คำถามที่ 6
อ.ฟาริดครับ ถ้าหากว่า โต๊ะจีนมี 2 ฝ่าย โดยที่ผู้จัดโต๊ะจีนในประเทศไทยทั้งหมดทำกัน แล้วผู้ที่เอามาฟัตวา ว่า 3 ฝ่าย แล้วเอาหลักฐานต่างๆนานามาชี้แจง เขาโกหกชาวบ้านใช่หรือไม่ ? หรือว่าโต๊ะจีนของเขาเป็นโต๊ะจีน พิสดาร ไปจากคนทั่วประเทศ ? แล้วชาวบ้านอย่างผมควรทำอย่างไร ในเมื่อรู้ว่า ธุรกรรมโต๊ะจีน 3 ฝ่าย ผู้ฟัตวา ตั้งขึ้นเองโดยไม่มีมูลเหตุของความจริง?
คำตอบ
ที่จริงแล้วผู้ถามนำเรื่องโต๊ะจีน 3 ฝ่ายมาถามเราคงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะเราไม่เคยทำเช่นนั้น และผู้ที่รับจัดทำโต๊ะจีนมา 20 ปีเช่นฮัจญีอามีน จำปาทองก็ยืนยันว่าไม่เคยทำโต๊ะจีนสามฝ่ายเช่นเดียวกัน
https://www.youtube.com/watch?v=EDXmqMppwas
นอกเหนือจากนั้นแล้วเรายังไม่พบว่าในเมืองไทยของเรานี้มีผู้ใดจัดโต๊ะจีน 3 ฝ่ายบ้าง ถ้ามีช่วยแจ้งเราเพื่อเป็นข้อมูลทีเถิด
อย่าว่าแต่ในหมู่มุสลิมเลย แม้กระทั่งกาเฟรเองเขาก็จัดโต๊ะจีน 2 ฝ่าย
ลองโหลดดูแบบฟร์อมการจัดโต๊ะจีนของเขาที่แนบมานี้
http://www.lufoods.com/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=12&Itemid=2
แต่ต้องขอกล่าวย้ำว่า เราเอาแบบฟร์อมของเขามาให้ดูเป็นตัวอย่างกรณี 2 ฝ่าย เพื่อยืนยันคำพูดของเราว่า ไม่เคยพบการจัดโต๊ะจีน 3 ฝ่ายในประเทศไทยไม่ว่าจะในแวดวงมุสลิมหรือกาเฟรก็ตาม
แต่สิ่งที่เราสังเกตได้จากสัญญาว่าจ้างที่แนบมาให้ดูนี้คือการระบุว่า เป็นการว่าจ้างไม่ใช่การซื้อ และมีคู่สัญญา 2 ฝ่ายคือ
ฝ่ายที่ 1 ผู้ว่าจ้าง
ฝ่ายที่ 2 ผู้รับจ้าง
โดยผู้รับประทานอาหารโต๊ะจีนนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาว่าจ้างนี้แต่อย่างใด
และถ้าหากไปดูในแง่มุมทางกฎหมายก็จะพบว่า
“การจ้างโต๊ะจีนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นลักษณะสัญญาจ้างทำของ เพราะถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญไม่ใช่สัญญาซื้อขาย เมื่อตกลงกันแล้วผู้รับจ้างส่งมอบการงานไม่ทันเวลา หรือหากไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ในสัญญา เมื่อล่วงพ้นเวลาอันควรแก่เหตุ ผู้ว่าจ้างชอบที่จะลดสินจ้างหรือค่าจ้างลง หรือหากสาระสำคัญอยู่ที่เวลาก็ชอบที่จะเลิกสัญญาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 596”
ขอย้ำอีกครั้งว่า เราไม่ได้เอากาเฟรหรือกฎหมายกาเฟรมาเป็นหลักฐานตัดสินฮะล้าลหรือฮะรอม แต่เราเอามาเป็นตัวอย่างเพื่อยืนยันคำของเราว่า ไม่เคยพบการจัดโต๊ะจีน 3 ฝ่ายในประเทศไทยไม่ว่าจะในแวดวงมุสลิมหรือกาเฟรก็ตาม
แต่ขอทำความเข้าใจในกรณีสองฝ่ายและสามฝ่ายเพิ่มเติมสักนิดว่า การพิจารณาธุรกรรมนี้นับเป็นฝ่าย ไม่ได้นับตามจำนวนคนหรือจำนวนหน่วยว่า มีผู้ทำอาหาร, ผู้สั่งทำอาหาร และผู้ซื้ออาหาร แล้วจะต้องถือเป็น 3 ฝ่าย
วิธีการจำแนก 3 คนเป็นสองฝ่ายมีดังนี้
1. ผู้สั่งทำอาหารกับผู้รับทำอาหาร 1 สัญญา
2. ผู้สั่งทำอาหารกับผู้ซื้ออาหาร อีก 1 สัญญา
อย่างนี้แหละที่นับเป็นฝ่าย ไม่ได้นับจำนวนคน และฝ่ายหนึ่งจะร่วมกันกี่คนก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่าง
วิธีการอย่างนี้เรียกว่า الموازي หรือ“สัญญาคู่ขนาน”
ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างคู่ขนาน หรือที่เรียกว่า الإستصناع الموازي
หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคู่ขนาน หรือที่เรียกว่า السلم الموازي
ทั้งสองประเภทนี้จำแนกเป็นฝ่ายไม่ได้จำแนกตามจำนวนคน
และเราจะตอบคำถามเรื่องสัญญาคู่ขนานนี้ในคำถามถัดๆไป อินชาอัลลอฮ์