใดเล่าที่บอกว่า การสั่งผลิตสินค้าคือการซื้อสินค้า นอกจากท่านเอาคำว่า مبيع ที่แปลว่า “สินค้า” ในคำจำกัดความข้างต้นนี้มาตีความ ทั้งๆที่คำจำกัดความที่ยกมานั้นระบุชัดเจนว่า “อิสติศนาอ์” หรือการสั่งผลิตมีเงื่อนไขที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตในลักษณะเฉพาะ อย่างนี้แหละที่ทำให้คำจำกัดความของ อิสติศนาอ์ ต่างจากการซื้อโดยทั่วไป

ท่านไม่เข้าใจหรือว่า مبيع ที่แปลว่า “สินค้า” นั้นในกรณีนี้นั้นมันไม่ได้เป็นสิ่งที่มีมาก่อนการสั่งผลิตแต่มันคือผลจาก การสั่งผลิต ท่านตกม้าตายก่อนที่จะหยิบเอาคำนี้ไปลากโยงตีความแล้ว

ที่จริงเราเคยอธิบายและตอบคำถามในเรื่อง ซื้อกับสั่ง และนำเอาคำฟัตวาของคณะกรรมการวิจฉัยปัญหาด้านฟิกฮ์มาแสดงกำกับเพื่อชี้ให้ เห็นถึงกฏเกณฑ์ เงื่อนไขและฮุก่มของทั้งสองที่แตกต่างกัน ซึ่งเราคงไม่ต้องอธิบายซ้ำอีก แต่หากท่านต้องการทราบรายละเอียด กฏเกณฑ์ เงื่อนไขและฮุก่มที่ต่างกันแล้ว กรุณาอ่านคำตอบของเราตามลิงค์ที่แนบมานี้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=353860714815282&id=100005740689770

นอกจากความพยายามตีความให้การสั่งเป็นการซื้อแล้ว ท่านยังพยายามที่จะเอา “อัลอิสติศนาอ์” ที่หมายถึงการสั่งผลิตสินค้า” มาลากโยงกับ “ซะลัม” ที่หมายถึงการซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า การสั่งผลิตก็คือการซื้อเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อกลบความผิดพลาดของตนเองในการยกฮะดีษและอิจมาอ์เรื่องซื้อมาสวม เรื่องสั่งดังนี้

“หนึ่ง ปวงปราชญ์ส่วนใหญ่เห็นว่า "การว่าจ้างรับเหมาทำของ" เป็นส่วนหนึ่งของ "ซะลัม" หรือการซื้อขายล่วงหน้า ดังนั้นต้องใช้เงื่อนไขเดียวกับการซื้อขายล่วงหน้า (เช่น ต้องจ่ายเงิน ณ ขณะทำข้อตกลงหรือสัญญา "อัลอิศติศนาอฺ เว้นไว้เล็กน้อยก็ไม่ได้ เพราะจะเข้าข้อห้าม "บัยอุลกาลิอฺ บิลกาลิอฺ-ซื้อลมขายลม")

يرى جمهور العلماء من المالكية والشافعية والحنابلة : أن الاستصناع ملحق بالسلم ؛ فيشترط فيه ما يشترط في السلم (بحث عقد الاستصناع : بكر أبوزيد ص 14)

สอง มีเพียงปราชญ์ในมัซฮับฮะนะฟีเท่านั้นที่เห็นว่า "อัลอิศติศนาอฺ หรือ การว่าจ้างรับเหมาทำของ" เป็นสัญญาเอกเทศที่มีความเป็นพิเศษเป็นของตัวเอง แต่ก็ยังยืนยันเรื่องมีสินค้าเป็นองค์ประกอบสำคัญในธุรกรรมเช่นกัน

وأما الأحناف : فيرون أن الاستصناع عقد مستقل بذاته وله خصائصه وأحكامه (بحث عقد الاستصناع : بكر أبوزيد ص 14)”

เราถามว่า มีคำของนักวิชาการท่านใดหรือที่บอกว่า “อัลอิสติศนาอ์” เหมือนกับ “ซะลัม” ทุกกรณีและอยู่ในฮุก่มเดียวกัน หากท่านยังจำแนกส่วนที่เหมือนกับส่วนที่ต่างไม่ออกก็น่าเศร้าใจยิ่งนัก

อีกทั้งข้อความที่ท่านกล่าวเองว่า “เป็นส่วนหนึ่งของ "ซะลัม" คำพูดนี้ก็พันคอตัวเองแล้ว คือส่วนหนึ่งที่เหมือนกันไม่ใช่เหมือนทั้งหมด จนกระทั่งอยู่ในฮุก่มเดียวกัน

ข้อความของ ญุมฮูรุ้ลอุลามาอ์ที่ท่านนำมาแสดงก็ไม่ได้ยืนยันตามที่ท่านลากโยงเลย และประโยคที่ว่า

أن الاستصناع ملحق بالسلم ؛ فيشترط فيه ما يشترط في السلم

“แท้จริง อับอิสติศนาอ์ผนวกไว้ด้วยซะลัม โดยมีเงื่อนไขเเดียวกับที่มีในสะลัม”

เมื่อเราเจาะรายละเอียดก็พบว่า ทั้ง “อิสติศนาอ์” และ “ซะลัม” มีความเหมือนและมีความต่างกันในตัว เมื่ออุลามาอ์เขาพูดในประเด็นที่เหมือนท่านก็เอามาอ้างแบบรวบรัด แต่ไม่แสดงความต่างของทั้งสองที่อุลามาอ์เขาพูดถึงดังนี้

ประการที่ 1 การกำหนดเวลาส่งมอบสินค้า ในกรณีนักวิชาการในสายฮานาฟีระบุว่า อัลอิสติศนาอ์ นั้นไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการส่งมอบ เพราะถ้ากำหนดก็จะกลายเป็น ซะลัม ไปทันที ขณะที่คณะกรรมการวิจฉัยปัญหาด้านฟิกฮ์ ไม่ได้ชี้ความต่างของทั้งสองในเรื่องกำหนดระยะเวลาส่งมอบ ดั่งลิงค์ข้างต้นที่เราแนบมาให้

ประการที่ 2 ความต่างของ อัลอิสติสนาอ์ กับ ซะลัม คือการชำระเงิน กล่าวคือ ถ้าเป็น “ซะลัม” หรือการซื้อขายล่วงหน้าต้องชำระเงินทั้งหมดเมื่อทำสัญญา แต่ “อัลอิสติศนาอ์” สามารถชำระเงินบางส่วน หรือทยอยจ่ายเป็นงวด หรือชำระทีเดียวทั้งหมดหลังจากรับสินค้าก็ได้

http://www.fiqhacademy.org.sa/qrarat/7-3.htm

เพราะฉะนั้น อิลติศนาอ์ กับ ซะลัม มีความเหมือนและความต่างอยู่ในตัว แต่ท่านกลับพูดถึงความเหมือนโดยไม่พูดถึงความต่างของทั้งสองเลย เพราะเหตุใด หรือต้องการที่จะบอกว่ามันเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้วไม่ว่าวิธีการ กฏเกณฑ์ เงื่อนไขและอยู่ในฮุก่มเดียวกัน เพื่อเอาไปยืนยันว่า “ซื้อ” กับ “สั่ง” เหมือนกันกระนั้นหรือ และนี่ก็คืออีกมุมหนึ่งที่สภาวินิจฉัยปัญหาฟิกฮ์ได้กล่าวไว้

أن الصحيح في تكييف عقد الاستصناع أنه عقد مستقل ، ليس بيعاً ، ولا إجارة ، ولا سلماً -كما قدمنا- وهذا هو رأي مجمع الفقه الإسلامي

“ที่ถูกต้องของสัญญา อัลอิสติศนาอ์ ก็คือ มันเป็นสัญญาเอกเทศ ไม่ใช่การซื้อขาย ไม่ใช่การจ้างค่าแรง และไม่ใช่ ซะลัม (การซื้อขายล่วงหน้า) ดังที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และนี่คือมุมมองของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาฟิกฮ์อิสลาม”

http://fatwa.islamweb.net/fatwa/index.php?page=showfatwa&Option=FatwaId&Id=11224

ที่เรากล่าวติติงและตั้งคำถามว่า “เพราะเหตุใดท่านจึงเอาหลักฐานเรื่องซื้อไปครอบเรื่องสั่ง ทั้งๆที่ทั้งสองนี้มี กฏเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขต่างกัน” มันก็ยังคงเป็นคำถามที่ท่านพยามจะตอบ แต่วิธีการของท่านก็คืออธิบายชักลากตีความ หว่านล้อม บิดเบือนแล้วนำไปสู่การเปลี่ยนฮุก่มของศาสนา

ท่านบิดเบือนคำของเรา กล่าวหาเรา ใส่ร้ายยัดเยียดข้อหาให้แก่เรา และฮุก่มเราก็ยังพอทำเนา แต่ท่านบิดเบือนและเปลี่ยนฮุก่มศาสนานี้เป็นสิ่งที่อัปยศสิ้นดี

หยุดเถอะ ยิ่งดิ้นยิ่งจม ยิ่งสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้น