ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ตอนที่ 1 พื้นฐานของนิกะห์มุตอะฮ์เป็นที่ต้องห้ามในอิสลาม




เป้าหมายการแต่งงานตามวิถีทางของอิสลาม  


            การที่ชายและหญิงจะมีเพศสัมพันธ์กันนั้น เขาทั้งสองจะต้องเป็นสามี-ภรรยา โดยผ่านการนิกะห์ตามข้อบัญญัติของศาสนา มิเช่นนั้นแล้วจะถือว่า การอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาเป็น การทำซินา หรือการละเมิดประเวณี ซึ่งเรื่องนี้เป็นพื้นฐานจากคำสอนของอิสลามที่เราทราบกันดี


                 เป้าหมายของการนิกะห์คือการสร้างครอบครัว การอยู่ร่วมกันบนความรักความอบอุ่น ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

 
وَمِنْ آيَاتِهِ أنْ خَلَقَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ أزْوَاجاً لِتَسْكُنُوا إلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُمْ مَوَدَّةً وَرَحْمَةً إنْ فِي ذَلِكَ لآيَاتٍ لِقَوْمٍ يَتَفَكَّرُوْنَ 


และหนึ่งในบรรดาสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ สร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อเจ้าจะได้อยู่ร่วมกับนาง และได้ทรงทำให้มีความรักและความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นสัญญาณแก่หมู่ชนที่พิจารณา (ซูเราะฮ์อัรรูม อายะห์ที่ 21)



                มะอ์กิล บิน ยะซาร รายงานว่า


 جَاءَ رَجُلٌ اِلَى النَبِيِ صَلّى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : إِنِّي أَصَبْتُ امْرَأةً ذَاتَ حَسَبٍ وَجَمَالٍ وَإنَّهَا لاَ تَلِدُ أَفَأَتَزَوَّجُهَا قَالَ لا ثُمَّ أتَاهُ الثَانِيَّةَ فَنَهَاهُ ثُمَّ أتَاهُ الثَالِثَةَ فَقَالَ تَزَوَّجُوا الوَدُوْدَ الوَلُوْدَ فَإنِِّي مُكَاثِرٌ بِكُمْ الأُمَمَ 


ชายผู้หนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า ฉันต้องใจหญิงผู้หนึ่งซึ่งเธอมีความเพียบพร้อม อีกทั้งยังสวยงาม แต่ทว่าเธอไม่สามารถมีบุตรได้ ฉันจะแต่งงานกับเธอดีไหม ท่านตอบว่า ไม่สมควร หลังจากนั้นเขาได้มาหาท่านเป็นครั้งที่สอง แล้วท่านได้ปรามเขา ต่อมาเขามาหาท่านอีกเป็นครั้งที่สาม ท่านตอบว่า พวกท่านจงแต่งงานกับหญิงที่ให้กำเนิดบุตร เพราะฉันจะเอาพวกท่านไปอวดกับประชาชาติอื่นๆ" (สุนันอบีดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1754)


  ให้เลือกคนดีเป็นคู่ครอง  


               พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า




وَأنْكِحُوا الأيَامَى مِنْكُمْ وَالصَّالِحِيْنَ مِنْ عِبَادِكُمْ وَإمَائِكُمْ

และพวกเจ้าจงแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และ (แต่งงาน) กับบรรดาคนที่ดีจากบ่าวชายและบ่าวหญิงของพวกเจ้า (ซูเราะห์ อันนูร อายะห์ที่ 32)



               ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า




تُنْكَحُ المَرْأَةُ لأرْبَعٍ لِمِالِهَا وَلِحَسَبِهَا وَلِجَمَالِهَا وَلِدِيْنِهَا فَاظْفَرْبِذَاتِ الدِيْنِ تَرِبَتْ يَداكَ 

สตรีที่ถูกเลือกแต่งงานด้วยนั้นมีสี่ประการคือ ทรัพย์ของนาง,ตระกูลของนาง,ความสวยของนาง และศาสนาของนาง ดังนั้นจงพิจารณาหญิงที่มีศาสนาเถิด (ศอเฮียะฮ์บุคอรี ฮะดีษเลขที่ 4700)



ข้อเสนอแนะของอิสลามสำหรับผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานได้



              
พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า



  وَلْيَسْتَعْفِفِ الَّذِيْنَ لاَ يَجِدُوْنَ نِكاَحاً حَتَّى يُغْنِيَهُمُ اللهُ مِنْ فَضْلِهِ 


และผู้ที่ไม่มีความสามารถจะแต่งงานได้ ก็ให้เขาข่มความใคร่ จนกว่าอัลลอฮ์จะให้เขามั่งคั่งจากความโปรดปรานของพระองค์ (ซูเราะห์ อันนูร อายะห์ที่ 33)



                ท่านบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ชี้แนะให้ผู้มีความสามารถแต่งงาน เพื่อเป็นลดสายตา และรักษาอวัยวะสงวน ส่วนผู้ไม่มีความสามารถนั้น ท่านนบีแนะนำให้ถือศีลอด


 مَنِ اسْتَطَاعَ البَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالْصَوْمِ فَإِنَّهُ لَهُ وِجَاءٌ 


ผู้ใดที่มีความพร้อมก็จงแต่งงานเถิด เพราะมันทำให้สายตาลดต่ำลง และป้องกันอวัยวะสงวน แต่หากผู้ใดไม่สามารถ เขาก็ควรถือศีลอด เพราะมันเป็นเกราะป้องกัน (บุคอรี ฮะดีษเลขที่ 1772)



                อัลกุรอานและฮะดีษของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม บางส่วนตามที่เสนอข้างต้นนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่า ข้อบัญญัติของอิสลามจะให้ความสำคัญกับการแต่งงาน เพื่อสร้างสถาบันครอบครัว บนพื้นฐานของความรักความอบอุ่น ไม่ใช่แค่เพียงการปลดเปลื้องความใคร่เท่านั้น



                และนอกจากข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแต่งงานโดยตรง เช่น กฏเกณฑ์,เงื่อนไข,วิธีการของการแต่งงาน ก็ยังมีข้อบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง, อิดดะห์, มรดก และ ฯลฯ



มุตอะฮ์


               มุตอะฮ์  ( متعة  ) ภาษาอาหรับคำนี้ สื่อความหมายได้หลายนัยยะ  เช่น  มุตอะตุ้ลฮัจญ์ ( متعة الحج  )  หมายถึงการทำฮัจญ์ตะมัตตัวอ์ และ มุตอะตุ้ลนิซาอ์ (  متعة النساء  ) หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์กับสตรี หรือที่เรียกว่า นิกะห์มุตอะห์ นั่นเอง

                ดังนั้นการกล่าวแต่เพียงคำว่า มุตอะฮ์  (  متعة  ) อาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของคำพูด และนี่เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ลัทธิชีอะฮ์อิหม่ามอิหม่ามสิบสอง ได้นำเอาตัวบทหลักฐานที่พูดเกี่ยวกับเรื่อง การทำฮัจญ์ตะมัตตัวอ์ ไปบิดเบือน แอบอ้าง เป็นหลักฐานเรื่อง นิกะห์มุตอะฮ์ (รายละเอียดของประเด็นนี้จะนำมาชี้แจง ในลำดับถัดไป อินชาอัลลอฮ์)


มุตอะตุ้ลนิซาอ์


            การมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราว หรือที่เรียกว่า นิกะห์มุตอะฮ์ (การแต่งงานชั่วคราว) นั้น ไม่มีคำสั่งใช้หรือคำสั่งสนับสนุนให้กระทำดังเช่นข้อบัญญัติในเรื่องการแต่งงานตามที่กล่าวข้างต้น ทว่า นิกะห์มุตอะฮ์ มีพื้นฐานที่ต้องห้ามในอิสลาม แต่ได้รับการผ่อนปรนให้ปฏิบัติได้เป็นครั้งคราวในยุคต้นของอิสลาม ก่อนที่จะมีบัญญัติห้ามถาวรในที่สุด


           
ขอทำความเข้าใจคำว่า พื้นฐานที่ต้องห้าม และ พื้นฐานที่อนุมัติ  ดังนี้

 

1 พื้นฐานที่อนุมัติ หมายถึง นิกะห์มุตอะฮ์เป็นเรื่องทีมีการอนุมัติแต่ดั่งเดิม และมีคำสั่งห้ามเป็นครั้งคราว  แต่มิใช่เช่นนั้น เนื่องมีคำสั่งห้ามถาวร (ไม่ใช่ห้ามชั่วคราว) จากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ดังนี้

 الرَبِيْعُ بْنُ سَبْرَةَ الجُهَنِّيُ عَنْ أَبَيْهِ أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنِ المُتْعَةِ وَقَالَ : الا إِنَّهَا حَرَامٌ مِنْ يَوْمِكُمْ هَذاَ إلى يَوْمِ القِيَامَةِ 

อัรรอเบีอะอ์ บิน ซับเราะฮ์ รายงานจากพ่อของเขาว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามมุตอะฮ์ โดยกล่าวว่า แท้จริงมันเป็นสิ่งต้องห้าม นับจากวันที่พวกเจ้าอยู่นี้ตราบจนวันกิยามะห์ (ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2509)

 

2 พื้นฐานที่ต้องห้าม หมายถึง นิกะห์มุตอะฮ์ เป็นเรื่องที่ต้องห้ามแต่ดั่งเดิม แต่มีการอนุมัติเป็นครั้งคราว ซึ่งหลักฐานห้ามการอนุมัติเป็นครั้งคราวนั้น เช่นคำรายงานที่ชีอะฮ์นำมาแสดงเองดังต่อไปนี้

               อิบนุมัสอูด ถือว่านิกาห์มุตอะ เป็นนิกาห์ฮะลาล ท่านกล่าวว่า

 ثم رخص لنا أن ننكح المرأة بالثوب إلى أجل  ดังมีรายงานในศอฮีฮ์มุสลิม ดังนี้

 
اخرج  مسلم في صحيحه في باب نكاح المتعة عن اسماعيل عن قيس قال: سمعت عبدالله يقول: كنا نغزو مع رسول الله ليس لنا نساء فقلنا ألا نستخصي فنهانا عن ذلك ثم رخص لنا أن ننكح المرأة بالثوب إلى أجل 

นั่นคือ ในบาบอันนิกาห์ จากอิสมาอีล จาก กิซ  (ตรงนี้ชีอะฮ์อ่านชื่อผิด ที่ถูกต้องคือ กอยซ์) กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอับดุลลอฮ์ กล่าวว่า พวกเราได้ออกไปทำสงครามกับท่านรอซูล โดยไม่มีภรรยาติดตามไปด้วย แล้วพวกเรากล่าวว่า พวกเราจะไม่เป็นขันทีกันดอกหรือ แล้วท่านนบีก็ห้ามเราในเรื่องนั้น ต่อมา ท่านได้อนุโลมให้พวกเราทำนิกาห์กับสตรีด้วยผ้า (ใช้ผ้าเป็นมะฮัร) เป็นการนิกาห์กันชั่วคราว ดังมีฮะดีษเล่าเรื่องนี้ ตามบันทึกในศอฮีฮ์มุสลิม

             หลักฐานต้นนี้ ชีอะฮ์ได้นำเอามาแสดงแล้วระบุว่า ท่านนบีอนุญาตให้นิกะห์มุตอะฮ์ได้ แต่พวกเขาไม่มีความละเอียดรอบคอบในทางวิชาการ เนื่องจากคำว่า   رَخَّصَ لَنَا     ที่ระบุอยู่ในตัวบทฮะดีษนั้น มิได้หมายถึงการอนุญาตถาวร แต่มีความหมายว่า ได้ผ่อนปรนให้แก่พวกเรา ซึ่งหมายถึงเป็นการอนุโลมให้กระทำได้ชั่วคราวเท่านั้น และทั้งๆที่ชีอะฮ์ก็แปลเองว่า ท่านได้อนุโลมให้พวกเราทำนิกาห์กับสตรีด้วยผ้า (ใช้ผ้าเป็นมะฮัร) เป็นการนิกาห์กันชั่วคราว แต่ทำไมชีอะฮ์จึงเข้าใจผิด และพาให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า ท่านนบีอนุญาตเป็นการถาวรเล่า 

               ดังนั้นเราจึงพูดว่า พื้นฐานของนิกะฮ์มุตอะฮ์  เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลาม แต่อนุมัติให้กระทำได้เพียงครั้งคราว  และคำว่าอนุญาตให้กระทำเป็นครั้งคราวในที่นี้ หมายถึงในช่วงต้นของอิสลามเท่านั้น ตามที่ชีอะฮ์ได้สำแดงข้อความจากหนังสือตัฟซีร อัตฏอบะรีย์ ว่า
 

 وقال الجمهور : المراد نكاح المتعة الذي كان في صدر الإسلام 

ญุมฮูรอุละมากล่าวว่า หมายความว่าการนิกาห์มุตอะนั้น เป็นเรื่องที่มีในยุคแรกๆของอิสลาม
 

                เมื่อนิกะห์มุตอะฮ์มีพื้นฐานที่ต้องห้ามในอิสลาม แต่ได้รับการผ่อนปรนเป็นครั้งคราว ดังนั้นเราจึงพบว่า ตำราบันทึกฮะดีษมากมาย จะมีฮะดีษเกี่ยวกับคำสั่งห้าม และคำอนุมัติเป็นครั้งคราวระบุไว้คู่กัน เช่นในบันทึกฮะดีษของท่านอิหม่ามบุคอรี, มุสลิม,ติรมีซีย์,นะซาอีย์ อิบนิมาญะห์,มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด,อัลบัยฮะกีย์ เป็นต้น

                แต่สิ่งที่แปลกประหลาดก็คือ เหล่าชีอะฮ์มักจะไปนำเอาฮะดีษที่กล่าวถึงการอนุมัติเป็นครั้งคราว มาแสดงแก่ผู้คนว่า นี่คือหลักฐานอนุญาตถาวร ขณะเดียวกันก็ปิดบังตัวบทที่ระบุถึงคำสั่งห้ามไว้  มิหนำซ้ำ พอมีใครนำเอาตัวบทคำสั่งห้ามมาแสดง พวกเขากลับปฏิเสธ หรือไม่ก็กล่าวว่า เป็นฮะดีษอุปโลกน์ ทั้งๆที่ฮะดีษเหล่านั้นกล่าวไว้คู่กัน, อยู่ในตำราเดียวกัน และมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่น



عَنْ عَليِ بْنِ أبِي طَالِبٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنْ مُتْعَةِ النِسَاءِ يَوْمَ خَيْبَرَ وَعَنْ أَكْلِ لُحُوْمِ الحُمَرِ الإنْسِيَّةِ

รายงานจากอาลี อิบนิ อบีฏอลิบ แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคาราวกับสตรี ในวันคอยบัร และห้ามการกินเนื้อลาบ้าน”

           หากชีอะฮ์จะแย้งว่า ตัวบทหลักฐานที่นำมาแสดงนี้เป็นเท็จ ดังที่อ้างว่า อุละมาประจำราชสำนักของกาหลิบและสุลต่านในสมัยหลังทำขึ้น”  ก็จำต้องนำข้อมูลทางวิชาการมาหักล้าง เพื่อยืนยืนในคำพูดของตัวเอง  มิใช่กล่าวพล่อยๆ โดยไม่แสดงข้อมูลทางวิชาการใดๆ เลย  เพราะวิธีการเยี่ยงนี้ไม่ใช่เป็นวิธีการของนักวิชาการ แต่เป็นวิธีการของ อันธพาล   









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-11-02 (14564 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]