คำถามที่ 15
นี่เป็นคำถามสุดท้ายที่พี่น้องทางบ้านหลายรายสอบถามกันเข้ามา
รูปแบบการจัดโต๊ะจีนของอาจารย์เป็นอย่างไร
อาจารคิดว่าโต๊ะจีนของอาจารใช้ธุรกรรมแบบใด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=356857301182290&id=100005740689770&substory_index=0
คำตอบ
ขอคุยสักนิดหนึ่งก่อนว่า ปกติแล้วผมไม่เคยย่อท้อหรือหวาดหวั่นต่อการเผชิญหน้ากับกลุ่มบิดเบือนและ ทำลายอิสลามเลย และได้เคยพูดไว้ว่า “ถ้าจะต้องสู้กับคนที่บิดเบือนทำลายศาสนาแม้ต้องคลานก็จะไป”
แต่กรณีของโต๊ะจีนนี้ ผมไม่เคยมองผู้เห็นต่างว่าเป็นศัตรูแต่อย่างใด แต่เรามองว่าเขาคือผู้หนึ่งที่ร่วมอุดมการณ์ในการปกป้องอัลอิสลาม แต่เขาอาจจะเข้าใจผิด ดังนั้นที่ผ่านมา เราจึงไม่ใช้วิธีหักโค่นให้เขาเกิดความเสียหาย แต่เราใช้วิธีนำเสนอเป็นขั้นเป็นตอน แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพื่อให้ผู้เห็นต่างได้คิดและทบทวน อีกทั้งพยามที่จะตักเตือนและชี้แนะ เช่นที่เราได้กล่าวแก่อาจารย์บางท่านที่เข้ามาโพ้สที่หน้าเฟสของเราว่า “อาจารย์เป็นผู้มีความรู้ ต้องละเอียดรอบคอบ อย่ารีบวางฮุก่ม” อย่างนี้เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วเรายังหาวิธีประนีประนอม ด้วยการเสนอให้นัดพูดคุยทำความเข้าใจกัน แม้กระทั่งข้อเสนอแนะของพี่น้องหลายท่านว่า ให้จัดประชุมนักวิชาการชาวซุนนะห์เพื่อหาข้อสรุป ซึ่งเราเองก็น้อมรับทุกข้อเสนอโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้รู้ครูอาจารย์ที่สงสัยส่งคำถามเข้ามาเพื่อที่เรา จะได้ชี้แจงให้เข้าใจกัน แต่ก็ไม่มีผู้รู้ท่านใดสอบถามเข้ามา
แม้เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ปัญหามันคลี่คลาย แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับด้านใดเลย และเมื่อเราทำจนสุดความสามารถของเราแล้วก็ต้องมอบหมายต่ออัลลอฮ์
ยังดีว่า เมื่อเราเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สอบถามปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับโต๊ะจีน ก็มีพี่น้องหลายท่านสนใจสอบถามเข้ามา และไม่ว่าผู้ถามจะถามด้วยเจตนาอะไร เราก็ตอบให้ครบถ้วนตามที่ได้รับปากไว้ และเราได้ทำตามอะมานะห์จนกระทั่งมาถึงคำถามสุดท้ายในวันนี้ อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์
ความจริงแล้วคำถามนี้ เราเคยตอบและอธิบายไปไม่รู้กี่ครั้งกี่หน แต่อาจจะเป็นไปได้ว่า บางท่านไม่ได้อ่านหรืออ่านแต่ไม่เข้าใจ ถ้าเป็นในกรณีหลัง เราคงต้องโทษตัวเองที่ไม่สามารถเขียนข้อความให้พี่น้องอ่านเข้าใจได้ แต่เราเชื่อว่า คนที่เป็นผู้รู้ครูอาจารย์เขาเข้าใจอยู่แล้ว หากเขาเปิดตำราอ่านสักนิด ตามที่เราได้ชี้แนะไว้ในหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา
เรายืนยันมาโดยตลอดว่า การจัดโต๊ะจีนนั้นไม่ใช่ ธุรกรรม 3 ฝ่าย แต่เป็น 2 ฝ่าย 2 สัญญาที่เรียกว่า “อัลมุวาซีย์” ซึ่งไม่ใช่ธุรกรรมแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน และเราเคยกล่าวไว้หลายครั้งว่า มันมีมาตั้งแต่ในยุคสะลัฟแล้ว ซึ่งเรายืนยันคำพูดของเราดังนี้
أما السلم الموازي فهو أن يبرم العاقد صفقة شراء بالسلم، ثم يبرم صفقة بيع بالسلم دون ربط بينهما، ويعزم على أن ينفذ الصفقة الثانية مما يتسلمه من الصفقة الأولى، يقول فضيلة الدكتور علي السالوس: أما السلم الموازي فهو جائز، ففيه عقدان منفصلان، وهو ليس من مبتكرات المعاصرين كما يظن الكثيرون، فإن الإمام الشافعي ذكره حيث قال: من سلف في طعام ثم باع ذلك الطعام بعينه قبل أن يقبضه لم يجز، وإن باع طعاماً بصفة ونوى أن يقبضه من ذلك الطعام فلا بأس
“ส่วนการซื้อขายล่วงหน้าแบบคู่ขนานนั้น คือการที่ผู้ทำสัญญาได้ตกลงทำสัญญาซื้อแบบซะลัม ต่อมาเขาก็ทำสัญญาขายแบบซะลัมอีกสัญญาหนึ่ง โดยสองสัญญานี้ไม่มีความเกี่ยวพันธ์ใดๆต่อกัน และเขาก็มั่นใจว่าจะทำให้สัญญาที่สองนี้สัมฤทธิ์ผลลุล่วงได้จากสิ่งที่เขา ได้รับมาจากสัญญาแรก
ดร.อาลี อัสซาลูส ได้กล่าวว่า : ส่วนการซื้อขายล่วงหน้าแบบสัญญาคู่ขนานนั้นเป็นที่อนุญาต ทั้งนี้เพราะในนิติกรรมสัญญาทั้งสองนั้นแยกจากกันโดยสิ้นเชิง และมันไม่ใช่การคิดริเริ่มของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน เหมือนกับที่หลายคนเข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะท่านอิหม่ามชาฟีอี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยท่านกล่าวว่า : ผู้ใดซื้ออาหารล่วงหน้าแล้วเขาก็ขายอาหารนั้นเลยก่อนที่เขาจะครอบครองอาหาร นั้นไม่เป็นที่อนุญาต แต่หากเขาขายอาหารนั้นด้วยลักษณะ (อีกสัญญาหนึ่ง) และเขาแน่ใจว่าจะได้รับอาหารนั้นมาครอบครองอย่างแน่นอน เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดแต่อย่างใด”
http://fatwa.islamweb.net/fatwa/printfatwa.php?Id=97413&lang=A
ดูคำชี้แจงของอิหม่ามชาฟีอีเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหนังสือ “อัลอุม” หรือตามไฟล์รูปที่ได้แนบมานี้
อย่างนี้แหละที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การซื้อขายแบบสัญญาคู่ขนานนี้มันเป็นวิธีที่ชาวสะลัฟได้แนะนำ คือท่านอิหม่ามชาฟีอี รอฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ท่านเกิดในปีที่ 150 ตายในปีที่ 204 ท่านเป็นชาวสะลัฟโดยแท้จริง
แม้เราจะชี้แนะข้อเท็จจริงและแนวทางของชาวสะลัฟให้ได้ทราบ แต่ผู้ประกาศตนว่ายึดถือในแนวทางสะลัฟบางคนก็ไม่เคยใส่ใจ แต่ยังคงวนเวียนอยู่กับสมติฐาน 3 ฝ่ายที่เป็นเท็จแล้วก็เอาหลักฐานมาครอบผิดเหมือนเดิม
อัลมุวาซีย์คือธุรกรรมสองฝ่ายสองสัญญาดังนี้
สัญญาที่ 1 ระหว่างผู้สั่งทำอาหารกับผู้รับทำอาหาร
สัญญาที่ 2 ระหว่างผู้สั่งอาหารกับผู้ซื้ออาหาร
วิธีการนับฝ่าย
ดั่งที่แสดงให้เห็นข้างต้นนี้คือวิธีการจำแนกเป็นฝ่าย ไม่ใช่จำแนกตามจำนวนคนดั่งเช่นที่บางคนเข้าใจว่า 3 คน ก็ 3 ฝ่าย หรือ 4 คนก็ 4 ฝ่าย เราจึงต้องย้ำว่าไม่ใช่จำแนกตามจำนวนคนแต่จำแนกเป็นฝ่าย ส่วนจะฝ่ายละกี่คนนั้นก็มิได้มีข้อจำกัด บางท่านอาจจะงงว่า ถ้า 3 คนจะจำแนกเป็น 2 ฝ่ายทำอย่างไร
หากท่านได้อ่านคำชี้แจงของนักวิชาการที่เราแสดงไว้ก่อนหน้านี้แล้วท่านก็ได้ รับความเข้าใจแล้วว่า คนหนึ่งเป็นผู้สั่งทำอาหารในสัญญาหนึ่ง และเขาก็เป็นผู้ขายอาหารในอีกสัญญาหนึ่งด้วยดังนี้
فهو أن يبرم العاقد صفقة شراء بالسلم، ثم يبرم صفقة بيع بالسلم دون ربط بينهما
“ผู้ทำสัญญาได้ตกลงทำสัญญาซื้อแบบซะลัม ต่อมาเขาก็ทำสัญญาขายแบบซะลัมอีกสัญญาหนึ่ง โดยสองสัญญานี้ไม่มีความเกี่ยวพันธ์ใดๆต่อกัน”
เงื่อนไขสำคัญของอัลมุวาซีย์
สิ่งสำคัญที่จะต้องเน้นย้ำ ณ ที่นี้ก็คือ عقدان منفصلان คือสองสัญญาจะต้องแยกกันเด็ดขาด دون ربط بينهما โดยทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันและไม่มีความผูกพันใดๆ ต่อกัน
ดังนั้นเมื่อท่านจะกล่าวถึงสัญญาหนึ่งก็ต้องเก็บอีกสัญญาหนึ่งไว้ก่อน อย่าเอามาปะปนกัน เพราะถ้าเอามาปนกันเมื่อไหร่ มันจะไม่ใช่รูปแบบ อัลมุวาซีย์ และจะทำให้ท่านมึนงงต่อการเข้าใจปัญหาและการนำหลักฐานมาอ้างอิง
รูปแบบของอัลมุวาซีย์
ท่านได้ทราบแล้วว่า “อัลมุวาซีย์” คือธุกรรม 2 ฝ่าย 2 สัญญา แต่รายละเอียดของสัญญาทั้งสองนั้นไม่ได้มีเงื่อนไขเจาะจงว่าจะต้องเหมือน หรือต่างกัน ดั่งรูปแบบที่จะแสดงให้เห็นดังนี้
แบบที่ 1
สัญญาที่ 1 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
สัญญาที่ 2 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
แบบที่ 2
สัญญาที่ 1 เป็น “ซะลัม” (ซื้อขายล่วงหน้า)
สัญญาที่ 2 เป็น “ซะลัม (ซื้อขายล่วงหน้า)
แบบที่ 3
สัญญาที่ 1 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
สัญญาที่ 2 เป็น “ซะลัม” (ซื้อขายล่วงหน้า)
แบบที่ 4
สัญญาที่ 1 เป็น “ซะลัม” (ซื้อขายล่วงหน้า)
สัญญาที่ 2 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
แบบที่ 5
สัญญาที่ 1 เป็น “ซะลัม” (ซื้อขายล่วงหน้า)
สัญญาที่ 2 เป็นการซื้อสดขายสด
แบบที่ 6
สัญญาที่ 1 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
สัญญาที่ 2 เป็นการซื้อสดขายสด
เนื่องจากไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าทั้งสองสัญญานี้จะต้องเหมือนกันหรือต่าง เพียงแต่สองสัญญานี้จะต้องแยกจากกัน ไม่เกี่ยวข้องกันและไม่มีความผูกพันใดๆต่อกันดังที่ท่านได้อ่านแล้ว
ดังนั้นหากใครต้องการจัดโต๊ะจีนลักษณะ “อัลมุวาซีย์” ในรูปแบบใดก็เชิญตามสะดวก แต่ควรคำนึงถึงกฏเกณฑ์ของธุรกรรมแต่ละประเภทด้วย
เมื่อหลายท่าน ถามว่า “รูปแบบการจัดโต๊ะจีนของอาจารย์เป็นอย่างไร” หรือ “อาจารคิดว่าโต๊ะจีนของอาจารย์ใช้ธุรกรรมแบบใด” เราก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า ไม่ใช่ธุรกรรม 3 ฝ่ายอย่างที่มีบางท่านมโนกันไปเอง แต่เป็น “อุลมุวาซีย” ธุรกรรม 2 ฝ่าย 2 สัญญา ซึ่งเราชี้แนะไว้ก่อนหน้านี้เนิ่นนาน ทั้งในบทความ การตอบคำถามและคำบรรยาย แต่หากท่านอยากจะให้เจาะจงแจงให้ละเอียดกว่านี้อีกเราก็จะอธิบายให้ฟังว่า
การจัดโต๊ะจีนของโรงเรียนอนุรักษ์มรดกอิสลามที่ผ่านมานั้นโดยรวมแล้วคือ
สัญญาที่ 1 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
สัญญาที่ 2 เป็นการซื้อสดขายสด
ที่เรากล่าวว่าโดยรวมนั้นเนื่องจากผู้ร่วมงานกับเราจำนวน 3,000 กว่าซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการซื้อสดขายสด ดั่งที่บอกมาหลายครั้งหลายหน แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยที่ชำระเงินทั้งหมดก่อนงานซึ่งอยู่ในรูปแบบดังนี้
สัญญาที่ 1 เป็น “อิสติศนาอ์” (สั่งทำ)
สัญญาที่ 2 เป็น “ซะลัม” (ซื้อขายล่วงหน้า)
หากจะมีบางคนติดเนื้อต้องใจว่า ในสัญญาที่สองที่เป็นซะลัมนั้นจะต้องระบุ ชนิด ประเภท กำหนดส่งมอบด้วย ซึ่งเรื่องนี้เราก็ไม่ได้ปล่อยปะละเลยแต่มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วคือ
ประเภทคือ อาหารโต๊ะจีน
ราคา 3,000.- บาท
กำหนดวันคือ วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558
เวลา 18. 00 – 22.000 น.
สถานที่ บริเวณลานของที่ตั้งมูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ส่วนเรื่องชนิดอาหารนั้น เราใช้วิธีแจ้งทางโทรศัพท์ โดยอาจารย์อับดุลลอฮ์ สุไลหมัด แต่เราก็เกรงว่าจะไม่ทั่วถึงจึงให้ทีมงานช่วยบอกกล่าวว่าให้มาชำระที่หน้า งาน แต่วิธีนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
บางท่านอาจจะติดออกติดใจอีกว่า แล้ว “อัลมุวาอะดะห์” กับ “อัลคิยาร” ที่เราอธิบายไว้ก่อนหน้านี้มันอยู่ส่วนไหนของรูปแบบที่เราทำ ซึ่งโดยความจริงแล้วเราก็อธิบายไม่รู้กี่ครั้งกี่หนว่าทั้งสองนี้ไม่ใช่รูป แบบการค้าแต่มันเป็นวิธีการเท่านั้น
เราไม่แปลกใจหรอกหากคนทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานจะงุนงง แต่เราแปลกใจที่ผู้รู้บางคนที่ไม่เข้าใจและแยกแยะไม่ออกระหว่างรูปแบบกับ วิธีการ จึงนำไปกล่าวกันว่า “ธุรกรรมอะไรเป็นได้หลายอย่าง” ซึ่งเราได้อธิบายเรื่องนี้มามากแล้ว แต่จะขอสรุปให้ทราบอีกครั้งดังนี้
เราได้ออกการ์ดเชิญของเราซึ่งมันคือ “อัลมุวาอะดะห์” คือการเชิญหรือการนัดแนะกันเพื่อทำการซื้อขายในวันและเวลาที่กำหนด อัลมุวาอะดะห์ มันคือ วะอ์ดุน (ข้อตกลงเบื้องแรกก่อนการซื้อขาย) ไม่ใช่ อักดุน (สัญญาในการซื้อขาย)
ในงานเราได้ประกาศบนเวทีด้วยตัวของเราเองว่า “ผู้ใดไม่พอใจจะขอคืนเงินเราก็ยินดี ติดต่อได้ที่ฝ่ายการเงินหน้างาน” อย่างนี้เรียกว่า “อัลคิยาร” คือการให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการตัดสินใจ และเป็นหนึ่งในวิธีที่บรรดาศอฮาบะห์ได้ทำการซื้อขายกัน คือเป็นวิธีการที่จะทำให้การซื้อบขายบริสุทธิ์โดยปราศจาก “ฆ่อร๊อร”
แต่เมื่อท่านไปเข้าใจว่าทั้งสองนี้คือประเภทหนึ่งของการซื้อขายแล้วก็เอาไป ยำรวมกัน แล้วกู่ก้องร้องตะโกนว่า “ธุรกรรมอะไรเป็นได้หลายอย่าง”
ก็ท่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดเอง แล้วไปสร้างความมึนงงให้ชาวบ้านอีกต่างหาก
เราได้แนะไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า “อัลุมวาซีย์” คือธุรกรรมสองฝ่ายสองสัญญาที่ชาวสะลัฟได้แนะนำ แต่ผู้ที่ประกาศยึดแนวทางซะลัฟบางคนก็ไม่เห็นจะใส่ใจศึกษาเรียนรู้ทำความ เข้าใจ ยังคงวางเฉยและปล่อยผ่าน แต่กลับไปยึดเอาสมมติฐาน 3 ฝ่ายที่เป็นเท็จไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งๆที่มันไม่ใช่ข้อเท็จจริงของโต๊ะจีนเลยแม้แต่น้อย
แต่ที่เขียนชี้แจงมานี้ก็อย่าได้มีผู้ใดเอาไปกล่าวว่า นี้คือ “โต๊ะจีนแบบสะลัฟ” เดี๋ยวจะเป็นประเด็นและตั้งคำถามขึ้นมาอีกว่า “ชาวสะลัฟเขาจัดโต๊ะจีนด้วยหรือ” ซึ่งเราจะไม่กล่าวเช่นนั้น แต่เราจะกล่าวว่า วิธีการของมันนั้นคือวิธีการที่ชาวสะลัฟได้แนะนำ
แต่ท่านจะใส่ใจเรียนรู้หรือไม่ก็อยู่ที่ตัวท่าน เราได้ทำหน้าที่ชี้แจงมาโดยละเอียดแล้ว และหากจะมีผู้ใดหาแง่หามุมเพื่อทำให้เราเป็นผู้กระทำผิด กล่าวหา ใส่ร้าย บิดเบือนข้อเท็จจริง ออกฮุก่มตัดสินเรา ท่านก็ต้องรับผลจากคำพูดและการกระทำของท่านเองทั้งหมด ทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
ขออัลลอฮ์ทรงเป็นพยาน