ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ตอนที่ 26 ฮะดีษเมากูฟ





               เรายังอยู่ในประเด็นของการอ้างถึงแหล่งที่มาของฮะดีษ ซึ่งท่านได้ทราบมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ฮะดีษบทใดที่อ้างถึงท่านรอซูล ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จะถูกเรียกว่า ฮะดีษมัรฟัวอ์ และเช่นเดียวกัน ฮะดีษบทใดที่อ้างถึงคำพูดหรือการกระทำของศอฮาบะห์ จะถูกเรียกว่า مَوْقُوْفٌ   “ฮะดีษเมากูฟ” ซึ่งเป็นฮะดีษที่สายรายงานสุดแค่ศอฮาบะห์ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำของศอฮาบะห์ที่ท่านนบีมิได้รับทราบด้วย


            ฮะดีษเมากูฟยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  أَثَرٌ  “อะษัร”  มีความหมายว่า ร่องรอย โดยบรรดานักวิชาการด้านฮะดีษและฟิกฮ์ มักจะเรียกฮะดีษที่สืบถึงท่านนบีว่า “มัรฟัวอ์” หรือ “ค่อบัร”   และเรียกฮะดีษที่สืบถึงศอฮาบะห์ว่า “เมากูฟ”   หรือ “อะษัร”  ตัวอย่างตำราฮะดีษที่นักวิชาการได้รวบรวมไว้โดยจำแนกประเภทฮะดีษระหว่าง ฮะดีษมัรฟัวอ์ (ค่อบัร) กับฮะดีษเมากูฟ (อะษัร) เช่นหนังสือชื่อ  معرفة السنن والآثار   ของท่านอิหม่ามบัยฮาบีย์ เป็นต้น


                ในการเรียกฮะดีษที่สืบถึงศอฮาบะห์ว่า “เมากูฟ” หรือ “อะษัร” นั้นเป็นการเรียกโดยพิจารณาถึงแหล่งที่มาเพียงอย่างเดียว โดยยังไม่ได้พิจารณาความถูกต้องของสายรายงาน,ตัวผู้รายงาน หรือเนื้อหาของฮะดีษ เพราะฉะนั้น ฮะดีษเมากูฟ หรือ อะษัร ที่สืบถึงแค่ระดับศอฮาบะห์นี้ อาจจะศอเฮียะห์ (ดีเลศ) ฮะซัน (ดีพอใช้ได้) ฏออีฟ (อ่อน) หรือเมาฏัวอ์ (เก้) ก็อาจเป็นได้



ตัวอย่างฮะดีษเมากูฟ
 

عَنْ جَرِيْرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ البَجَلِيِّ قَالَ كُنَّا نَرَى الاجْتِمَاعَ اِلَى أهْلِ المَيِّتِ وَصَنْعَةَ الطَعَامِ مِنَ النِيَاحَةِ

ท่านญะรีร บินอับดิลลาฮ์ อัลบะญะลีย์ รายงานว่า พวกเราเห็นว่าการรวมตัวกันที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและการทำอาหาร (ที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต) เป็นส่วนหนึ่งจากนิยาหะฮ์ สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 1601

             หมายเหตุ  นิยาหะฮ์ คือพิธีกรรมไว้ทุกข์แบบญาฮิลียะฮ์

ฮะดีษเมากูฟที่อยู่ในสถานะเดียวกับมัรฟัวอ์ 

               ยังมีฮะดีษอีกลักษณะหนึ่งที่ก้ำกึ่ง คือเป็นคำพูดและการกระทำของศอฮาบะห์ที่คล้ายกับว่าจะอ้างถึงท่านนบีด้วยเช่น การที่บรรดาศอฮาบะห์กล่าวว่า  أُمِرْنَا  แปลว่า พวกเราถูกใช้ หรือ  نُهِيْنَا   แปลว่า พวกเราถูกห้าม ซึ่งการกล่าวเช่นนี้พิจารณาได้ว่า ท่านนบีเป็นผู้ใช้หรือเป็นผู้ห้ามพวกเขา เพราะฉะนั้นบรรดานักวิชาการฮะดีษส่วนใหญ่จึงจัดให้ฮะดีษเมากูฟประเภทนี้อยู่ในสถานะเดียวกับฮะดีษมัรฟัวอ์ คือหมายถึงฮะดีษที่อ้างถึงท่านนบีด้วย ตัวอย่างเช่น 

عَنْ أُمِّ عَطِيَّةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ نُهِيْنَا عَنِ اِتِّبَاعِ الجَنَائِزِ وَلَمْ يُعْزَمْ عَلَيْنَا  

อุมมุนอะฏียะห์ ร่อดิยัลลอฮุอานฮา รายงานว่า พวกเราถูกห้ามตามส่งศพ แต่ก็ไม่ถึงกับห้ามเด็ดขาด” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1199

 
عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ أُمِرَ بِلالٌ أنْ يَشْفَعَ الأذانَ وَأنْ يُوْتِرُ الاقَامَةَ

ท่านอะนัสบินมาลิก รายงานว่า บิลาลถูกใช้ให้อะซานจำนวนคู่ และให้อิกอมะห์จำนวนคี่” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 572


                หรืออีกกรณีหนึ่งคือคำพูดหรือการกระทำของบรรดาศอฮาบะห์ที่รายงานว่า  كُنَّا نَقُوْلُ    พวกเราได้เคยกล่าวกันว่า  และ   كُنَّا نَفْعَلُ   พวกเราได้เคยกระทำ หรือ   كُنَّا نَرَى   พวกเราได้เคยเห็นว่า หรือ مِنَ السُنَّةِ    จากซุนนะห์เช่นนี้  ซึ่งคำรายงานเหล่านี้ได้อ้างถึงคำพูดและกระทำของศอฮาบะห์ ไม่ว่าพวกเขาจะพูดหรือกระทำในขณะที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม โดยฮะดีษประเภทเหล่านี้แม้จะเป็นฮะดีษเมากูฟแต่บรรดาญุมฮูร (ปวงปราชญ์ด้านฮะดีษ) ก็จัดให้อยู่ในสถานะมัรฟัวอ์ด้วย ตัวอย่างเช่น

عَنْ جَابِرٍ قَالَ كُنَّا نَعْزِلُ عَلى عَهْدِ رَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ

ท่านญาบิรได้รายงานว่า พวกเราเคยหลั่งอสุจินอกช่องคลอดในยุคของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 4808

 
عَنْ جَابِرٍقَالَ كُنَّا نَأْكُلُ لُحُوْمَ الخَيْلِ عَلَى عَهْدِ رَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ 
 

ท่านญาบิรได้รายงานว่า พวกเราเคยกินเนื้อม้าในยุคของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” บันทึกโดยอิหม่ามนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 4256

                ตัวอย่างฮะดีษทั้งสองบทข้างต้นนี้ ท่านฮาฟิตอบูบักร์ อัลอิสมาอิลีย์ กล่าวว่าเป็นฮะดีษเมากูฟ หมายถึงสุดสายรายงานที่ศอฮาบะห์ชื่อ ญาบิรเท่านั้น แต่บรรดานักวิชาการฮะดีษส่วนใหญ่ให้สถานะของฮะดีษทั้งสองบทและฮะดีษทำนองนี้ว่าเป็น ฮะดีษมัรฟัวอ์ คืออ้างถึงท่านนบีด้วย (ดูตัดรีบุ้ลรอวีย์ หน้าที่ 186)
 

                อีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นการกระทำของศอฮาบะห์ที่ถูกจัดให้อยู่ในสถานะมัรฟัวอ์เช่น

 عَنْ عَطَاءِ بْنِ أَبِى رَبَاحٍ قَالَ صَلىَ بِنَا اِبْنُ الزُبَيْرِ فِى يَوْمِ عِيْدٍ فِى يَوْم جُمُعَةٍ أَوَّلَ النَهَارِ ثُمَّ رُحْنَا اِلىَ الجُمُعَةِ فَلَمْ يَخْرُجْ اِلَيْنَا فَصَلَيْنَا وُحْدَانًا وَكاَنَ ابْنُ عَبَّاسٍ بِالطَائِفِ فَلَمَّا قَدِمَ ذَكَرْنَا ذَلِكَ لَهُ فَقَالَ أَصَابَ السُنَّةَ  

รายงานจากอะฏออ์ อิบนิอบีรอบาฮ์ว่า ท่านอิบนุซุบัยร์ได้นำเราละหมาดอีดซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตอนเช้า และเมื่อเราได้ไปละหมาดวันศุกร์ ท่านก็ไม่ได้ออกมานำเราละหมาด พวกเราจึงต่างคนต่างละหมาด ขณะนั้นท่านอิบนุอับบาสอยู่ที่เมืองฏออิฟ เมื่อท่านกลับมาเราจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง ท่านกล่าวว่า ถูกต้องตรงตามซุนนะห์แล้วบันทึกโดยอบูดาวู๊ด ฮะดีษที่ 905

               อิบนุซุบัยร์เป็นศอฮาบะห์ของท่านรอซูล ซึ่งการกระทำของท่านในรายงานข้างต้นนี้ถูกกำกับด้วยคำของท่านอิบนุอับบาสว่า “ถูกต้องตรงตามซุนนะห์แล้ว” ฉะนั้นจึงถือว่า ฮะดีษบทนี้เป็นฮะดีษเมากูฟที่อยู่ในสถานะมัรฟัวอ์ด้วยเช่นกัน

          ประเด็นที่น่าติดตามก็คือ คำของศอฮาบะห์ที่อ้างถึงนบี แต่ถูกแย้งด้วยคำของศอฮาบะห์อีกท่านหนึ่ง อย่างนี้จะพิจารณาว่าเป็นฮะดีษมัรฟัวอ์หรือฮะดีษเมากูฟกันแน่ ตัวอย่างเช่น

قَالَ حُذَيْفَةُ لِعَبْدِ اللهِ يَعْنِي ابْنَ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ مررتُ عَلى أُنَاسٍ عَكُوف بَيْنَ دَارِكَ وَدَارِ أَبِِي مُوْسَى وَقَدْ عَلِمْتَ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لاَ اِعْتِكَافَ اِلاَّ فِي المَسْجِدِ الحَرَامِ أو قَالَ فِي المَسْجِدِ الثَلاَثَةِ فَقَالَ عَبْدُ اللهِ لَعَلَّكَ نَسِيْتَ وَحَفِظُوا وَأخْطَأْ تَ وَأَصَابُوا

“ท่านฮุซัยฟะห์ได้กล่าวแก่อับดุลลอฮ์ หมายถึง อิบนิมัสอู๊ดว่า ฉันได้ผ่านผู้คนที่ทำการเอียะอ์ติกาฟ
(ในมัสยิด) ระหว่างบ้านของท่านกับบ้านของอบีมูซา ทีจริงแล้วท่านก็ทราบว่า ท่านรอซูลุ้ลลออ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า ไม่มีการเอียะอ์ติกาฟนอกจากในมัสยิดฮะรอม หรือในสามมัสยิดเท่านั้น ท่านอับดุลลอฮ์ได้ตอบว่า หวังว่าท่านอาจจะหลงลืมแต่พวกเขาจดจำมาก็ได้ หรือว่าท่านจะผิดแต่พวกเขาถูกก็เป็นได้บันทึกโดยท่านอิหม่ามบัยฮะกีย์

          ฮะดีษข้างต้นนี้เป็นรายงานการสนทนาระหว่างศอฮาบะห์สองท่านคือ ท่านฮุซัยฟะห์ บินญะมาล กับท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิมัสอู๊ด ซึ่งปกติแล้วคำของท่านฮุซัยฟะห์ที่อ้างถึงท่านนบีนั้นก็ต้องถือว่าเป็นฮะดีษมัรฟัวอ์อย่างแน่นอน เพราะสุดคำรายงานที่ท่านนบี แต่ปัญหาก็คือท่านอิบนิมัสอู๊ดได้แย้งคำรายงานนี้ (หมายถึงท่านอิบนิมัสอู๊ดแย้งคำรายงานของท่านฮุซัยฟะห์ที่อ้างนบี ไม่ใช่แย้งคำท่านนบี) ด้วยคำพูดที่ว่า “หวังว่าท่านอาจจะหลงลืมแต่พวกเขาจดจำมาก็ได้ หรือว่าท่านจะผิดแต่พวกเขาถูกก็เป็นได้” นอกจากนั้นการกระทำของบรรดาผู้คนที่กำลังเอียะติกาฟกันอยู่ คือเหล่าศอฮาบะห์และตาบีอีนที่การกระทำของพวกเขาค้านกับคำรายงานของท่านฮุซัยฟะห์ จึงกลายเป็นประเด็นขัดแย้งของนักวิชาการในการให้สถานะของฮะดีษบทนี้ว่า เป็นฮะดีษมัรฟัวอ์ หมายถึงสิ้นสุดที่ท่านนบี หรือเป็นฮะดีษเมากูฟ คือเป็นคำพูดของท่านฮุซัยฟะห์เอง และการกระทำของผู้คนหมายถึงศอฮาบะห์และเหล่าตาบีอีนที่กำลังเอียะติกาฟกันอยู่นั้น พวกเขาได้ร่อยรอยมาอย่างไร ทำไมอิบนิมัสอู๊ดจึงให้การยอมรับ

          ท่านผู้อ่านคงให้น้ำหนักและมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า ฮะดีษพิพาทนี้อยู่ในสถานะใด ระหว่างมัรฟัวอ์ กับเมากูฟ  แต่ผมให้แง่คิดกับท่านเล็กน้อยว่า

          เบาๆ กันหน่อย   เพราะหันซ้ายก็โดนศอฮาบะห์ หันขวาก็โดนศอฮาบะห์

          อะกีดะห์จะแกว่งนะขอรับท่าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2007-03-21 (2071 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]