อัลมุวาซีย์ ธุรกรรมคู่ขนานที่บางท่านเข้าใจผิด
มีพี่น้องส่งข้อความมาให้เราช่วยชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรดังนี้
ومثال ذلك أن يأتي مزارع إلى المصرف الإسلامي ويطلب بيعه محصوله من الزيتون ويحددا تاريخاً لتسلم الزيتون ويدفع المصرف الثمن للمزارع، ويقوم المصرف بالتعاقد مع طرفٍ آخر لبيعه كمية الزيتون بتاريخ آخر متفق عليه، ويتم ذلك من خلال عقدين منفصلين.
ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรคนหนึ่งได้ไปที่ธนาคารอิสลามและเสนอขายผลิตผลทางการเกษตรของซึ่งเป็น มะกอก และ(หลังจากตกลงทำสัญญาแล้ว)ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดวันเพื่อส่งมอบมะกอกกันและ ธนาคารได้จ่ายเงินราคาของมะกอกให้กับเกษตรกรผู้นั้นเป็นที่เรียบร้อย. จากนั้นธนาคารก็ไปทำสัญญากับ อีกฝ่ายอื่นอีกสัญญาหนึ่งเพื่อขายมะกอกให้กับเขาในวันอื่นอีกวันหนึ่ง(คนละ วันกันกับที่ระบุในสัญญาแรกโดยที่ผู้ซื้อได้จ่ายราคามะกอกให้กับธนาคารครบ ถ้วนเช่นกัน.) ดังกล่าวข้างต้นการซื้อขายล่วงหน้าแบบคู่ขนานถือว่าเสร็จสมบรูณ์ด้วยสอง สัญญาที่แยกจากกันโดยเด็ดขาด.
1- การแยกสัญญาให้แยกกันเด็ดขาดคือ การรับสินค้าตามสัญญาแรกต้องคนละวันกับการส่งมอบสินค้าในสัญญาที่สอง .
2- เช่นนี้การส่งมอบอาหารโต๊ะจีนในวัน เวลาเดียวกันทั้งสองสัญญา แสดงว่าสองสัญญานั้นเชื่อมโยงกันและไม่ได้แยกกันโดยเด็ดขาดตามเงื่อนใข.
…………………………………………………
เราเบื่อหน่ายกับการชี้แจงเรื่องโต๊ะจีนเหลือเกิน เราคิดว่ามันน่าจะจบได้แล้ว เพียงแต่ผู้รู้ของเราบางท่าน ต้องขอวงเล็บไว้ด้วยว่า (บางท่าน) ที่ยังพยายามหาหลืบหาช่องจุดประเด็นเรื่องนี้มาไม่หยุดหย่อน จะด้วยเหตุผลใดท่านผู้อ่านที่มีวิจารณญาณคงทราบดี
ดูต้นเรื่องบทความฉบับเต็มที่เขานำมาอ้างตามลิงค์ที่แนบมานี้
http://ar.islamway.net/fatwa/42989/%D8%B9%D9%82%D8%AF-%D8%A7%D9%84%D8%B3%D9%84%D9%85-%D9%88%D8%A7%D9%84%D8%B3%D9%84%D9%85-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%88%D8%A7%D8%B2%D9%8A
ความจริงแล้วข้อความที่นำมาแสดงข้างต้นนี้ชัดเจนอยู่ในตัว โดยไม่จำเป็นว่า ต้องเป็นคนที่ผ่านเมืองนอกเมืองนาหรือมีวุฒิปริญญาเท่านั้นที่สามารถเข้าใจ ได้ แม้กระทั่งนักเรียนภาษาและศาสนาในระดับซานาวีที่อ่านตำราฟิกฮ์มาบ้างก็คงจะ แยกแยะออกระหว่างคำว่า مثال (ตัวอย่าง) กับ شروط (เงื่อนไข) ได้เป็นอย่างดี
ข้อความที่หยิบฉวยมานี้เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นถึงรูป แบบบางประการของการทำสัญญาซื้อขายแบบซะลัม โดยเริ่มจากการที่เกษตรกรนำสินค้ามาขายล่วงหน้าให้แก่ธนาคารและรับเงินจาก ธนาคารเรียบร้อยตามหลักการซื้อขายแบบซะลัม และนี่คือสัญญาที่ 1 ของซะลัมอัลมุวาซีย์ (ธนาคารเป็นผู้ซื้อ)
หลังจากนั้นธนาคารก็หาลูกค้าเพื่อขายสินค้าและทำสัญญากับลูกค้าในวันอื่นซึ่งเป็นสัญญาที่สองที่ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาแรก
การจำแนกสัญญาทั้งสองนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่าจะต้องทำวันเดียวกันหรือคนละ วัน เนื่องจากข้อความที่นำมาแสดงเป็นเพียง مثال หรือตัวอย่างบางประการเท่านั้น ไม่ใช่ شروط ที่หมายถึงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขของสัญญาซะลัมอัลมุวาซีย์แต่อย่างใด ซึ่งเราได้แสดงมุมมองของนักวิชาการให้ทราบก่อนหน้านี้แล้วว่า ไม่มีกฏเกณฑ์และเงื่อนไขทางศาสนาว่า สัญญาทั้งสองของอัลมุวาซีย์จะต้องกระทำวันเดียวกันหรือคนละวันดังนี้
ولا مانع من أن يعقد العقدان في نفس الوقت , أو يتقدم أي منهما .
“ไม่เป็นที่ต้องห้ามที่จะทำสัญญาทั้งสองในเวลาเดียวกัน หรือจะทำสัญญาใดก่อนหรือหลังก็ได้”
http://ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=23614
เงื่อนไขหลักของอัลมุวาซีย์ก็คือ عقدان منفصلان แปลว่า สองสัญญาจะต้องแยกกัน دون ربط بينهما แปลว่า โดยทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันหรือไม่มีความผูกพันใดๆ ต่อกัน
คำว่าสองสัญญาต้องแยกจากกันนั้น คือ รายละเอียดของข้อสัญญาทั้งสองต้องไม่เกี่ยวพันธ์เกี่ยวกัน และไม่มีความรับผิดชอบระหว่างกัน ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าสัญญาทั้งสองต้องแยกจากกันด้วยการทำกันคนละวัน
หรือการรับมอบสินค้าในสัญญาทั้งสองนี้ก็เช่นเดียวกัน มิได้เป็น شروط หรือเงื่อนไขว่าต้องรับมอบสินค้ากันคนละวันเท่านั้นสัญญาอัลมุวาซีย์จึงจะ สมบูรณ์ ข้อย้ำว่า กรณีนี้ไม่ใช่เงื่อนไขที่ศาสนากำหนด
ทั้งๆที่ข้อความขึ้นต้นของประโยคที่นำแสดงนั้นก็ระบุชัดว่า ومثال ذلك แปลว่า “และตัวอย่างในเรื่องดังกล่าวนี้” และผู้แปลเขาก็แปลว่า “ตัวอย่าง เช่น” และยังมีตัวอย่างของการซื้อขายในรูปแบบอัลมุวาซีย์อีกมากมาย ทั้งอัสซะลัมอัลมุวาซีย์ และอัลอิสติศนาอ์อัลมุวาซีย์ แต่เราก็ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงเอา مثال (ตัวอย่าง) ไปวางเป็น شروط (เงื่อนไข) อีกทั้งข้อความในบทความต้นฉบับก็ไม่ได้ระบุกรณีนี้เป็นเงื่อนไขของ อัลมุวาซีย์ไว้เลย
ดังนั้นคำพูดที่ว่า “การแยกสัญญาให้แยกกันเด็ดขาดคือ การรับสินค้าตามสัญญาแรกต้องคนละวันกับการส่งมอบสินค้าในสัญญาที่สอง” นั้นจึงเป็นการเอา مثال (ตัวอย่าง) ไปวางเป็น شروط (เงื่อนไข) เอาเอง เป็นการทึกทักเอาเอง
เราเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การซื้อขายนั้นเป็นเรื่องมุอามาลาต จึงต้องพิจารณาว่ามีข้อห้ามไหม หากไม่มีข้อห้ามก็อย่าได้วางข้อห้ามเอาเอง และหากไม่มีกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขของศาสนาได้วางไว้ก็อย่าวางกฎเกณฑ์หรือ เงื่อนไขทางศาสนาเอาเอง
ข้อความของคำถามถัดมาคือ
وقد ورد في المعيار الشرعي رقم (10) من معايير هيئة المحاسبة والمراجعة للمؤسسات المالية الإسلامية (6-السلم الموازي
:
6/1 يجوز للمسلم إليه أن يعقد سلماً موازياً مستقلاً مع طرف ثالث للحصول على سلعة مواصفاتها مطابقة للسلعة المتعاقد على تسليمها في السلم الأول ليتمكن من الوفاء بالتزامه فيه، وفي هذه الحالة يكون البائع في السلم الأول مشترياً في السلم الثاني
.
6/2 يجوز للمسلم أن يعقد سلماً موازياً مستقلاً مع طرف ثالث لبيع سلعة مطابقة في مواصفاتها للسلعة التي اشتراها بعقد السلم الأول. وفي هذه الحالة يكون المشتري في السلم الأول بائعاً في السلم الثاني.
ข้อความที่เขานำมาอ้างนี้คือ ข้อความที่เจ้าของบทความได้คัดลอกมาจาก องค์กรการบัญชีและการตรวจสอบสำหรับสถาบันการเงินอิสลาม มีชื่อย่อว่า (AAOIFI) เป็นองค์กรที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1991 และมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศบาห์เรน
เขานำข้อความจากองค์กรการบัญชีและการตรวจสอบฯ มาอ้างตามที่ระบุในบทความแต่ก็ไม่แปลให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพียงแต่เขาหยิบฉวบเอาบางคำของข้อความมาแสดงดังนี้
เขากล่าวว่า :
"مع طرف ثالث แปลว่า ฝ่ายที่สาม แสดงว่าธุรกรรมคู่ขนานนี้ สองสัญญาสามฝ่าย ชัดเจน บิดเบือนข้อมูลทางวิชาการ เพียงเพื่อจะลบความผิดของตัวเอง นะอูซุบิลลาฮ"
ข้างต้นนี้คือข้อความบางคำที่เขาหยิบมาแสดง เพื่อยืนยันในเรื่องสามฝ่ายโดยไม่สนใจข้อความส่วนที่เหลือว่าจะเป็นเช่นใด เราว่าสังคมที่มันวุ่นวายก็เพราะมีคนจำพวกคิดเองเออเองแล้วเอาความคิดของตน เองไปฮุก่มคนอื่น นอกจากตัวเองจะเข้าใจผิดแล้วยังไปกล่าวหาว่าคนอื่นผิดอีก ขอให้เราห่างไกลจากความคิดเหล่านี้ด้วยเถิด
เราถามว่า ข้อความต้นฉบับที่ยกมาอ้างนี้มีส่วนใดบ้างที่ยืนยันว่า ฝ่ายที่ 1 ฝ่ายที่ 2 และฝ่ายที่ 3 ร่วมกันในสัญญาเดียวกัน เหมือนดั่งที่ผู้ตั้งสมติฐานนี้ได้กล่าวไว้แต่แรก ซึ่งเรากล่าวมาโดยตลอดว่า ธุรกรรม 3 ฝ่ายมันเป็นสมติฐานที่เป็นเท็จ แล้วเราก็แสดงหลักฐานยืนยันว่า ไม่มีใครในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือกาเฟรที่จัดโต๊ะจีนสามฝ่าย และท่านก็ไม่เคยแสดงหลักฐานใดๆหักล้างคำพูดของเรา
แต่เมื่อท่านมาพบคำว่า “ฝ่ายที่สาม” ในบทความเรื่องอัสซะลัมอัลมุวาซีย์ ข้างต้นท่านก็รีบหยิบฉวยเอามากล่าวอ้างว่านี่ไง “สามฝ่าย” แล้วกล่าวหาเราว่าบิดเบือนข้อมูลทางวิชาการ ช่างน่าละอายกับการกระทำของท่านจริงๆ
คำว่า طرف ثالث แปลว่า “ฝ่ายที่สาม” ที่ถูกนำมาใช้ในบทความเรื่อง “อัลมุวาซีย์” ข้างต้นนี้หมายถึงอะไร
หมายถึงสามฝ่ายร่วมกันในสัญญาเดียวกันเหมือนดั่งที่ท่านวางสมติฐานมาก่อน หน้านี้หรือ, หรือหมายถึงบุคคลที่สามในอีกสัญญาหนึ่งต่างหาก
เราขอให้ท่านพิจารณาให้รอบคอบก่อน อย่ารีบหยิบฉวยเอากรณีนี้ไปอ้างเพื่อให้สมติฐาน 3 ฝ่ายที่เป็นเท็จของท่านได้รับความชอบธรรม
เราได้กล่าวไว้ก่อนแล้วว่า อัลมุวาซีย์คือธุรกรรมสองสัญญาสองฝ่าย ซึ่งการทำสัญญานั้นไม่ได้นับจำนวนคน แต่ให้จำแนกเป็นสองฝ่าย สองสัญญา เราถามว่าในสองสัญญานี้ มีสัญญาฉบับใดบ้างที่เป็นสัญญา 3 ฝ่าย เพื่อยืนยันคำว่า “ธุรกรรม 3 ฝ่าย” ตามที่ท่านได้กล่าวมาโดยตลอด คำตอบคือ...ไม่มีเลย....ไม่มีจริงๆ
คำว่า طرف ثالث แปลว่า “ฝ่ายที่สาม” ที่ท่านนำมากล่าวอ้างนี้คือ “บุคคลที่สาม” ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อตกลงในสัญญาแรก แต่คือผู้ซื้อในสัญญาที่สอง เราจะแปลข้อความที่เขานำมาอ้างเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็น เช่นใดดังนี้
6/2 يجوز للمسلم أن يعقد سلماً موازياً مستقلاً مع طرف ثالث لبيع سلعة مطابقة في مواصفاتها للسلعة التي اشتراها بعقد السلم الأول. وفي هذه الحالة يكون المشتري في السلم الأول بائعاً في السلم الثاني.
“6/2 อนุญาตให้ผู้ซื้อสินค้าล่วงหน้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบคู่ขนานกับฝ่ายที่ สามเป็นเอกเทศ (สัญญาฉบับที่ 2) เพื่อขายสินค้าที่ตรงกับลักษณะของสินค้าซึ่งเขาได้ซื้อมันในการทำสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้าฉบับแรก และในกรณีนี้ ผู้ซื้อสินค้าล่วงหน้าในสัญญาแรกนั้นก็คือผู้ขายในสัญญาที่สอง”
อย่างนี้แหละฝ่ายที่ 3 ที่เจ้าของบทความได้นำมาแสดงซึ่งหมายถึง ผู้ซื้อสินค้าในสัญญาที่ 2 ซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาที่ 1 เลย เพราะฉะนั้นสัญญามุวาซีย์ทั้งสองฉบับจึงไม่ใช่สัญญา 3 ฝ่ายแต่อย่างใด
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อความขององค์กรการบัญชีและการตรวจสอบฯ ที่เขานำมาแสดงและไม่ได้แปลนั้นยังระบุอีกว่า
6/1 يجوز للمسلم إليه أن يعقد سلماً موازياً مستقلاً مع طرف ثالث للحصول على سلعة مواصفاتها مطابقة للسلعة المتعاقد على تسليمها في السلم الأول ليتمكن من الوفاء بالتزامه فيه، وفي هذه الحالة يكون البائع في السلم الأول مشترياً في السلم الثاني
“อนุญาตให้ผู้ขายทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบคู่ขนานกับฝ่ายที่สามเพื่อให้ เข้าถึงสินค้าตามลักษณะของมันที่ตรงกับสัญญาที่ทำกันไว้ในส่งมอบสินค้าใน สัญญาซื้อขายอันแรก เพื่อให้สัญญานั้นเป็นผลโดยสมบูรณ์โดยเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา และในกรณีนี้เท่ากับ ผู้ขายสินค้าล่วงหน้าในสัญญาแรกกลายเป็นผู้ซื้อสินค้าล่วงหน้าในสัญญาที่ สอง”
อย่างนี้แหละที่เรายืนยันมาโดยตลอดว่า การทำสัญญาอัลมุวาซีย์นั้นไม่ได้พิจารณาที่คนหรือจำนวนคนแต่ให้พิจารณาที่ ข้อสัญญาว่า สัญญาทั้งสองต้องไม่เกี่ยวข้องกันหรือมีข้อผูกพันใดๆต่อกันในความรับผิดชอบ ต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
เราหวังว่าคำตอบของเรานี้คงจะเป็นบทเรียนและให้แง่คิดแก่คนที่ใฝ่รู้และต้อง การศึกษาการทำธุรกรรมรูปแบบอัลมุวาซีย์ อย่างจริงจัง และเราขอทิ้งท้ายเหมือนเดิมว่า การซื้อขายนั้นเป็นเรื่องมุอามาลาต จึงต้องพิจารณาว่ามีข้อห้ามไหม หากไม่มีข้อห้ามก็อย่าได้วางข้อห้ามเอาเอง และหากไม่มีกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขของศาสนาได้วางไว้ก็อย่าวางกฎเกณฑ์หรือ เงื่อนไขทางศาสนาเอาเอง