คำถามที่ 2


คำถามนี้มีพี่น้องหลายรายไปก๊อปคำถามลอยลมมาจากที่ต่างๆ แล้วนำมาถาม แต่ทั้งหมดมีจุดประสงค์ของคำถามเหมือนกัน เช่น
# ธุรกรรมหลายอย่างรวมกันทำอย่างไร
# ธุรกรรมอะไรถึงรวมไว้หลายประเภทเช่น อิสติศนาอ์, อัลมุวาอะดะห์ และคิยาร

# อาจารย์ครับเขาบอกว่าเป็นธุรกรรมดำมืด
# สิบธุรกรรมที่ทำแล้วตอบไม่ได้
1- ศ่อดะเกาะห์ต่างตอบแทน
2- ซื้อขายลักษณะล่วงหน้า"ซะลัม"
3- เหมือนธุกรรมจัดฮัจญ์และอุมเราะห์
4- เหมือนแลกคูปอง
5- ซื้อขายลักษณะมัดจำ "อุรบูน"
6- ซื้อขายลักษณะ "อัลมุวาอะดะห์" สัญญาว่าจะซื้อจะขาย
7- ซื้อขายลักษณะ "อัลคิยาร" ให้เวลาตัดสินใจ
8- การว่าจ้างลักษณะเหมา "อัลอิศติศนาอฺ"
9- การว่าจ้างลักษณะเหมาคู่ขนาน "อัลอิศติศนาอฺ อัลมุวาซี"
10- ธุรกรรมหุ้นส่วน "อัชชะริกะห์"

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=353082994893054&id=100005740689770

คำตอบ

ก่อนจะตอบคำถามนี้ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่ายๆก่อนว่า อาหารที่กินได้มีหลายอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่ท่านกิน เพราะอาหารที่ฮะล้าลบนโลกใบนี้มีจำนวนนับไม่ถ้วน และถึงแม้ว่ามันจะฮะล้าลแต่ท่านก็ไม่ได้กินครบทั้งหมดทุกอย่าง

เช่นเดียวกัน เมื่อเราพูดว่า “สิ่งที่ทำได้” ก็ไม่ได้หมายความว่ามันคือ “ทุกสิ่งที่เราทำ”

การที่เราบอกว่าสิ่งใดทำได้ แล้วโมเมเอาเองว่าทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราทำ เป็นเรื่องตลกสิ้นดี

เริ่มแรกที่มีการนำเอาคำฟัตวาของผู้รู้บ้านเราบางท่านมาแสดงและฮุก่มว่า “โต๊ะจีนฮะรอม” นั้น เรารู้สึกไม่สบายใจที่มีการรีบร้อนออกฮุก่มรวมโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ มันทำให้ผู้คนเข้าใจว่า การจัดโต๊ะจีนไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ฮะรอมทั้งหมด รวมถึงการจัดงานโต๊ะจีนของโรงเรียนอนุรักษ์มรดกอิสลามด้วยที่ถูกมองว่าเป็น สิ่งฮะรอม

แต่เราเห็นว่าในแวดวงของผู้ที่ออกฮุก่มนั้นก็คือผู้รู้ชาวซุนนะห์ที่ประกาศ ยึดแนวทางของชาวสะลัฟ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่กระทำการใดๆที่จะตอบโต้และคัดค้านข้อผิดพลาดของท่านโดย ทันที แต่เราใช้วิธีเขียนบทความชี้แจงและตักเตือนท่านมาเป็นลำดับ เพื่อให้ท่านได้ตระหนักว่า ยังมีรูปแบบและวิธีการที่ทำได้อีกตั้งหลายวิธี และหากท่านได้อ่านบทความเรื่องโต๊ะจีนของเราตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 21 ก็จะทราบว่ามันคือการชี้แนะและการตักเตือนให้ท่านได้คิดและทบทวน อีกทั้งยังทำบทสรุปชี้แนะถึงรูปแบบการจัดโต๊ะจีนที่ฮะล้าลให้เห็นอีกด้วยดัง เช่นข้อเขียนของเราที่จะยกมาให้ดูเป็นสังเขปดังนี้

สถาบันใด อยากจัดงานในรูปแบบโต๊ะจีนที่ฮะล้าล เราเสนอแนะวิธีให้สัก 3 วิธี
เราไปลองดูวิธีการจัดโต๊ะจีนที่ฮะล้าล สัก 3 วิธีดังนี้

1 – การจัดโต๊ะจีนในรูปแบบอิญาเราะห์
คืออาหารโต๊ะจีนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงาน หรือเป็นการบริการด้านอาหารแก่ผู้เข้าร่วมงาน แต่ท่านจะต้องระบุวัตถุประสงค์และกิจกรรมของงานที่เป็นตัวหลักให้ชัดเจนว่า ในงานมีกิจกรรมหลักอะไรบ้างที่เป็นจุดขายของงาน ส่วนอาหารนั้น เป็นการบริการแก่ผู้ร่วมงานในรูปแบบโต๊ะจีน เราชี้แนะไว้ในตอนที่ 8

2 – การจัดโต๊ะจีนในรูปแบบมุวาอะดะห์
คือท่านเชิญแขกของท่านให้มาร่วมงานในวันและเวลาที่กำหนด และท่านก็ทำ ก็กิน ก็ขาย กันสดๆในวันนั้น ซึ่งไม่ใช่เป็นการซื้อขายอาหารล่วงหน้า หรือซื้อขายอาหารที่ยังไม่ได้ครอบครอง แต่ท่านก็ต้องมั่นใจในแขกของท่านด้วยว่าจะมาร่วมกิจกรรมกันจริงๆ ซึ่งเราชี้แนะไว้ในตอนที่ 9 และ 13

3 – การจัดโต๊ะจีนโดยท่านเป็นเจ้าของอาหารเอง
ในกรณีนี้คงเป็นการแหกกฎที่ใครบางคนได้ตั้งไว้ว่า โต๊ะจีนต้องมี 3 ฝ่าย ก็ไม่รู้ว่าใครจดลิขสิทธ์ไว้ว่าต้องสามฝ่ายเท่านั้น ถ้าสองฝ่ายเป็นโต๊ะจีนไม่ได้หรือไง หรือถ้ามีสองฝ่ายไม่ถูกเรียกว่าโต๊ะจีนหรืออย่าง ไร ถ้าทำโต๊ะจีนสองฝ่ายไม่เป็นก็จะบอกให้ วิธีการคือท่านเป็นเจ้าของอาหารเอง โดยจะทำเองหรือจ้างพ่อครัวหรือแม่ครัว 5 ดาวมาทำก็ตามสะดวก มันเป็นสิทธิ์ของท่านในอาหารโดยชอบธรรม ไม่ว่าจะซื้อก็ฮะล้าล หรือจะขายก็ฮะล้าล เหมือนดั่งท่านเปิดร้านอาหารเฉพาะกิจ แต่เป็นบริการในรูปแบบโต๊ะจีน

ข้อความข้างต้นนี้เราชี้แจงไว้ในตอนที่ 16

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=334386953429325&id=100005740689770

อีกวิธีหนึ่งที่เราเสนอไว้คือ

4 - การจัดโต๊จีนในรูปแบบธุรกรรมหุ้นส่วน "มุชารอกะห์" โดยที่ผู้จัดร่วมหุ้นกับผู้ทำโต๊ะจีน แต่ต้องเป็นการร่วมหุ้นจริงๆ โดยรับสภาพทั้งกำไรและขาดทุนร่วมกัน

นอกจากนั้นแล้วในคำบรรยายหรือการตอบคำถามของเราทางทีวี เราก็พูดเพียงผ่านหรือแค่สะกิดเตือนว่ารูปแบบและวิธีที่ทำได้มันมีตั้งเยอะ แยะ แต่ทั้งหมดนี้เพียงมุ่งหวังให้ท่านคิดและทบทวน

แต่ท่านกลับไม่ได้คิดและไม่น้อมรับความปรารถนาดีของเรา ซ้ำยังกล่าวหาว่าสิ่งที่เราชี้แนะหลากหลายวิธีนั้นคือสิ่งที่เราทำทั้งหมด จนบางท่านเอาไปกล่าวว่า สิบธุรกรรมที่ทำแล้วตอบไม่ได้ และบางท่านก็กล่าวว่า เลี่ยงฮุก่ม, สวนอิจมาอ์, ปฏิเสธฮะดีษ หรือ ธุรกรรมดำมืด อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อเราพยายยามจะชี้แนะและตักเตือนเขาแล้ว แต่ความปรารถนาดีของเราไม่ได้รับการตอบรับ แต่กลับกลายเป็นการยอกย้อนทิ่มแทงกัน เราจึงต้องทำบทสรุปเพื่อชี้แจงถึงการเข้าใจปัญหาผิดพลาดของเขาดังที่แนบ ลิ้งค์มานี้

http://www.fareedfendy.com/Chinese_Banquet.php

จะเห็นได้ว่า เรามิได้กระทำการใดๆในลักษณะหักพร้าด้วยเข่า แต่เราทำการตักเตือนและชี้แนะมาโดยละมุนละม่อมตลอด แม้เราจะถูกมองว่าหลบเลี่ยงก็ตาม

แต่เราก็แปลกใจว่า ในสิบอย่างที่เขาแสดงมานี้ บางเรื่องเราไม่เคยพูดไม่เคยเขียนแต่เขาเอามาจากไหน แต่เราก็คิดในแง่ดีไว้ก่อนว่า อาจจะมีผู้รู้บางท่านที่พูดหรือชี้แจงตามมุมมองมองของท่าน ซึ่งเราก็น้อมรับในมุมมองของเขา เพราะมันเป็นปัญหาฟิกฮ์ และเป็นปัญหาอิจติฮาดียะห์ที่อาจมีมุมมองแตกต่างกันได้

แต่เรายืนยันว่าสิ่งที่เราชี้แนะว่าทำได้นั้น ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เราทำ แล้วสิ่งที่เราทำเป็นอย่างไร

หลักเกณฑ์ของการจัดโต๊ะจีนโดยทั่วไปคือ “อัลอิสติศนาอ์อัลมุวาซีย์” หรือสัญญาคู่ขนาน (ไม่ใช่ธุรกรรมสามฝ่าย กรุณาอ่านเรื่องนี้ในคำตอบข้อที่ 1)

ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ระหว่างผู้จัดกับผู้รับทำอาหาร นี่คือ “อัลอิสติศนาอ์”
สัญญาที่ 2 ระหว่างผู้จัดกับผู้ซื้อ ไม่จำกัดว่าจะเป็น อิสติศนาอ์เหมือนกัน หรือจะเป็น ซะลัม หมายถึงการซื้อขายล่วงหน้า แต่สำหรับเราในสัญญาที่สองนี้เราเลือก การซื้อสดขายสด

นอกจากนั้นแล้วในรายละเอียดของสัญญาข้อที่สองที่เราดำเนินการยังประกอบไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยคือ 1. อัลมุวาอะห์ 2. อัลคิยาร

คนที่ไม่เข้าใจก็จะเอาไปตั้งเป็นประเด็นถามว่าอะไร ทำไปได้อย่างไร ทำไมรวมหลายธุรกรรมเหลือเกิน แต่ความจริงแล้วธุรกรรมเช่นนี้ถูกเรียกรวมว่า “อัลอิสติศนาอ์อัลมุวาซีย์” มีองค์ประกอบแค่สองสัญญาที่แยกจากกันดังที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น

ส่วน “อัลมุวาอะห์” และ “อัลคิยาร” ไม่ได้เป็นประเภทหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขายแต่อย่างใด มันเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้

อัลมุวาอะดะห์

บัตรเชิญของเราคือ “อัลมุวาอะห์” ซึ่งเราเขียนชี้แจงเรื่องนี้ไว้ก่อนที่ท่านจะถามนานแล้วดังนี้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=333710940163593&id=100005740689770

ขอเรียนว่า บัตรเชิญไม่ใช่ธุรกรรม และ “อัลมุวาอะห์” ก็ไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขายครับ ท่านอย่าเข้าใจผิด

มุวาอะดะห์มาจากคำว่า وعد คือข้อตกลง ไม่ใช่ عقد ที่แปลว่า สัญญา เพราะฉะนั้น “อัลมุวาอะห์” คือข้อตกลงก่อนทำการซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาในการทำการซื้อขาย

ท่านอย่าเข้าใจว่า “อัลมุวาอะห์” คือธุรกรรมที่มีข้อสัญญาแล้วเอาไปรวมกับธุรกรรมอื่น ถ้าท่านทำเช่นนั้นท่านเข้าใจผิดแน่นอน

บรรดานักวิชาการได้ชี้ข้อเท็จจริงของ “อัลมุวาอะดะห์” ที่เรากล่าวข้างต้นดังนี้

المواعدة على البيع والشراء لا تعتبر بيعا ولا شراء وإنما هي وعد من كل من البائع والمشتري بذلك

“ข้อตกลงจะซื้อจะขายนั้นไม่ถือว่าเป็นการซื้อและไม่ถือว่าเป็นการขาย แต่ทว่ามันคือข้อตกลงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องดังกล่าว” (มะญัลละห์ อัลบูฮูสอัลอิสลามียะห์ ญุชอ์ที่ 43 หน้าที่ 181)

ดังนั้น “อัลมุวาอะดะห์” จึงไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขาย และไม่ใช่การซื้อขายล่วงหน้า,ไม่ใช่การซื้อขายในสิ่งที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์, หรือการซื้อขายอาหารที่ยังไม่ได้ครอบครอง และหรือการซื้อขายในประเภทใดๆก็ตาม แต่ “อัลมุวาอะดะห์” เป็นเพียงข้อตกลงในเบื้องแรกของการจะซื้อจะขาย โดยผู้จะซื้อและผู้จะขายตกลงนัดแนะกันว่าจะทำการซื้อขายสินค้าใดๆ ตามวันและเวลานัดหมาย

เรายืนยันอีกครั้งว่า บัตรเชิญของเราคือ “อัลมุวาอะดะห์” ที่ไม่ใช่ธุรกรรมการซื้อขายแต่อย่างใด

และหากจะถามว่า “อัลมุวาอะห์” มีการชำระเงินได้ไหม แล้วเงินที่ชำระเรียกว่าอะไร เราจะให้นักวิชาการเป็นผู้ตอบคำถามนี้ดังนี้

ونظرًا إلى أن العربون لا يكون إلا في عقد بيع ، وهو دفعة أولى من الثمن في حال اختيار إمضاء البيع فلا يظهر لنا وجاهة القول بجواز العربون في المواعدة على الشراء ، وهذا لا يعني القول بعدم جواز أن يدفع الواعد للموعود له بالشراء شيئا من المال لقاء الوفاء بالوعد ببيع السلعة عليه ، ولكننا لا نسمي هذا المال عربونا ، ويمكن أن يكون من الشروط الجزائية وهو خاضع للاتفاق بين المتواعدين إن اتفقا على أن يكون جزءا من الثمن في حال الشراء لزم الاتفاق ونفذ . وإن اتفقا على استحقاقه للموعود له دون اعتباره جزءا من الثمن في حال الشراء فهما على ما اتفقا عليه؛ إذ المسلمون على شروطهم إلا شرطا حرم حلالا أو أحل حراما .

“ประเด็นพิจารณา ณ ที่นี้คือ มัดจำจะยังไม่เกิดขึ้นนอกจากในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งมันคือเงินก้อนแรกของราคาสินค้าในการดำเนินการค้าขาย โดยไม่ปรากฏแง่มุมทางวิชากาใดๆที่อนุญาตเรื่องมัดจำในข้อตกลงจะซื้อจะขาย (อัลมุวาอะดะห์) นี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นที่อนุญาตในการที่คู่ค้าทั้งสองตกลงชำระ เงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันในข้อตกลงการขายสินค้านั้น แต่ทว่าเราไม่เรียกว่า “มัดจำ” ซึ่งเป็นที่ยอมรับต่อเงื่อนไขของข้อตกลงระหว่างคู่ค้า หากทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าให้นำเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าในขณะ ทำการซื้อขาย ก็ให้ถือไปตามข้อตกลงและดำเนินการตามนั้น

และหากคู่ค้าได้ตกลงให้เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยไม่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ราคาสินค้าในการทำการซื้อขายก็ให้ดำเนินการไปตามข้อตกลงนั้น : มุสลิมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พวกเขาตกลงกัน นอกจากข้อตกลงที่ทำให้สิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติหรือสิ่งที่อนุมัติเป็นที่ ต้องห้าม” (อัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 1272)

http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?BookID=2&View=Page&PageNo=2&PageID=6089

อัลคิยาร

ส่วน “อัลคิยาร” คือการให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อในการตัดสินใจ ก็ไม่ไม่ได้ประเภทหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขาย แต่เป็นลักษณะวีธีหรือเงื่อนไขในการทำสัญญาซื้อขายเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้มีการกระทำกันอย่างแพร่หลายในหมู่ศอฮาบะห์ และถือเป็นอิจมาอ์ซุกูตีย์ ของเหล่าศอฮาบะห์อีกด้วย และเราได้เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้นานแล้วเช่นเดียวกัน ตามลิงค์ที่แนบมานี้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=334073856793968&id=100005740689770

แต่อาจจะมีบางคนไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด จึงได้นับรวมเอา “อัลมุวาอะดะห์” และ “อัลคิยาร” เป็นประเภทหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขายด้วย จึงต้องเรียนย้ำอีกครั้งว่า “อัลมุวาอะดะห์” และ “อัลคิยาร” มิได้เป็นประเภทหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขาย และถ้าท่านยังเข้าใจว่าทั้งสองนึ้คือประเภทหนึ่งของธุรกรรมการซื้อขายแล้วก็ นำไปยำรวมกัน ท่านก็จะมึนงงกับความเข้าใจผิดของท่านเอง