ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



วิพากษ์ฮะดีษเรื่องเอี๊ยะอ์ติกาฟ




การเอียะอ์ติกาฟอุญาตให้กระทำได้เฉพาะ 3 มัสยิด คือมัสยิดฮะรอม,มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดนบีจริงหรือ ? คำถามนี้เริ่มจะดังขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นปัญหาใหม่ของมุสลิมในบ้านเรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินมาก่อน



นักวิชาการบางท่านก็ยืนยันตามข้อความข้างต้น โดยนำเอาฮะดีษที่รายงานโดยท่านฮุซัฟะห์ อิบนุ้ลญะมาล มาอ้างอิง และกำกับด้วยว่า ท่านอัลบานีย์ นักวิชาการฮะดีษร่วมสมัยได้ตรวจสอบฮะดีษบทนี้แล้วว่าเป็นฮะดีษศอเฮียะห์ ดังที่ระบุในตำราฮะดีษของท่านชื่อ سلسلة الأحاديث الصحيحة " เลขที่ 2876



แต่เรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า หากฮะดีษบทดังกล่าวมีความถูกต้องจริงแล้ว ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการคนใดตั้งแต่อดีตนำฮะดีษบทนี้ไปอ้างอิงหรือนำไปเป็นหลักฐานว่า การเอียะอ์ติกาฟในมัสยิดอื่นๆ นอกจากสามมัสยิดนั้นใช้ไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ยังมีฮะดีษอื่นอีกหลายบทที่ยืนยันว่าให้ทำการเอียะอ์ติกาฟได้ไม่ใช่เฉพาะแค่ 3 มัสยิดเท่านั้น เราจึงต้องนำข้อเท็จจริงของเรื่องนี้มาชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง




ตัวบทฮะดีษวิพากษ์

قَالَ حُذَيْفَةُ لِعَبْدِ اللهِ يَعْنِي ابْنَ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ مررتُ عَلى أُنَاسٍ عَكُوفا بَيْنَ دَارِكَ وَدَارِ أَبِِي مُوْسَى وَقَدْ عَلِمْتَ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لاَ اِعْتِكَافَ اِلاَّ فِي المَسْجِدِ الحَرَامِ أو قَالَ فِي المَسْجِدِ الثَلاَثَةِ فَقَالَ عَبْدُ اللهِ لَعَلَّكَ نَسِيْتَ وَحَفِظُوا وَأخْطَأْ تَ وَأَصَابُوا

“ท่านฮุซัยฟะห์ได้กล่าวแก่อับดุลลอฮ์ หมายถึง อิบนิมัสอู๊ดว่า ฉันได้ผ่านผู้คนที่ทำการเอียะอ์ติกาฟ
(ในมัสยิด) ระหว่างบ้านของท่านกับบ้านของอบีมูซา ทีจริงแล้วท่านก็ทราบว่า ท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดฮะรอม หรือในสามมัสยิดเท่านั้น ท่านอับดุลลอฮ์ได้ตอบว่า หวังว่าท่านอาจจะหลงลืมแต่พวกเขาจดจำมาก็ได้ หรือว่าท่านจะผิดแต่พวกเขาถูกก็เป็นได้” บันทึกโดยท่านอิหม่ามบัยฮะกีย์

ก่อนที่จะเริ่มต้นวิเคราะห์ฮะดีษบทนี้ อยากให้ท่านผู้อ่านได้จับประเด็นกันก่อนว่า ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของการเอียะอ์ติกาฟ แต่เป็นปัญหาของมัสยิดที่จะทำการเอียะอ์ติกาฟ ว่าศาสนากำหนดให้การเอียะอ์ติกาฟได้เฉพาะ 3 มัสยิด ตามการอ้างฮะดีษจากท่านฮุซัยฟะห์จริงหรือไม่


ประเด็นวิเคราะห์ที่ 1

ประการแรกเราไปตรวจสอบที่มาของฮะดีษบทนี้กันก่อนว่า คำรายงานที่อ้างถึงไปสิ้นสุดที่ผู้ใด ซึ่งข้อมูลจำเพาะตามวิชามุศฏอละฮุ้ลฮะดีษได้จัดลำดับฮะดีษตามการอ้างถึงแหล่งที่มาไว้เป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ

1 – คำรายรายงานจากท่านรอซูลอ้างถึงพระองค์อัลลอฮ์ จะถูกจัดอยู่ในประเภทฮะดีษกุดซีย์
2 – คำรายงานที่อ้างถึงเฉพาะท่านรอซูล จะถูกจัดอยู่ในประเภทฮะดีษมัรฟัวอ์
3 – คำรายงานที่อ้างถึงคำพูดหรือการกระทำของศอฮาบะห์ จะถูกจัดอยู่ในประเภทฮะดีษเมากูฟ
4 – คำรายงานที่อ้างถึงคำพูดหรือการกระทำของตาบีอีน จะถูกจัดอยู่ในประเภทฮะดีษมักตัวอ์

การจัดประเภทฮะดีษทั้ง 4 ระดับข้างต้นนี้มีผลต่อการนำเอาฮะดีษแต่ละประเภทไปใช้อ้างอิง นั่นคือความสำคัญในการลำดับสถานะของหลักฐาน สิ่งที่เราต้องการตรวจสอบคือ ฮะดีษที่รายงานโดยท่านฮุซัยฟะห์นี้ จัดอยู่ในประเภทใด

เรื่องนี้มีประเด็นที่นักฮะดีษพิจารณาต่างกันคือ คำว่า “ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดฮะรอม หรือในสามมัสยิดเท่านั้น” เป็นคำพูดของผู้ใด ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าเป็นคำพูดของท่านนบี โดยในตัวบทฮะดีษได้ยืนยันคำของท่านฮุซัยฟะห์ที่กล่าวแก่อินุมัสอู๊ดว่า “ทีจริงท่านก็ทราบว่า ท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า......” ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงอยู่ในฐานะฮะดีษมัรฟัวอ์

แต่นักฮะดีษอีกส่วนหนึ่งเข้าใจว่า คำว่า “ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดฮะรอม หรือในสามมัสยิดเท่านั้น” เป็นคำพูดของท่านฮุซัยฟะห์เอง ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงอยู่ในฐานะฮะดีษเมากูฟ ถ้าเช่นนั้นมีสิ่งใดที่ชี้ชัดว่า ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี เราจะติดกันต่อไป

สิ่งที่น่าแปลกอยู่อย่างหนี่งเกี่ยวกับฮะดีษวิพากษ์นี้ก็คือ หนึ่งในผู้รายงานฮะดีษคือท่านซุฟยาน อิบนุอุยัยนะห์ ซึ่งเป็นคนรุ่นตาบีอิตตาบีอีน (เกิดปีที่ 107 เสียชีวิตปีที่ 196) เป็นบุคคลที่ถูกอ้างถึงในสายรายงาน แต่บรรดาผู้ที่รายงานต่อจากท่านอีกหลายคนกลับก็มีความเข้าใจในฐานะของฮะดีษที่ต่างกัน เช่นมูฮัมหมัด อิบนุฟัรญ์ ( ในหนังสือ معجم شيوخة เล่มที่ 2 หน้าที่ 112,) ท่านมะห์มูด บินอาดัม อัลมัรวะซีย์ สายของบัยฮากีย์ (ใน السنن เล่มที่ 4 หน้าที่ 316) ท่านฮิซาม บินอัมมาร (ในหนังสือ بيان مشكل الآثار เล่มที่ 7 หน้าที่ 40) และสอี๊ด บินมันซูร (ในหนังสือ التحقيق في أحاديث الخلاف ของอิบนุ้ลเญาซีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 127) พวกเขาเข้าใจว่าฮะดีษทีพวกเขารายงานนี้เป็นฮะดีษมัรฟัวอ์
แต่ผู้รายงานอีกส่วนหนึ่งคือท่านอับดุลรอซาก (ในหนังสือ المصنف เล่มที่ 4 หน้าที่ 348) สะอี๊ด บิน อับดิลเราะห์มาน และมูฮัมหมัด บินอบีอุมัร (ในหนังสือ أخبار مكة เล่มที่ 2 หน้าที่ 149) เข้าใจว่าฮะดีษนี้เป็นฮะดีษเมากูฟ

เมื่อบรรดาผู้รายงานฮะดีษบทนี้มีความเข้าใจฐานะของฮะดีษที่ต่างกันคือ ฮะดีษบทนี้อยู่ในฐานะฮะดีษมัรฟัวอ์ (คำพูดของนบี) หรืออยู่ในฐานะฮะดีษเมากูฟ (คำพูดของฮุซัยฟะห์) จึงเป็นประเด็นที่มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง แต่ที่มีน้ำหนักก็คือ ฮะดีษบทนี้อยู่ในฐานะ “เมากูฟ” โดยเป็นคำพูดและเป็นความเข้าใจ (อิจติฮาด) ของท่านฮุซันฟะห์เอง ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

ประการที่ 1

เนื่องจากมีฮะดีษในสายรายงานอื่น ที่แสดงให้เห็นว่าคำพูดนี้ “ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดฮะรอม หรือในสามมัสยิดเท่านั้น” เป็นคำพูดของท่านฮุซัยฟะห์เองมิใช่คำพูดของท่านนบี เช่นในบันทึกของท่านอิบนุอบีซัยบะห์ ชื่อ المصنف เล่มที่ 2 หน้าที่ 337 และในบันทึกของท่านอับดุลรอซากเล่มที่ 4 หน้าที่ 347 ได้สืบรายงานจาก ท่านซุฟยาน อัสเซารีย์ จากวาซิ้ล อัลอะห์ดับ จากอิบรอฮีม อัลนัคอีย์ได้กล่าวว่า

جاء حذيفة الى عبد الله فقال ألا أعجبك من قومك عكوف بين دارك ودار الأشعري يعني المسجد قال عبد الله ولعلهم أصا بوا وأخطأت فقال حذيفة أما علمت أنه لا اعتكاف الا في ثلاثة مساجد المسجد الحرام والمسجد الأقصى ومسجد رسول الله صلى الله عليه وسلم وما أبالي أعتكف فيه أوفي سوقكم هذه

“ท่านฮุซัยฟะห์ได้ไปหาท่านอับดุลลอฮ์
(อิบนิมัสอู๊ด) แล้วกล่าวว่า ฉันแปลกใจเหลือเกินที่กลุ่มชนของท่านทำการเอียะอ์ติกาฟระหว่างบ้านของท่านกับบ้านของ (อบีมูซา) อัลอัชอารีย์ หมายถึงมัสยิด (ระหว่างบ้านของทั้งสอง) ท่านอับดุลลอฮ์กล่าวว่า หวังว่าพวกเขาทำถูกต้อง และท่านอาจจะผิดก็ได้ ฮุซัยฟะห์กล่าวว่า ท่านไม่รู้หรือว่าไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากสามมัสยิดเท่านั้นคือ มัสยิดฮะรอม,มัสยิดอักซอ และมัสยิดของท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ดังนั้นฉันจะไม่เอียะอ์ติกาฟในมัสยิดอื่นหรือในมัสยิดที่อยู่ระหว่างทางเช่นนี้”

เราเห็นได้ว่าฮะดีษทั้งสองบทมีผู้รายงานในระดับศอฮาบะห์คือท่านฮุซัยฟะห์ โดยสายรายงานของบทแรกเป็นของท่านซุฟยานอิบนุ อุยัยนะห์ กับสายรายงานบทที่สองเป็นของท่านอิบรอฮีม อัลนัคอีย์ ซึ่งทั้งสองสายนี้มีข้อความยืนยันถึงที่มาของคำปริศนาที่แตกต่างกัน บทหนึ่งอ้างเป็นคำของนบี และอีกบทหนึ่งเป็นคำของฮุซัยฟะห์ แต่เป็นที่ทราบกันอย่างดีในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษว่า สายรายงานของท่านอิบรอฮีม อัลนัคอีย์ ที่รายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ มัสอู๊ด นั้นเป็นที่ยอมรับของบรรดาปวงปราชญ์ด้านฮะดีษว่า “ศอเฮียะห์” มีความถูกต้อง (ดูหนังสือ جامع التحصيل หน้าที่ 141 และหนังสือ شرح العلل เล่มที่ 1 หน้าที่ 294) แต่ในขณะที่นักวิชาการร่วมสมัยอย่างท่านอัลบานี ก็ยืนยันว่า ฮะดีษบทวิพากษ์นี้ก็ “ศอเฮียะห์” มีความถูกต้องด้วยเช่นกันแล้วจะให้คำตอบว่าอย่างไร เราจะละประเด็นคำตัดสินว่าศอเฮียะห์หรือไม่ของฮะดีษบทที่วิพากษ์นี้ไว้ก่อน เพราะเรากำลังตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของฮะดีษวิพากษ์ว่าอ้างถึงผู้ใด แต่เราได้เห็นแล้วในขณะนี้ก็คือ ฮะดีษวิพากษ์กับฮะดีษที่นำมาแย้งนั้นอ้างถึงแหล่งที่มาต่างกัน โดยบทหนึ่งอ้างว่าเป็นคำพูดของท่านนบี และอีกบทหนึ่งอ้างว่าเป็นคำของท่านฮุซัยฟะห์ ฉะนั้นเราจึงต้องค้นหากันต่อไป

ประการที่ 2

สิ่งที่จะยืนยันว่า ฮะดีษวิพากษ์นี้สิ้นสุดที่ท่านฮุซัฟะห์ และเป็นคำพูดของท่านฮุซัยฟะห์ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี ก็ด้วยกับคำรายงานของท่านฮุซัยฟะห์เอง ซึ่งได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่หลายบทด้วยกัน (ดู المحلى เล่มที่ 5 ) ตัวอย่างเช่น

لا اعتكاف الا في مسجد جماعة

“ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากที่มัสยิดเป็นศูนย์รวมเท่านั้น”


คำของท่านฮุซัยฟะห์ในที่นี้แย้งกับคำของท่านเองในฮะดีษที่เรากำลังวิพากษ์ เพราะคำว่ามัสยิดญะมาอห์ หรือมัสยิดที่เป็นศูนย์รวมนั้น ไม่ใช่จำกัดเฉพาะมัสยิดฮะรอม, มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดนบีเท่านั้น แต่หมายถึงมัสยิดอื่นๆ ที่มีการละหมาดญะมาอะห์หรือละหมาดวันศุกร์อีกด้วย

ท่านอิบนุฮัซมิน ได้กล่าววิจารณ์เรืองนี้ไว้ใน المحلى เล่มที่ 5 หน้าที่ 195 หลังจากที่นำเอาตัวบทและสายรายงานมาตีแผ่ว่า “เราขอกล่าวว่า ประเด็นของความสงสัยนี้มาจากท่านฮุซัยฟะห์หรือบุคคลอื่นที่รายงานต่อๆกันมา และยังอ้างข้อสงสัยนี้ไปถึงท่านรอซูลด้วย และหากท่านรอซูลได้กล่าวคำพูดนี้ไว้จริงว่า “ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟ นอกจาก 3 มัสยิดเท่านั้น” พระองค์อัลลอฮ์ก็จะปกป้องและจะไม่ให้อยู่ในสภาพคลุมเครือเช่นนี้ ฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่าท่านรอซูลมิได้กล่าวถ้อยความนี้อย่างแน่นอน

บทสรุปของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ฮะดีษวิพากษ์ที่ท่านฮุซัยฟะห์รายงานว่า ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟในมัสยิดอื่นนอกจากสามมัสยิดเท่านั้น ไม่ได้เป็นคำพูดของท่านนบี แต่เป็นคำพูดและความเข้าใจของท่านฮุซัยฟะห์เอง ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการอิจติฮาด ซึ่งยังแตกต่างจากความเข้าใจของบรรดาศอฮะห์ท่านอื่นๆ อีกด้วย


ประเด็นวิเคราะห์ที่ 2

ที่น่าจะทำความเข้าใจกันต่อก็คือ ฮะดีษวิพากษ์นี้ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าติดตามดังนี้

1 - สำนวนคำรายงานของฮะดีษวิพากษ์แย้งกับสำนวนที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَأنْتُمْ عَاكِفُوْنَ فِي المَسَاجِدِ

“และพวกเจ้าเป็นผู้เอียะอ์ติกาฟอยู่ในมัสยิดต่างๆ”
ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 187

อาจจะมีบางท่านอ้างว่า คำว่า المساجد ในอายะห์นี้ก็คือมัสยิดฮะรอม,มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดนบี นั้นเราขอทำความเข้าใจว่า คำว่า المساجد ในอายะห์นี้เป็นคำที่อยู่ในรูปของพหูพจน์ ที่มีความหมายว่า หลายมัสยิด แต่ก็ไม่มีตัวบทหลักฐานอื่นที่ศอเฮียะห์มาจำกัดว่าจะหมายถึงแค่ 3 มัสยิดเท่านั้น
ดังนั้นท่านอิหม่ามบุคอรีจึงได้ชี้ให้เห็นว่า อัลกุรอานอายะห์นี้กล่าวไว้โดยรวม (มิได้เจาะจงเฉพาะแค่ 3 มัสยิด) ซึ่งท่านได้จัดไว้ในบันทึกศอเฮียะห์ของท่านในบทที่ว่าด้วยเรื่องการเอียะอ์ติกาฟในสิบคืนสุดท้าย (ของรอมฏอน) และการเอียะอ์ติกาฟในมัสยิดอื่นทุกๆมัสยิดด้วยกับคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ที่ว่า “และพวกเจ้าเป็นผู้เอียะอ์ติกาฟอยู่ในมัสยิดต่างๆ”

2 – เนื้อหาของฮะดีษวิพากษ์นี้แย้งกับฮะดีษศอเฮียะห์ในบทอื่นๆ เช่นฮะดีษที่ท่านหญิงอาอิชะห์รายงานว่า

لاَ اِعْتِكاَفَ اِلاَّ فِي مَسْجِدٍ جَامِعٍ

“ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดที่เป็นศูนย์รวมเท่านั้น”
บันทึกโดยท่านอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 2115

เป็นสิ่งที่ยืนยันได้จากฮะดีษศอเฮียะห์บทนี้ว่าการเอียะอ์ติกาฟไม่ได้เจาะจงเฉพาะ 3 มัสยิดดังที่ฮะดีษวิพากษ์ได้กล่าวถึง แต่ก็มีข้อแม้ว่ามัสยิดที่จะทำการเอียะอ์ติกาฟได้นั้นจะต้องเป็นมัสยิดที่มีละหมาดญะมาอะห์หรือไม่ก็ต้องมีละหมาดวันศุกร์

3 – ข้อความของฮะดีษวิพากษ์แย้งกับความเข้าใจของบรรดาศอฮาบะห์ ไม่ว่าจะเป็นท่านอาลี อิบนิอบีตอลิบ,ท่านหญิงอาอิชะห์,ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิอับบาส ซึ่งต่างก็ฟัตวาว่า ให้เอียะอ์ติกาฟได้ทุกมัสยิดที่เป็นศูนย์รวม ซึ่งท่านอิบนุอับบาส (ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา) ได้กล่าวว่า

لاَ اِعْتِكَافَ اِلاَّ فِي مَسْجِدِ تُقَامُ فِيْهِ الصَلاَةُ

“ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดที่มีการละหมาด”
อัลเมาซูอะห์ อัลฟิกฮียะห์ เล่มที่ 5 หน้าที่ 212

เราได้เห็นความเข้าใจของบรรดาศอฮาบะห์ที่อนุญาตให้ทำการเอียะอ์ติกาฟได้ทุกมัสยิด ที่มีการละหมาดญะมาอะห์และละหมาดวันศุกร์ โดยไม่มีศอฮาบะห์ท่านใดคัดค้านและผู้คนก็ยังคงปฏิบัติเช่นนี้มาทุกยุคทุกสมัย นอกจากฮะดีษวิพากษ์ที่ท่านฮุซัยฟะห์ได้รายงานไว้นี้เท่านั้น

ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ฮะดีษวิพากษ์เป็นฮะดีษที่มีความสับสน (مضطرب ) ทั้งตัวผู้รายงานและเนื้อหาของฮะดีษ และด้วยเหตุนี้เองเราจึงไม่พบว่า บรรดาผู้บันทึกฮะดีษในระดับแนวหน้า ไม่ว่าจะเป็นท่านอิหม่ามบุคคอรี,อิหม่ามมุสลิม,อบูดาวูด,นะซาอีย์,ติมีซีย์,อิบนุมาญะห์ และท่านอื่นๆ ได้นำฮะดีษบทนี้มาบันทึกไว้ อีกทั้งบรรดาฟุกอฮ้าอ์ (นักนิติศาสตร์อิสลาม) ในยุคอดีตก็ไม่เคยฟัตวาโดยอ้างหลักฐานจากฮะดีษวิพากษ์ของท่านฮุซัยฟะห์ในบทนี้ แต่หากนักปราชญ์ในยุคปัจจุบันจะถือตามฮะดีษของท่านฮุซัยฟะห์ ก็เป็นหนึ่งในมุมมองของเรื่องอิจติฮาต (การวินิจฉัย) ที่อาจจะถูกและผิดก็ได้


มุมมองของนักวิชาการร่วมสมัย

ฮะดีษวิพากษ์บทนี้เป็นฮะดีษจากบันทึกของท่านอิหม่าม อัลบัยฮากีย์ และนักวิชาการฮะดีษร่วมสมัยคือท่านเชคนาศิรุดดีน อัลบานีย์ ได้ตรวจสอบสถานะของฮะดีษบทนี้แล้วนำไปไว้ในบันทึกฮะดีษศอเฮียะห์ของท่านที่ชื่อ سلسلة الأحاديث الصحيحة " เลขที่ 2876 ซึ่งเท่ากับท่านอัลบานีย์ให้การยอมรับว่า ฮะดีษวิพากษ์ที่รายงานโดยท่านฮุซัยฟะห์นี้อยู่ในฐานะศอเฮียะห์

แต่อีกมุมหนึ่งของนักวิชาการร่วมสมัยเช่น เชคซอและห์ อิบนุอุซัยมีน ได้กล่าววิจารณ์ฮะดีษบทวิพากษ์นี้ไว้ในหนังสือชื่อ الشرح الممتع เล่มที่ 6 หน้าที่ 504 ว่า “ทุกมัสยิดในดุนยามีซุนนะห์ให้ทำการเอียะอ์ติกาฟ ไม่ใช่เฉพาะแค่ 3 มัสยิด ตามที่ปรากฏรายงานจากท่านฮุซัยฟะห์ อิบนุ้ลญะมาลว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า “ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจาก 3 มัสยิด” ซึ่งเป็นฮะดีษฏออีฟ โดยมีข้อบ่งชี้จากคำของอิบนุมัสอู๊ดในตอนท้ายที่ระบุถึงความอ่อนของฮะดีษบทนี้ว่า “หวังว่าพวกเขาถูกต้องและท่าน (ฮุซัยฟะห์) อาจจะผิดก็ได้ และพวกเขาได้จดจำกันอย่างดีแต่ท่าน (ฮุซัยฟะห์) อาจจะลืมก็เป็นได้” ซึ่งคำพูดนี้ทำให้ฮะดีษบทนี้อ่อนทั้งด้านข้อชี้ขาดและด้านการรายงาน
ในด้านของข้อชี้ขาดคือคำพูดที่ว่า “พวกเขาถูกต้องและท่านอาจจะผิดก็ได้” ส่วนทางด้านการรายงานคือคำพูดที่ว่า “พวกเขาได้จดจำกันอย่างดีแต่ท่านอาจจะลืมก็เป็นได้”

นอกจากนั้นท่านเชคบินบาซยังได้ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “การเอียะอ์ติกาฟที่นอกเหนือจากมัสยิดทั้ง 3 แห่งนั้นใช้ได้ แต่จะต้องเป็นมัสยิดที่มีการละหมาดญะมาอะห์ แต่ถ้ามัสยิดนั้นไม่มีการละหมาดญะมาอะห์การเอียะอ์ติกาฟก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน นอกจากผู้ที่บนไว้ว่า จะเอียะอ์ติกาฟจะทำการเอียะอ์ติกาฟที่หนึ่งที่ใดในสามมัสยิดนี้ ก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามนั้นเพื่อให้การบนนั้นสมบูรณ์” มัจมัวอุนฟะตาวา เล่มที่ 15 หน้าที่ 444


บางท่านอาจจะกล่าวว่า ข้อเขียนนี้จะหักล้างการตรวจสอบฮะดีษและการแจ้งสถานะฮะดีษของท่านอัลบานีย์เชียวหรือ ก็ต้องทำความเข้าใจว่า ผมมิบังอาจทำเช่นนั้น และมิได้มีเจตนาลบหลู่ปราชญ์อวุโสแห่งวงการฮะดีษร่วมสมัย (ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านด้วย) ผมเพียงแต่เก็บคำวิพากษ์เรื่องนี้จากบรรดานักวิชาการทั้งอดีตถึงปัจจุบัน และจับประเด็นจัดหมวดหมู่เสนอให้ท่านได้เห็นข้อเท็จจริง
อย่างไรก็ตามผมยังเห็นด้วยกับถ้อยความของท่านเชค อิบุอุซัยมีนที่ว่า
“หากฮะดีษของท่านฮุซัยฟะห์บินญะมาลที่ว่า ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากสามมัสยิดเท่านั้น เป็นฮะดีษถูกต้องไม่ข้อบกพร่องจริงๆ แล้วละก็ ถ้อยคำปฏิเสธในฮะดีษนั้นก็หมายถึงการปฏิเสธความสมบูรณ์ของภาคผล หมายถึงการเอียะอ์ติกาฟในสามมัสยิดนั้นมีผลบุญเปี่ยมล้น เนื่องจากความประเสริฐของทั้งสามมัสยิด ฉะนั้นจึงไม่ได้หมายความถึงการปฏิเสธว่าการเอียะอ์ติกาฟใมัสยิดอื่นใช้ไม่ได้ ตัวอย่าง (ในทำนองนี้) เช่นคำพูดของท่านรอซูลที่กล่าวว่า لاَ صلاة بحضرة طعام “ไม่ใช่การละหมาดขณะที่อาหารถูกนำมาวาง” ฟะตาวาอัศศิยาม หน้าที่ 493
ตัวอย่างฮะดีษที่เชค อิบนุอุซัยมีน นำมาเสนอเปรียบเทียบนี้ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งก็คือ คำปฏิเสธนั้นไม่ได้เป็นข้อตัดสินว่าสิ่งดังกล่าวใช้ไม่ได้เสียทีเดียว หากแต่บางครั้งก็เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมในอีกด้านหนึ่ง เช่นการละหมาดในขณะที่อาหารถูกนำมาวางก็ไม่ได้หมายความว่าการละหมาดจะใช้ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น

เชค อิบนุอุซัยมีนได้ชี้สถานะของฮะดีษวิพากษ์นี้ไว้ก่อนแล้วว่า ฏออีฟ แต่กรณีตัวอย่างที่ท่านนำมากล่าวนี้หมายถึงกรณีที่ หากว่า ฮะดีษวิพากษ์นั้นมีความถูกต้อง ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับคำวิจารณ์นี้ เพราะเป็นถ้อยความที่รอมชอมโดยไม่ทำฝ่ายใดต้องเสียจุดยืน วัลลอฮุอะอ์ลัม









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-01-09 (5089 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]