คำถามที่ 5
มะอัฟครับอาจารย์ ไม่มีใครยืนยันคำถาม ผมอาสาเป็นคนถามแทนได้ไหม
“ก่อนวันนัดส่งมอบสิ่งที่ท่านสั่งทำ หากเป็นอาหารผู้รับเหมาซื้อข้าวสารมาแล้ว น้ำท่วมเสียหาย ท่านต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ หากท่านสั่งทำของแล้วเท่ากับต้องรับผิดชอบ” ถ้าอาจารย์สะดวกรบกวนช่วยตอบหน่อยครับ
คำตอบ
ผู้ถามกล่าวว่า ขออาสาเป็นผู้ถามคำถามข้างต้นนี้เองได้ไหม ก็ต้องด้วยความยินดีว่า เมื่อมีผู้แสดงตนและเจาะจงถามผมโดยตรงอย่างนี้ ผมก็สบายใจที่จะตอบ มิใช่ตอบไปแล้วต้องโดนข้อหาว่า ไม่ได้ถาม “ร้อนตัว”
คำตอบจากคำถามนี้ หากท่านไม่มีพื้นฐานเลยก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆคือ
หากเงื่อนไขที่จะทำให้การจัดโต๊ะจีนไม่เซาะห์หรือไม่ฮะล้าลอันเนื่องมาจาก น้ำท่วมเสียหายละก็
ดังนั้นถ้าน้ำไม่ท่วม ไม่เกิดความเสียหาย การจัดโต๊ะจีนก็เซาะห์ใช่ไหม
ตกลงว่าจะเซาะห์หรือไม่เซาะห์ด้วยเหตุใด ระหว่างน้ำท่วม กับ ความเสียหาย
และหากเกิดน้ำท่วม แต่ไม่ได้รับความเสียหาย ก็เซาะห์ใช่ไหม
แต่การจัดงานโต๊ะจีนของเราในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมและข้าวของเสียหายเลย ท่านจะฮุก่มว่าอย่างไร
บางคนยกตัวอย่างว่า รถขนอาหารคว่ำ ผักแห้ง แกงหก
เราถามว่า รถมันคว่ำทุกครั้งเลยหรือ ผักแห้งแกงหกทุกทีไปเลยหรืออย่างไร
แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์รถคว่ำจริง แล้วเขาเปลี่ยนถ่ายรถและสามารถนำมาส่งมอบได้ จะฮุก่มว่าอย่างไร
หากกล่าวว่า ไม่เซาะห์หรือไม่ฮะล้าลเพราะรถคว่ำ ผักแห้ง แกงหก
ดังนั้นหากรถไม่คว่ำ ผักไม่แห้ง แกงไม่หกก็เซาะห์และฮะล้าลใช่ไหม
และการจัดงานของเราในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยเกิดเหตุการณ์รถคว่ำ ผักแห้ง แกงหกเลย ท่านจะฮุก่มว่าอย่างไร
คำถามนี้ ถามหาความรับผิดชอบจากการมโนเอาเอง และหากคนอื่นเขามโนในสิ่งที่ตรงกันข้ามละ จะว่าอย่างไร และจะเอาการมโนของใครมาออกฮุก่ม
การมโนหรือการตั้งสมมติฐานขึ้นเองที่อาจจะเป็นจริงและไม่จริงก็ได้นี้ ในทางวิชามันติกหรือ “ตรรก” เขาเรียกว่า “ตะเซาวุร” คือการมโนแบบเลื่อนลอย ไม่ใช่ “ตัสดี๊ก” ที่หมายถึง “การยืนยัน” และหากเป็นการยืนยันก็ต้องเอาไปพิสูจน์ตามกระบวนการก่อนว่า การยืนยันนั้นจริงหรือเท็จ
หากท่านถามว่าเอาวิชามันติกมาแสดงทำไม ก็ขอตอบว่าเราอยากตอบให้ครอบคลุมทุกด้าน และเราก็ไม่ได้เอาวิชามันติกมาตัดสินในเรื่องอะกีดะห์หรืออิบาดะห์ แต่เราเอามันตีกมาชี้ประเด็นของการมโนเท่านั้นเอง
และหากจะกล่าวถึงข้อมูลวิชาการทางด้านฟิกนั้น การตั้งสมติฐานอย่างนี้เรียกว่า “เอียะห์ติม้าล” คือการคาดการณ์หรือการสันนิฐาน ซึ่งอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้หรืออย่างนี้ก็ได้ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการตัดสินว่าอะไรฮะล้าลหรือฮะรอมในศาสนา
และไม่มีอุละมาอ์ท่านใด เอาการมโนหรือการสันนิฐานมาออกฮุก่มเพื่อชี้ถูกหรือชี้ผิดในเรื่องศาสนา