อย่าวางเงื่อนไขศาสนาเอาเอง


อัล มุวาซีย์ หรือ ธุรกรรมคู่ขนานนั้น ไม่ได้เป็นธุรกรรมแปลกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่มีมาตั้งแต่ยุคสะลัฟตามที่ได้คุยกันมาก่อนหน้านี้

และอัลมุวาซีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เรื่องที่ เราเพิ่งจะนำมาพูดคุย ณ เวลานี้ หากท่านได้อ่านข้อเขียนจากบทความของเรา หรืออ่านหนังสือเรื่องโต๊ะจีนที่เราตีพิมพ์ ก็จะประจักษ์ว่า เราพูดเรื่องนี้มาก่อนหลายครั้งหลายหน แต่ก็ไม่มีผู้ใดใส่ใจ จนเราต้องแสดงคำยืนยันว่า มันเป็นรูปแบบการซื้อขายที่ชาวสะ ลัฟเช่น อิหม่ามชาฟีอีได้แนะนำ แต่ก็ยังคงวางเฉยกันอยู่ จนกระทั่งเราต้องโพ้สข้อความเรียกร้องให้ผู้ประกาศตนว่าเป็นสะลาฟีย์ หรือผู้ที่ต้องการดำเนินตามแนวทางชองชาวสะลัฟได้หันมาสนใจศึกษาเรื่องการทำ ธุรกรรมแบบ “อัลมุวาซีย์” กันอย่างจริงจัง จึงทำให้มีบางท่านเริ่มที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้บ้างตามสมควร และเราก็ชี้แนะว่า ไม่ต้องรีบร้อนค่อยๆอ่าน ค่อยๆทำความเข้าใจกันไป เนื่องจากเราเกรงว่า ความไ ม่ละเอียดรอบคอบจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด แล้วมันก็เกิดขึ้นจริงๆ

เรากล่าวย้ำหลายครั้งว่า การซื้อขายนั้นเป็นเรื่องมุอามาลาต จึงต้องพิจารณาว่ามีข้อห้ามไหม หากไม่มีข้อห้ามก็อย่าได้วางข้อห้ามเอาเอง และหากไม่มีกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขของศาสนาได้วางไว้ก็อย่าวางกฎเกณฑ์หรือ เงื่อนไขทางศาสนาเอาเอง

ตัวอย่างที่นำมาแสดงแล้วทึกทักเอาเป็นเงื่อนไขของอัลมุวาซีย์มีดังนี้

ومثال ذلك أن يأتي مزارع إلى المصرف الإسلامي ويطلب بيعه محصوله من الزيتون ويحددا تاريخاً لتسلم الزيتون ويدفع المصرف الثمن للمزارع، ويقوم المصرف بالتعاقد مع طرفٍ آخر لبيعه كمية الزيتون بتاريخ آخر متفق عليه، ويتم ذلك من خلال عقدين منفصلين.

ตัวอย่าง เช่น เกษตรกรคนหนึ่งได้ไปที่ธนาคารอิสลามและเสนอขายผลิตผลทางการเกษตรของซึ่งเป็น มะกอก และ(หลังจากตกลงทำสัญญาแล้ว)ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดวันเพื่อส่งมอบมะกอกกันและ ธนาคารได้จ่ายเงินราคาของมะกอกให้กับเกษตรกรผู้นั้นเป็นที่เรียบร้อย. จากนั้นธนาคารก็ไปทำสัญญากับ อีกฝ่ายอื่นอีกสัญญาหนึ่งเพื่อขายมะกอกให้กับเขาในวันอื่นอีกวันหนึ่ง(คนละ วันกันกับที่ระบุในสัญญาแรกโดยที่ผู้ซื้อได้จ่ายราคามะกอกให้กับธนาคารครบ ถ้วนเช่นกัน.) ดังกล่าวข้างต้นการซื้อขายล่วงหน้าแบบคู่ขนานถือว่าเสร็จสมบรูณ์ด้วยสอง สัญญาที่แยกจากกันโดยเด็ดขาด.

1- การแยกสัญญาให้แยกกันเด็ดขาดคือ การรับสินค้าตามสัญญาแรกต้องคนละวันกับการส่งมอบสินค้าในสัญญาที่สอง .
2- เช่นนี้การส่งมอบอาหารโต๊ะจีนในวัน เวลาเดียวกันทั้งสองสัญญา แสดงว่าสองสัญญานั้นเชื่อมโยงกันและไม่ได้แยกกันโดยเด็ดขาดตามเงื่อนใข

……………………………………………..

การเอาตัวอย่างวิธีปฏบัติของ อัสซะลัมอัลมุวาซีย์ บางกรณีไปวางเป็นเงื่อนไข เท่ากับเอาบางส่วนไปครอบทั้งหมด ซึ่งเป็นผลว่าการซื้อขายแบบอัลมุวาซีย์ทุกวิธีต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียว กัน อย่างนี้คือความผิดพลาดจากการทึกทักเอาเอง

คำว่า شروط หรือเงื่อนไขนั้นหมายถึง สิ่งที่จำเป็นต้องมี ถ้าไม่มีถือว่าการกระทำนั้นใช้ไม่ได้ เช่นการมีน้ำละหมาดคือเงื่อนไขของการละหมาด และ เราจะยกตัวอย่างให้เห็นดังนี้

มีคนหนึ่งละหมาดอย่างดี อ่านอย่างดี รุกัวอ์ และสุญูดอย่างดีตั้งแต่เริ่มจนจบแต่เขาไม่มีน้ำละหมาด ดังนั้นการละหมาดของเขาถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะน้ำละหมาดคือเงื่อนไขของการละหมาดนั่นเอง

หากท่านยืนยันว่า การส่งมอบสินค้ากันคนละวัน เป็นเงื่อนไขของอัลมุวาซีย์ ดังนั้นการส่งมอบสินค้าวันเดียวกันก็ต้องถือว่าใช้ไม่ได้ และหากกรณีนี้เป็นเงื่อนไขของอัลมุวาซีย์จริง ก็ขอให้ท่านแสดงหลักฐานเถิดว่า มีอุลามาอ์ท่านใดได้ฟัตวาว่า “เงื่อนไขของอัลมุวาซีย์ต้องส่งมอบสินค้าคนละวัน” เราหวังว่าท่านจะเป็นผู้สัจจริง ไม่ใช่ถือดีทึกทักวางเงื่อนไขเอาเอง

อีกประการหนึ่ง คำว่า “โต๊ะจีนคือธุรกรรมสามฝ่าย” ซึ่งเรายืนยันมาโดยตลอดว่า สมติฐานนี้เป็นเท็จเพราะไม่เคยปรากฏว่ามีผู้ใดทำสัญญาโต๊ะจีนสามฝ่ายเลย และปัจจุบันมีผู้กล่าวว่า อัลมุวาซีย์คือธุรกรรม 2 สัญญา 3 ฝ่าย ซึ่งเราก็ไม่เคยพบอีกเช่นกันว่า อัลมุวาซีย์มีการทำสัญญาแบบ 3 ฝ่ายด้วย

เราพูดมาโดยตลอดว่า สัญญาของอัลมุวาซีย์นั้นไม่ได้นับตามจำนวนคน แต่หากท่านจะกล่าวว่ามันมี 3 คนนี่แหละคือ 3 ฝ่าย เราถามว่า เวลาทำสัญญาอัลมุวาซีย์นั้นเขาทำอย่างไร เขาเอา 3 ฝ่ายมารวมกันในสัญญาเดียวกันหรือ… เปล่าเลย…. เพราะสัญญาที่หนึ่งก็ทำ 2 ฝ่าย สัญญาที่สองก็ทำ 2 ฝ่าย ไม่มีการทำสัญญาแบบ 3 ฝ่ายเลย และหากท่านพบว่ามีการทำสัญญา 3 ฝ่ายในรูปแบบอัลมุวาซีย์ก็แสดงหลักฐานด้วยเถิด

ประเด็นอื่นๆเราชี้แจงกันหลายรอบละ คงไม่ต้องนำมากล่าวซ้ำอีก แต่เราจะปิดท้ายด้วยคำเตือนเช่นเดิมว่า การซื้อขายนั้นเป็นเรื่องมุอามาลาต จึงต้องพิจารณาว่ามีข้อห้ามไหม หากไม่มีข้อห้ามก็อย่าได้วางข้อห้ามเอาเอง และหากไม่มีกฏเกณฑ์หรือเงื่อนไขของศาสนาได้วางไว้ก็อย่าวางกฎเกณฑ์หรือ เงื่อนไขทางศาสนาเอาเอง