ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



วิพากษ์ฮะดีษกุรอยบ์




ฮะดีษกุรอยบ์ หรือที่คนบ้านเราเรียกกันติดปากว่า ฮะดีษกุเรบ เป็นฮะดีษต้นเอกเกือบทุกปี เมื่อถึงฤดูกาลเข้าบวชหรือออกบวช หลายกลุ่มหลายมุมมอง ต่างก็หยิบเอาฮะดีษบทนี้ไปอ้างเป็นหลักฐานให้แก่ทัศนะของตนเองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ถือ “มัฏละอ์” หรือกลุ่มที่ยึดประเทศใครประเทศมัน และ ฯลฯ แต่ที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นกลุ่มดาราศาสสตร์ น้องใหม่ไฟแรงที่ก็อ้างฮะดีษกุเรบกับเขาด้วยเหมือนกัน


ข้อเขียนต่อไปนี้ไม่มีเจตนาจะหักล้างทัศนะของผู้ใด แต่จะชี้ประเด็นให้เห็นถึงเป้าหมายของฮะดีษตามที่ระบุอยู่ในถ้อยความของรายงานเท่านั้น



ตัวบทฮะดีษกุรอยบ์


عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الفَضْلِ بِنْتَ الحَارِثِ بَعَثَتْهُ اِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَامِ قَالَ فَقَدِمْتُ الشَامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَليَّ رَمَضَانُ وَأنَا بِالشَامِ فَرَأيْتُ الهِلاَلَ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ المَدِيْنَةَ فِي آخِرِ الشَهْرِ فَسَألَنِي عَبْدُ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الهِلاَلَ فَقَالَ مَتَى رَأيْتُمُ الهِلاَلَ فَقُلْتُ رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ فَقَالَ أنْتَ رَأيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لكِنَّا رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ السَبْتِ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَلاَ تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ لاَ هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ


รายงานจากกุรอยบ์ว่า อุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม เขากล่าวว่า ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้ว ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวัศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉันแล้วก็คุนกันเรื่องเดือนเสี้ยว เขาถามว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวกันเมื่อไหร่ ฉันตอบว่า พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์ เขาถามต่อว่า ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ฉันตอบว่า ใช่ครับ และคนอื่นๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ก็ถือศีลอด เขากล่าวว่า แต่พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน ฉันถามว่า การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ เขาตอบว่า ไม่ อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา”


บันทึกฮะดีษ

ตัวบทฮะดีษนี้มีอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 629 สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2084 สุนันอบีดาวู๊ด ฮะดีษเลขที่ 1985 เป็นต้น
แต่สำนวนรายงานที่นำเสนอนี้จากบันทึก “ศอเฮียะฮ์มุสลิม” ของท่านอิหม่ามมุสลิม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด ฮะดีษเลขที่ 1819

ผู้รายงานฮะดีษ

ฮะดีษบทนนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านรอซูลได้เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการสนทนาระหว่างศอฮาะห์กับตาบีอีน คือท่านอิบนุอับอับาส ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านเป็นปราชญ์ในหมู่ศอฮาบะห์ ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ กุรอยบ์ มีชื่อเต็มว่า กุรอยบ์ อิบนุ อบีมุสลิม อัลฮาซิมีย์ มีสร้อยว่า อบูรุชดีน เป็นตาบีอีนรุ่นกลาง มีถิ่นฐานอยู่ที่มะดีนะห์ และเสียชีวิตที่มะดีนะห์ ในปีที่ 98 ฮิจเราะห์ศักราช

ประเภทฮะดีษ

เหตุการณ์และตำพูดที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้ประกอบด้วย
1 – คำพูดของกุรอยบ์ ที่อ้างการกระทำของศอฮาบะห์ชื่อ มุอาวิยะห์ อิบนิอบีซุฟยาน และชาวแค้วนชาม
2 – คำพูดของกุรอยบ์ในกานสนทนากับศอฮาบะห์คือท่านอิบนุอับบาส
3 – คำพูดของท่านอิบนุอับบาสในการสนทนาซักถาม และตอบคำถามแก่กุรอยบ์
4 – คำพูดของอิบนิอับบาสที่อ้างถึงคำสอนของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม

สิ่งที่เป็นมาตรฐานอันดับแรกจากทั้ง 4 ประการนี้ก็คือข้อที่ 4 คือการที่ท่านอิบนิอับบาสอ้างคำพูดของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม ที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงจัดอยู่ในประเภท ฮะดีษมัรฟัวฮ์ หมายถึงการที่ศอฮาบะห์อ้างการรายงานถึงท่านนบี ด้วยเหตุนี้คำของท่านอิบนิอับบาสจึงไม่ใช่ประเด็นการวินิจฉัย “อิจติฮาต” ของท่านเองอย่างที่บางคนเข้าใจ

ประเด็นวิเคราะห์

ก่อนที่จะเริ่มบทวิเคราะห์ ขอตั้งข้อสักเกตเล็กน้อยว่า เหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้มีมุมมองหลายกรณีด้วยกันคือ
- แค้วนชามตามที่ถูกกล่าวในฮะดีษนี้บางท่านกล่าวว่า คือประเทศซีเรียในปัจจุบัน แต่ความจริงแล้ว ชาม เป็นแคว้นในอดีตที่มีอณาเขตกว้างใหญ่มาก ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ของประเทศซีเรียเท่านั้น แต่ยังรวมถึง อิรัค จอร์แดน เลบานอนในปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นการที่ให้ความหมาย “ชาม” ว่าประเทศซีเรียนั้นจึงยังไม่ถูกต้องนัก
- กุรอยบ์ได้ออกเดินทางจากมดีนะห์ไปที่ชามก่อนที่จะเข้าสู่เดือนรอมฏอน และได้ไปเริ่มต้นถือศีล อดที่นั่น
- การสื่อสารและการส่งข่าวในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกว่าที่ชาวมะดีนะห์จะรู้ข่าวเรื่องการเข้าเดือนรอมฏอน ก็ล่วงเลยมาจนถึงปลายเดือน ขณะที่กุรอยบ์เดินทางกลับมาจากชามแล้ว
- กุรอยบ์ได้กลับมาที่นครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการดูเดือน และชาวมะดีนะห์ก็ยังถือศึลอดไม่ครบ 30 วันตามคำของอิบนุอับบาสที่ว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”

ปัญหามีอยู่ว่า การที่กุรอยบ์กลับมาถึงมะดีนะห์ในตอนปลายเดือนนั้น จะใช้เงื่อนไขใด ในการชวนท่านอิบนิอับบาสออกบวช เพระชาวมะดีนะห์ก็ยังไม่มีการดูเดือน อีกทั้งยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”
หรือว่าการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอนเพียงอย่างเดียวเพียงพอแล้วสำหรับการออกบวช โดยไม่ต้องดูจันทร์เสี้ยวตอนปลายเดือนและก็ยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่กุรอยบ์ได้กล่าวว่า “การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ” ซึ่งหมายถึงการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอน จะใช้กำหนดการออกบวชได้เลยอย่างนั้นหรือ

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นประเด็นของการตั้งข้อสังเกตเท่านั้น มิใช่ประเด็นวิเคราะห์ที่เราจะนำมาเป็นผลเลิศในการตัดสินข้อขัดแย้ง เพราะเนื่องจากคำพูดของอิบนุอับบาสที่อ้างคำสอนของท่านนบีที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ยังคงปรากฏอยู่ และถ้าหากเราไม่ใส่ใจคำของท่านนบีแต่ไปเอาคำของคนอื่นหรือเหตุการณ์อื่นมาเป็นผลเลิศละก็ แสดงว่าเรากำลังหลงประเด็นและกำลังเสียจุดยืนในการตออะฮ์ต่อท่านรอซูลอย่างแน่นอน

ฉะนั้นประเด็นที่เราต้องทำความเข้าใจจากฮะดีษบทนี้ก็คือคำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” แม้ว่าจะเป็นคำของท่านอิบนิอับบาส แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างถึงคำสอนของท่านนบี ที่ท่านได้เคยสอนแก่ศอฮาบะห์ไว้แล้ว ปัญหามีอยู่ว่า อย่างนี้แหละ ที่ท่านอิบนิอับบาสพูดถึง คืออย่างไหนกันแน่ เราลองมาพิจารณากันทีละข้อดังนี้

1 – ถ้า อย่างนี้แหละ หมายถึงประเทศใครประเทศมันตามที่มีบางท่านกล่าวอ้าง เราก็ต้องกลับไปดูว่า เคยมีคำสอนจากท่านรอซูลหรือไม่ ที่จริงแล้วประเด็นนี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะในขณะที่ท่านนบีประกาศอิสลามนั้นยังไม่มีขอบเขตของประเทศตามที่ปรากฏในแผนที่ขณะนี้ หรือการกล่าวว่า ชามก็คือประเทศซีเรียในปัจุบันก็เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ฉะนั้นการอ้างว่าท่านรอซูลเคยใช้เฉพาะประเทศใครประเทศมันนั้น เป็นการกุเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย และ เราก็คงตัดประเด็นนี้ออกไป

2 – ถ้าอย่างนี้แหละหมายถึงเมืองใครเมืองมันตามที่ท่านรอซูลเคยใช้ เราก็กลับไปตรวจสอบจากคำสอนของท่านรอซูลอีกเช่นกันว่า มีไหมที่ท่านรอซูลเคยใช้ไว้เช่นนี้ ก็ปรากฏว่าหาตัวบทหลักฐานมาสนับสนุนในทัศนะนี้ไม่ได้ ประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปเช่นเดียวกัน

3 – ถ้าอย่างนี้แหละที่หมายถึงมัฏละอ์ คือระยะที่ขึ้นของเดือน ก็ยิ่งไม่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูล ฉะนั้นประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปด้วยเช่นกัน

4 – หรือ อย่างนี้แหละ ที่หมายถึง เอาเฉพาะที่ใกล้ๆ เคียงกัน ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า คำว่าใกล้ หรือไกล นั้นผู้ใดจะเป็นผู้กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่พบในคำสอนของท่านรอซูลด้วยเช่นกัน จึงต้องตัดประเด็นนี้ออกไปด้วย

5 – หรือ อย่างนี้แหละ หมายถึงการให้เอาระยะทางละหมาดย่อเป็นเกณฑ์ ก็ยิ่งเป็นการเอาฮุก่มคนละเรื่องมาโยงกัน ซึ่งในทางปฏิบัติก็ยิ่งจะเกิดความโกลาหลอย่างแน่นอน และในบ้านเมืองของเราคงต้องเกิดฮุก่มใหม่กลายเป็นเมืองใครเมืองมัน จังหวัดใครจังหวัด ซึ่งไม่ปรากฏว่าท่านรอซูลได้เคยสอนเรื่องนี้มาก่อน

ถ้าเช่นนั้น คำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” คือประเด็นไหนกันแน่

หากเราได้ย้อนกลับไปทบทวนข้อความของอิบนุอับบาสที่ได้กล่าวไว้ก่อนที่ท่านจะพูดประโยคนี้เพียงเล็กน้อย เราจะพบคำของท่านดังต่อไปนี้คือ “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน” อย่างนี้ท่านรอซูลเคยใช้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้สำรวจดูแล้วก็ปรากฏว่าท่านรอซูลเคยสั่งใช้ในประเด็นนี้จริงๆ ซึ่งมีรายงานอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น
ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ

หรือหากจะมองประเด็นที่เกี่ยวข้องจากเหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในเนื้อหาของฮะดีษ นั่นคือการเป็นพยาน เพราะกุรอยบ์เพียงผู้เดียวที่กลับมารายงานเรื่องการเห็นเดือนตอนเข้ารอมฏอนที่ชามแก่อิบนิอับบาส แต่ที่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูลนั้น การแจ้งข่าวเรื่องการเห็นเดือนเพื่อออกจากรอมฏอน จะต้องมีพยานยืนยันจำนวน 2 คน เป็นอย่างน้อย
ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า

عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا


“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง”
บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991

และนี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท่านรอซูลเคยใช้ ซึ่งเป็นอีกประการหนึ่งของการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และไม่ได้ออกนอกกรอบจากเนื้อหาของฮะดีษเลย

สรุปว่า คำของอิบนิอับบาสที่กล่าวว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ได้ชี้ให้เห็นถึงคำสอนของท่านรอซูลสองประการด้วยกันคือ
1 – การเข้าและออกจากเดือนรอมฏอนโดยการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น และหากไม่มีผู้ใดเห็นก็ให้นับเดือนรอมฏอนให้ครบ 30 วัน
2 – หากมีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายืนยันเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น ก็ให้มุสลิมถือปฏิบัติตามการยืนยันนั้น

ทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งที่ท่านรอซูลได้เคยใช้เหล่าศอฮาบะห์จริงๆ ตามตัวบทที่ได้แสดงแล้วข้างต้น แต่ไม่ทราบว่าเพระเหตุใดจึงมีผู้นำเอาฮะดีษบทนี้ไปชี้ประเด็นอื่นๆที่หาหลักฐานมาอธิบายไม่ได้ อย่างนี้มิเท่ากับเป็นการบิดเบือนเป้าหมายคำของท่านอิบนิอับบาสตามที่ปรากฏในฮะดีษกุรอยบ์นี้หรอกหรือ วัลลอฮุอะอ์ลัม









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-01-14 (7318 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]