คำถามที่ 4
รบกวนอาจารย์ช่วยให้รายละเอียดระหว่างซื้อกับสั่ง ฟังอาจารย์อธิบายแล้วแต่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ญะซากัลลอฮฺ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=353860714815282&id=100005740689770
คำตอบ
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในเบื้องแรกก็คือ ระหว่างผู้จัดกับผู้รับทำโต๊ะจีนคือการซื้ออาหารหรือการสั่งทำอาหาร
หากท่านจำแนกไม่ออกระหว่างซื้อกับสั่งทำนั้น ก็จะทำให้ท่านมึนงงและหยิบเอาหลักฐานมาครอบอย่างไม่ถูกต้อง เนื่องจากการซื้อและการสั่งทำนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องกฏเกณฑ์ วิธีการและฮุก่มทางศาสนาอีกด้วยดังนี้
เมื่อกล่าวถึงการซื้อขายโดยทั่วไปแล้ว อิสลามห้ามบังคับซื้อบังคับขาย โดยเฉพาะการซื้อนั้นผู้ซื้อมีอิสระในการตัดสินใจที่จะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ จะซื้อทั้งหมดหรือจะซื้อเพียงบางส่วนก็ได้ เพราะผู้ซื้อมีอิสระในการตัดสินใจ เนื่องจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายยังไม่ได้มีข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายใดๆระหว่างกัน เช่นผู้ขายทำอาหารมาสิบอย่าง ผู้ซื้อมีสิทธ์ตัดสินใจที่จะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ หรือจะซื้อทั้งหมดหรือซื้อเพียงบางอย่างก็ได้ไม่มีข้อบังคับและไม่เงื่อนไขผูกมัดระหว่างกันแต่อย่างใด
แต่การสั่งทำอาหารนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สั่ง ไม่ว่าจะเป็นชนิด จำนวน ปริมาณ หรือการกำหนดเวลาในการส่งมอบ ซึ่งเรียกว่า “อัลอิสติศนาอ์” และข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้สั่งทำและผู้รับทำก็มีหลักเกณฑ์ทางศาสนาดังนี้
بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على سيدنا محمد خاتم النبيين وعلى آله وصحبه أجمعين
قرار رقم: 65 (3/7)[1]
<
بشأن
عقد الاستصناع
إن مجلس مجمع الفقه الإسلامي الدولي المنعقد في دورة مؤتمره السادس بجدة في المملكة العربية السعودية من 7-12 ذي القعدة 1412 الموافق 9 – 14 أيار (مايو) 1992م،
بعد اطلاعه على البحوث الواردة إلى المجمع بخصوص موضوع عقد الاستصناع،
وبعد استماعه للمناقشات التي دارت حوله، ومراعاة لمقاصد الشريعة في مصالح العباد والقواعد الفقهية في العقود والتصرفات، ونظراً لأن عقد الاستصناع له دور كبير في تنشيط الصناعة، وفي فتح مجالات واسعة للتمويل والنهوض بالاقتصاد الإسلامي،
قرر ما يلي:
أولاً: إن عقد الاستصناع – وهو عقد وارد على العمل والعين في الذمة – ملزم للطرفين إذا توافرت فيه الأركان والشروط.
ثانياً: يشترط في عقد الاستصناع ما يلي:
أ- بيان جنس المستصنع ونوعه وقدره وأوصافه المطلوبة.
ب- أن يحدد فيه الأجل.
ثالثاً: يجوز في عقد الاستصناع تأجيل الثمن كله، أو تقسيطه إلى أقساط معلومة لآجال محددة.
رابعاً: يجوز أن يتضمن عقد الاستصناع شرطاً جزائياً بمقتضى ما اتفق عليه العاقدان ما لم تكن هناك ظروف قاهرة.
คำแปล
มติคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาด้านฟิกฮ์
ด้วยนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตต่าอสรรพสิ่งในดุนยาและเมตตาต่อผู้ศรัทธาในอาคิเราะห์ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธ์ของอัลลอฮ์องค์อภิบาลแห่งโลกทั้งผอง และขอประสาทพรแด่ มูฮัมหมัด ศาสนทูตท่านสุดท้าย และวงศ์วานของท่านอีกทั้งบรรดาศอฮาบะห์ทั้งหมด
มติที่ประชุม หมายเลข 65 (3/7) [ 1 ]
ว่าด้วยเรื่องสัญญาจ้างผลิตสินค้า
ที่ประชุมคณะกรรมการนิติศาสตร์อิสลามนานาชาติ ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นครั้งที่หก ณ เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ระหว่างวันที่ 7 – 12 ซุ้ลเกาะอ์ดะห์ ฮิจเราะห์ศักราช 1412 ตรงกับวันที่ 9 – 14 พฤษภาคม 1992
หลังจากที่ได้พิจารณาศึกษางานวิจัยที่นำเสนอมายังคณะกรรมการนิติศาสตร์อิสลามนานาชาติเกี่ยวกับสัญญาจ้างผลิตสินค้า โดยหลังจากที่คณะกรรมการได้รับฟังการอภิปราย (ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายซักค้าน) ในรายละเอียดของประเด็นต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาจ้างผลิตสินค้า โดยคำนึงถึงเป้าหมายหลักของบทบัญญัติอิสลาม (มะกอศิดุชชะรีอะห์) ตลอดจนผลประโยชน์อันจะเกิดขึ้นกับการทำนิติกรรมสัญญาและการบริหารสัญญา พบว่า สัญญาจ้างผลิตสินค้ามีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต และเป็นการขยายโอกาสในการลงทถุนและความก้าวหน้าแก่ระบบเศรษฐกิจอิสลามมากยิ่งขึ้น
ที่ประชุมจึงได้ออกมติรับรองดังต่อไปนี้
1 – สัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าคือ สัญญาที่ก่อให้เกิดข้อผูกพันในการปฏิบัติงานและการผลิตสินค้าที่ถูกระบุในความรับผิดชอบ โดยให้สัญญานั้นมีผลบังคับต่อคู่สัญญาจะต้องถือปฏิบัติตามเมื่อองค์ประกอบและเงื่อนไขของสัญญาครบถ้วน
2 – สัญญาจ้างผลิตสินค้าต้องมีเงื่อนไขสำคัญดังต่อไปนี้
2.1 ต้องมีการระบุประเภท ชนิด จำนวน และลักษณะตามความต้องการอย่างชัดเจน
2.2 จะต้องกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าอย่างชัดเจน
3 – ในสัญญาจ้างผลิตสินค้านั้นอนุญาตให้ตกลงชำระราคาสินค้าทั้งหมดครั้งเดียวในภายหลัง หรืออาจแบ่งชำระราคาเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดและรับรู้ร่วมกัน
4 – อนุญาตให้สัญญาจ้างผลิตสินค้าครอบคลุมถึงเงื่อนไขตอบแทน (ปรับหรือหัก) อื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามแต่ข้อตกลงของผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีนัยยะบ่งบอกถึงไว้ตราบเท่าที่ไม่มีเหตุปัจจัยใดๆ บังคับให้ต้องเป็นอย่างอื่น วัลลอฮุอะอ์ลัม
http://www.fiqhacademy.org.sa/qrarat/7-3.htm
ท่านได้ทราบแล้วว่าการซื้อและการสั่งมีวิธีที่แตกต่างและมีกฏเกณฑ์เงื่อนไขที่แตกต่างกัน และ “อักดุน” ที่แปลว่า “สัญญา” ของทั้งสองนี้ก็มีข้อบัญญัติที่แตกต่างกันอีกด้วย
ดังนั้นหากท่านอยากทราบข้อฮุก่มของโต๊ะจีนที่แท้จริง จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้ทราบว่า ระหว่างผู้จัดโต๊ะจีนกับผู้รับทำโต๊ะจีนนั้น คือการซื้ออาหารหรือสั่งทำอาหารกันแน่
และเราเกรงว่าคนที่ไม่เคยจัดหรือไม่เคยรับทำโต๊ะจีนจะไม่มโนกันไปเองว่า น่าจะเป็นอย่างนั้นหรืออย่างนี้ แต่เราในฐานะผู้จัดโดยตรงขอยืนยันในสิ่งที่ทำด้วยตัวเองมาตลอดว่า ระหว่างผู้จัดและผู้รับทำโต๊ะจีนนั้นคือการสั่งทำอาหารไม่ใช่การซื้ออาหาร และเรื่องนี้เราได้อธิบายโดยละเอียดแล้วในบทความที่ว่าด้วยเรื่องที่มาของอาหาร อีกทั้งยืนยันด้วยการมุบาฮะละห์ นอกจากนี้ทั้งฝ่ายการเงินและเลขาของมูลนิธิก็ได้เขียนข้อความยืนยันสำทับเช่นเดียวกัน อีกทั้งผู้รับทำโต๊ะจีนคือ ฮัจญีอามีน จำปาทอง ก็ยืนยันในคำให้สัมภาษณ์ของท่านว่า ผู้รับทำโต๊ะจีนนั้นไม่ได้ทำอาหารไปขาย หรือเร่ขาย แล้วให้ผู้ซื้อได้เลือกซื้อตามความต้องการ แต่เขาจะทำอาหารตามการสั่งของเจ้าภาพ ตามลิงค์ที่เราแนบมานี้
https://www.youtube.com/watch?v=EDXmqMppwas
เพราะฉะนั้นโต๊ะจีนไม่ใช่การซื้ออาหาร แต่เป็นการสั่งทำอาหารตามประเภท ชนิด จำนวนและปริมาณ ในวันและเวลาที่เจ้าภาพต้องการ และเมื่อเข้าใจในกรณีนี้ไม่ถูกต้อง จึงมีผู้ที่หยิบเอาหลักฐานเรื่องซื้อมาครอบเรื่องสั่ง ซึ่งเป็นการเอาหลักฐานมาใช้ผิดเรื่องผิดประเด็นเช่น การเอาฮะดีษและอิจมาอ์มาอ้างว่า
عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ : قَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ وَأحْسِبُ كُلّ شَيْئٍ مِثْلَهُ
มีรายงานจากอิบนุอับบาสว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้อาหารนั้นมาจนครบถ้วนก่อน” ท่านอิบนุ อับบาสกกล่าวว่า “ฉันเห็นว่าทุกอย่างก็เหมือนอาหาร” อัลบุคอรี (2136) มุสลิม (1525) ในสำนวนการบันทึกของอัลบุคอรีมีว่า
عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا أنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ زَادَ إسْمَاعِيْلُ : مَنِ ابْتَاعَ طَعَاماً فَلاَ يَبِعْهُ حَتَّى يَقْبِضَهُ
มีรายงานจาก อิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้อาหารนั้นมาจนครบถ้วนก่อน” ในสำนวนของอิสอาอีลมีสำนวนเพิ่มว่า ” ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็จงอย่าขายอาหารนั้นจนกว่าจะได้ครอบครองอาหารนั้นก่อน” อัลบุคอรี (2136)”
อิบนุลมุนซิรกล่าวว่า
وَقَالَ ابْنُ المُنْذِرِ : أجْمَعَ أهْلُ العِلْمِ عَلَى أنّ مَنِ اشْتَرَى طَعَاماً فَلَيْسَ لَهُ أنْ يَبِيعَهُ حَتَّى يَسْتَوْفِيَهُ وَلَوْ دَخَلَ فِي ضَمَانِ الْمُشْتَرِي جَازَلَهُ بَيْعُهُ وَالتَصَرُّفُ فِيْهِ كَمَا بَعْدَ القَبْضِ
"ผู้ใดก็ตามซื้ออาหารมา เขาจะนำอาหารนั้นไปขายต่อไม่ได้ จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาอย่างครบถ้วนก่อน และหากได้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อแล้ว จึงจะสามารถนำไปขายได้หรือจัดการใดๆ ได้ เฉกเช่นหลังการครอบครอง" ( อัลมุฆนี ของอิบนุกุดามะห์ เล่ม 4 หน้า 83 – อัลมักตะบะห์ อัชชามิละห์)
หลักฐานทั้งหมดที่นำมาอ้างล้วนแต่เป็นเรื่องการซื้ออาหารมาทั้งสิ้น แต่เราก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดเขาจึงเอาหลักฐานเหล่านี้ไปออกฮุก่มเรื่องสั่งทำอาหาร ทั้งๆที่ซื้อกับสั่งนั้นคนละกฏเกณฑ์ เงื่อนไข และคนละฮุก่มกันตามที่กล่าวแล้ว อย่างนี้คือการนำหลักฐานมาใช้ไม่ตรงเรื่องไม่ตรงประเด็น
และที่สำคัญก็คือ เอาหลักฐานไปผูกโยงกับสมมติฐาน 3 ฝ่ายที่เป็นเท็จ เพราะข้อเท็จจริงของการจัดโต๊ะจีนคือ การทำสัญญาคู่ขนานดั่งที่ท่านได้อ่านในคำตอบข้อที่ 1 และ 2 มาแล้ว
ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า “หากยังยึดติดอยู่กับทฤษฏีที่เป็นเท็จว่า โต๊ะจีนคือธุรกรรม 3 ฝ่าย มันก็จะเป็นการยากในการเข้าใจข้อเท็จจริงและฮุก่มของโต๊ะจีน” เพราะจะพูดอย่างไร หรืออธิบายอย่างไรก็จะเอาไปวนอยู่กับทฤษฏี 3 ฝ่ายที่เป็นเท็จเหมือนเดิม