ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



ไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉันนอกจากฉันหรืออาลี




               นับเป็นความพยายามของเหล่าชีอะห์เหลือเกิน ที่สืบค้นฮะดีษต่างๆ ในตำราของชาวซุนนะห์ มาเป็นหลักฐานว่า ท่านนบีได้แต่งตั้งท่านอาลีไว้ก่อนที่ท่านจะสิ้นชีวิต แต่เนื่องจากไม่มีตัวบทอันใดที่ชัดเจนจนสามารถนำมาเป็นหลักฐานตามที่พวกเขากล่าวอ้างได้  ดังนั้นการแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จึงเป็นการคว้ากันมาคนละทิศละทางอย่างสะเปะสะปะ  ซึ่งได้นำมาแสดงและชี้แจงให้เห็นก่อนหน้านี้แล้ว หลายบทด้วยกัน และที่จะนำมาชี้แจงกัน ณ.ที่นี้ ก็คืออีกบทหนึ่งที่จะยืนยันข้อความที่ผมกล่าวมาข้างต้น

             ชีอะห์กล่าวอ้างว่า ก่อนที่ท่านนบีจะเสียชีวิตนั้น ท่านได้แต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ดูแลศาสนาอิสลามและอุมมะห์ของท่านเอาไว้แล้ว แต่ต่อไปนี้คือตัวบทและคำแปลของชีอะห์ที่ถูกนำมาแสดงตามเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้



             "ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) ได้บอกกล่าวถึงผู้นำ ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลดีนอิสลามและอุมมัตอิสลามเอาไว้แล้วเช่น

 حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ آدَمَ وَابْنُ أَبِي بُكَيْرٍ قَالَا حَدَّثَنَا إِسْرَائِيلُ عَنْ أَبِي إِسْحَاقَ عَنْ حُبْشِيِّ بْنِ جُنَادَةَ قَالَ يَحْيَى بْنُ آدَمَ السَّلُولِيُّ وَكَانَ قَدْ شَهِدَ يَوْمَ حَجَّةِ الْوَدَاعِ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلِيٌّ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُ وَلَا يُؤَدِّي عَنِّي إِلَّا أَنَا أَوْ عَلِيٌّ وَقَالَ ابْنُ أَبِي بُكَيْرٍ لَا يَقْضِي عَنِّي دَيْنِي إِلَّا أَنَا أَوْ عَلِيٌّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ

مسند أحمد ج 35 ص 374  ح 16853السلسلة الصحيحة للشيخ الالباني  ج 4  ص 479 ح 1980 

ยะห์ยา บินอาดัมและอิบนุอบีบุกัยรฺเล่าให้เราฟัง ทั้งสองกล่าวว่า อิสรออีลเล่าให้เราฟัง จากอบีอิสฮ๊าก จากฮุบชี บินญุนาดะฮ์กล่าวว่า : ยะห์ยา บินอาดัม อัสสะลูลีเล่าว่า เขาเคยอยู่ในวันฮัจญะตุลวิดาอ์ เขาเล่าว่า  : ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า  : อะลีมาจากฉัน และฉันมาจากเขา และไม่มีใครจะทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อะลี
และอิบนุบุกัยรฺได้เล่าต่อว่า  :  ไม่มีใครจะชดใช้หนี้สินของฉันแทนฉัน นอกจากฉันหรืออะลี

 ดูมุสนัดอะหมัด เล่ม 35 : 374 หะดีษ 16853 และซิลซิละตุซ ซ่อฮีฮะฮ์ เล่ม 4 : 479 หะดีษ 1980  ตรวจทานโดยเชคอัลบานี"


               ตัวบทฮะดีษตามที่ชีอะห์ได้นำเอามาอ้างนั้นมีอยู่ในตำราฮะดีษของชาวซุนนะห์จริง และก็เป็นฮะดีษที่ชาวซุนนะห์ยอมรับเช่นกัน หากแต่ผู้แปลได้จงใจบิดเบือนความหมาย และสื่อไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ของฮะดีษ ซึ่งหากผู้อ่านไม่พิจารณาคำแปลและข้อความที่เขาชี้นำอย่างรอบคอบ ก็อาจจะหลงเคลิ้มไปกับความเท็จที่พวกเขาหยิบยื่นให้ ซึ่งจะนำมาชี้แจงให้เห็นดังนี้


                ประการที่หนึ่ง

                  ข้อความที่ชีอะห์พยายามทำให้สมจริงสมจังกับข้ออ้างที่ว่า ท่านนบีได้แต่งตั้งท่านอาลีก่อนที่จะเสียชีวิต ด้วยการนำข้อความมาแสดงว่า
 

لايؤدي عني الا أنا أو علي
 
แล้วแปลมั่วว่า “ไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อะลี”
 

                ข้อความในข้างต้นนี้ต้องการสื่อความหมายให้เราเข้าใจหรือว่า ท่านอาลีถูกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนในการเป็นนบีและรอซูล หลังจากที่ท่านนบีได้เสียชีวิตแล้ว แน่นอน !! ย่อมเป็นไปไม่ได้

                ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 وَأنَا العَاقِبُ وَالعَاقِبُ الَّذِي لَيْسَ بَعْدَهُ نَبِيٌّ 

“และฉันคือผู้ที่ปิดท้าย และผู้ที่ปิดท้ายนั้น คือผู้ซึ่งที่ไม่มีนบีหลังจากเขาอีก”
ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 4342


                 ดังนั้นคำว่าทำหน้าที่แทน จึงไม่ได้หมายถึง การเป็นนบีหรือรอซูล แม้ในยามที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่หรือตายจากไปแล้วก็ตาม


                 ประการที่สอง

               คำแปลของชีอะห์ในประโยคที่ว่า “ไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉันได้ นอกจากฉัน หรือ อะลี” เป็นการแปลมั่ว โดยไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงตามที่ระบุในตัวบทของฮะดีษ เนื่องจากคำว่า  يؤدي  มีความหมายโดยทั่วไปว่า “ปฏิบัติภารกิจของตัวเอง” เช่น ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 
الخَازِنُ الأَمِيْنُ الَّذِي يُؤَدِّي مَا أُمِرَبِهِ 

“ขุนคลังผู้ซื่อสัตย์ คือผู้ซึ่งปฏิบัติภารกิจตามสิ่งที่เขาถูกใช้ด้วยกับมัน” 
ศอเฮียะห์บุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 2100

                 แต่เมื่อคำนี้ประกอบรวมกับคำว่า  يؤدي  ประกอบรวมกับคำว่า  عن และอยู่ในรูปประโยคว่า  يؤدي عن  จะมีความหมายว่า “ปฏิบัติภารกิจแทน"

               ฉะนั้นถ้อยคำในฮะดีษที่ว่า  يؤدي عني   จึงมีความหมายว่า “ปฏิบัติภารกิจแทนฉัน”  ซึ่งถ้าหากกล่าวด้วยถ้อยคำประโยคนี้เพียงอย่างเดียวก็มิอาจทราบได้ว่า ภารกิจที่ถูกมอบหมายให้ทำแทนนั้นเป็นเรื่องใด  ดังนั้นจึงจำต้องพิจารณาข้อความอื่นประกอบด้วย มิใช่จะทึกทักเอาเองอย่างที่ชีอะห์ได้นำเสนอ
               แต่โดยปกติแล้วสำนวนภาษาอาหรับจะสื่อความหมายชัดเจนในตัวเอง เช่นกล่าวว่า   تصدق عن   แปลว่า “บริจาคแทน” อย่างนี้เป็นต้น ส่วนคำว่า   يؤدي عن  ที่ถูกนำมาใช้โดยส่วนใหญ่จะหมาย “การใช้หนี้แทน” ซึ่งข้อความถัดมาที่ชีอะห์นำมาอ้างเองก็ระบุถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า
 
وَقَالَ ابْنُ أَبِي بُكَيْرٍ لَا يَقْضِي عَنِّي دَيْنِي 

อิบนุอบี บุกัยร์ กล่าวว่า
“ไม่มีผู้ใดใช้หนี้ของฉันแทนฉัน”
 
 

                ดังนั้นคำว่า لا يؤدي عني   จึงมีความหมายว่า “ไม่มีผู้ใดใช้หนี้แทนฉัน”  ไม่ใช่แปลมั่วดั่งที่ชีอะฮ์แปลว่า “ ไม่มีใครทำหน้าที่แทนฉัน”  ซึ่งเป็นการสื่อความหมายที่ผิดและบิดเบือนอย่างชัดเจน


               ประการที่สาม

                ชีอะห์ได้จั่วหัวข้อเอาไว้ว่า “ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้บอกกล่าวถึงผู้นำ ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลดีนอิสลามและอุมมัตอิสลามเอาไว้แล้ว”  และได้นำเอาฮะดีษที่ท่านนบีมอบให้อาลีใช้หนี้แทนมาเป็นหลักฐาน ซึ่งเป็นการบิดเบือนอย่างหาที่เปรียบมิได้
                 แต่หากจะกล่าวถึงผู้ที่ท่านนบีแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนในกรณีต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวนี้  ก็มีหลายท่านและหลายเหตุการณ์ด้วยกัน เช่น การแต่งตั้งให้ท่านมุอาซ บิน ญะบัล เป็นตัวแทนในการประกาศอิสลามที่เยเมน  หรือการแต่งตั้งให้ท่านอบูบักร์ อัศศิดดีก เป็นอิหม่ามนำละหมาดแทนท่าน ขณะที่ท่านเจ็บหนักก่อนสิ้นชีวิต

                จากกรณีที่กล่าวมาสรุปได้ว่า

                ความรับผิดชอบโดยส่วนตัวนั้น (การใช้หนี้) ท่านนบีตั้งให้อาลีทำหน้าที่แทน
             แต่ความรับผิดชอบต่อประชาชาติ (การเป็นอิหม่าม) ท่านนบีตั้งให้อบูบักร์ทำหน้าที่แทน

                ระหว่างการตั้งให้ใช้หนี้แทน กับการตั้งให้เป็นอิหม่ามแทน ท่านคิดว่าอันใดเล่าที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ชีอะห์ได้กล่าวไว้ว่า “ทำหน้าที่ดูแลแทนในเรื่องศาสนาและอุมมะห์”  แน่นอนและชัดเจนอยู่แล้วว่า การตั้งให้เป็นอิหม่ามนั้น คือความรับผิดชอบต่อประชาชาติ  ถ้าเช่นนั้น เหล่าชีอะฮ์ต้องยกให้ท่านอบูบักร์เป็นอิหม่ามอันดับหนึ่งของพวกเขาด้วย  เอาไหม ? 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-11-19 (2212 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]