คำถามที่ 7


เขาบอกว่าขายบัตรโต๊ะจีนคือขายลม อบูฮุรอยเราะบอกว่ามันคือดอกเบี้ย

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=354330264768327&id=100005740689770

คำตอบ

เรามิได้ปฏิเสธคำฟัตวาของอบูฮุรอยเราะห์ (รอดิยัลลอฮุอันฮุ) และเราก็มิได้ปฏิเสธฮะดีษ ต้องบอกว่าเราน้อมรับด้วยเกล้า แต่ปัญหาก็คือการเอาฮะดีษหรือคำฟัตวาของอบูฮุรอยเราะห์มาเปรียบกับบัตรโต๊ะ จีนนั้น เป็นการเปรียบที่ตรงเรื่องหรือป่าว อย่างนี้ต้องพิสูจน์

ฮะดีษอะบูฮุรอยเราะห์ พูดเรื่อง “ซิก๊าก” หรือตั๋วที่ทางรัฐออกให้แก่ประชาชนแบบให้เปล่าเพื่อเอาไปแลกอาหารและเครื่อง นุ่งห่ม แต่คนที่รับไปกลับเอาไปขายต่อ และมีการขายช่วงต่อกันไปเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องนี้เราได้เขียนอธิบายไว้แล้วในบทความเรื่องโต๊ะจีน ตอนที่ 4

หนึ่งในฮะดีษที่นำมาอ้างแล้วฟันธงลงฮุก่มกันนี้คือ ฮะดีษเรื่อง “ศิก๊าก” จากคำรายงานในศอเฮียะห์มุสลิม ตัวบทมีดังนี้

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ أَنَّهُ قَالَ لِمَرْوَانَ أَحْلَلْتَ بَيْعَ الرِّبَا فَقَالَ مَرْوَانُ مَا فَعَلْتُ فَقَالَ أَبُو هُرَيْرَةَ أَحْلَلْتَ بَيْعَ الصِّكَاكِ وَقَدْ نَهَى رَسُولُ اللَّهِ عَنْ بَيْعِ الطَّعَامِ حَتَّى يُسْتَوْفَى قَالَ فَخَطَبَ مَرْوَانُ النَّاسَ فَنَهَى عَنْ بَيْعِهَا قَالَ سُلَيْمَانُ فَنَظَرْتُ إِلَى حَرَسٍ يَأْخُذُونَهَا مِنْ أَيْدِي النَّاسِ

สุไลมาน บิน ยะซาร รายงานว่า อบูฮุรอยเราะห์ได้กล่าวแก่มัรวานว่า ท่านอนุมัติการขายที่มีดอกเบี้ยหรือ มัรวานตอบว่า ฉันไม่ได้ทำ อบูฮุรอยเราะห์จึงกล่าวว่า ท่านอนุมัติให้ขายตั๋วเงิน แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการขายอาหารจนกว่าจะได้รับครบถ้วนเสียก่อน ผู้รายงานกล่าวว่า มัรวานจึงได้ปาฐกถาแก่ผู้คนแล้วสั่งห้ามการขายศิก๊าก สุไลมาน กล่าวว่า ฉันเห็นบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐนำมันคืนจากการครอบครองของผู้คน

“ท่านอิหม่ามนะวาวี กล่าวว่า ที่ถูกต้องในหมู่นักวิชาการของเรา (มัซฮับซาฟีอี) และคนอื่นๆ ถือว่าอนุญาตให้ขายได้ แต่ผู้ที่ไม่อนุญาตให้ขายนั้นก็พิจารณาจากถ้อยคำของอะบูฮุรอยเราะห์ที่ปรากฏ ในฮะดีษแล้วนำไปเป็นหลักฐาน

โดยผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตนั้นก็พิจารณาจากประเด็นของการขายให้แก่บุคคลที่สาม คือบุคคลที่สองขายให้แก่บุคคลที่สาม ไม่ใช่การขายของบุคคลแรก

และเหตุที่อบูฮุรอยเราะห์กล่าวว่า เป็นการขายดอกเบี้ย หรือการขายที่มีดอกเบี้ยนั้น มุบาร็อกฟูรี อธิบายว่า

“อบูฮุรอยเราะห์เรียกว่า นี่คือการขายที่มีดอกเบี้ย ก็เพราะตั๋วเงิน ณ.ที่เขานั้นไม่ใช่อาหารและไม่ใช่สินค้า แต่มันคือหลักประกันเพื่อแลกอาหาร โดยผู้ที่ซื้อมาในราคา 100 ดิรฮัม ก็เอาไปขายต่อในราคา 120 ดิรฮัม โดยที่เขายังไม่ได้รับมอบอาหารนั้นหรือแม้แต่เพียงบางส่วนก็ตาม ฉะนั้นการซื้อ 100 ดิรฮัม แล้วเอาไปขายต่อ 120 ดิรฮัม มันคือดอกเบี้ย อย่างนี้แหละที่อบูฮุรอยเราะห์เรียกมันว่าดอกเบี้ย” (มินนะตุ้ลมุนอิม ญุชที่ 41 หน้าที่ 15)”

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=325172444350776&id=100005740689770

เพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ เรายกตัวอย่างให้เห็นภาพเป็นรายบุคคลดังนี้

1. ผู้ออกบัตร
2. ผู้รับบัตร และนำไปขาย
3. ผู้รับซื้อบัตร และขายต่อ
4. ผู้ซื้อบัตรและขายช่วงต่อไปเรื่อยๆ 5 – 6 – 7

ฮุก่มที่ได้จากฮะดีษนี้คือ

ลำดับที่ 2 ขายให้ลำดับที่ 3 นั้นมัซฮับซาฟีอีถือว่าใช้ได้ (ฮาล้าล)
ลำดับที่ 3 ขายให้ 4 และต่อไปเรื่อยๆ นั้นคือการขายที่เป็นดอกเบี้ย (ฮารอม)

ปัญหาที่ต้องทำความเข้าใจคือ บัตรโต๊ะจีนของเราใครเป็นคนออกให้และอยู่ในลำดับไหนของฮุก่ม…

คำตอบคือ มิได้มีผู้ใดออกบัตรโต๊ะจีนให้เราเพราะ

1 . เราคือผู้ออกบัตรเอง
2 . ผู้รับบัตรจากเรา (และไม่ได้ขายต่อ)

ข้อเท็จจริงของบัตรโต๊ะจีนมีเพียงเท่านี้จริงๆ คือมีเพียง 1 กับ 2 เท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกับการขายต่อหรือการขายช่วงเลย แล้วอย่างไรเล่าที่กล่าวว่า บัตรโต๊ะจีนคือการขายต่อและเป็นการขายที่เป็นดอกเบี้ย

ต้องย้ำอีกครั้งว่า เรามิได้เป็นผู้ที่รับบัตรมาจากผู้ทำอาหารหรือจากผู้ใด แล้วเอาไปขายต่อ อย่าเข้าใจผิด แต่เราคือผู้ออกบัตรเอง

และถึงแม้ว่า หากมีผู้รับบัตรจากเราไปฟรีๆ แล้วนำไปขายต่อ ก็ยังเป็นที่อนุญาตในมัซฮับซาฟีตามที่อิหม่ามนะวาวีได้แจ้งไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำเช่นนั้น

ยิ่งกล่าวถึงการขายช่วงต่อของ 3 - 4 – 5 - 6 - 7 ไปเรื่อยๆ ยิ่งไม่พบการกระทำเช่นเลย แล้วอย่างไรเล่าที่จะกล่าวว่าเป็นการขายที่เป็นดอกเบี้ย และเพราะเหตุใดถึงจับเราไปวางในตำแหน่งที่ฮะรอม ทั้งๆที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย