ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



อะรอฟะห์หรือฆ่อดีรคุม




               การโกหกคำรบสองของอุลามอ์ชีอะห์  l-umar จากเว็บ Q4

 ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺได้เล่าว่า 
:  

  أنبأنا عبد الله بن علي بن محمد بن بشران أنبأنا علي ابن عمر الحافظ حدثنا ضمرة بن ربيعة القرشي عن ابن شوذب عن مطر الوراق عن شهر بن حوشب عن أبي هريرة قال مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?    พวกเขา (บรรดาซอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า : ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา  ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้) ท่านได้กลายเป็นเมาลาของฉันและเป็นเมาลาของมุสลิมทุกคนแล้ว    ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมาว่า   วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ 

อ้างอิงจาก  หนังสือตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษ 4392

  สิ่งที่อาจารย์ฟารีดพลาดท่าเสียฟอร์มก็คือ  ท่านไม่ได้ตรวจสอบสายรายงานหะดีษบทนี้ด้วยตัวเอง แต่แค่ไปขอยืมขี้ฟันอิบนุกะษีรที่ฮุก่มหะดีษบทนี้อย่างลวกๆว่า   เชื่อถือไม่ได้
 

  
บัดนี้เราถึงเวลามาพิสูจน์กันว่า   นักรายงานหะดีษบทนี้  เชื่อถือได้  หรือไม่ได้ดังนี้

أنبأنا عبد الله بن علي بن محمد بن بشران أنبأنا علي ابن عمر الحافظ حدثنا ضمرة بن ربيعة القرشي عن ابن شوذب عن مطر الوراق عن شهر بن حوشب عن أبي هريرة قال  


อุละมาอ์ซุนนี่เองได้ให้คำวิจารณ์ถึงบรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ไว้ดังนี้ เชิญท่านอ่านได้ทีละคนที่เวบนี้
 



http://www.q4sun.com/beleve/index.php?option=com_kunna&Itemd=71&func=view&catd=2&id=881&limit=6&limitstart=12



 
 เมื่อท่านได้อ่านคิวจารณ์แล้ว  คงประจักษ์ชัดว่า  อุละมาอ์ซุนนี่เองได้กล่าวว่า บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้ทุกคน   มีความษิเกาะฮ์  คือเชื่อถือได้ในการรายงาน  เมื่อสะนัดเชื่อถือได้   มะตั่น(ตัวบท)ก็ต้องถูกต้องใช่ไหมครับ

  
 ผมจึงใคร่ขอถามว่า   ใครกันล่ะที่โกหก  ถ้าจะว่ากันตามวิชาการ

เพราะฉะนั้นที่อาจารย์ฟารีดกล่าวว่า

(( หนังสือ ตารีคบัฆดาด โดยท่านคอตี๊บ อบูบักร์ อัลบัฆดาดีย์ เป็นหนังอ้างอิงทางด้านประวัติศาสตร์ และไม่ใช่ตำรามาตรฐานทางศาสนา มีทั้งส่วนจริงและเท็จคละเคล้ากันไป ))

 ก็ขอถามวาฮาบีอย่างอาจารย์ฟารีดว่า 

 ทั้งๆที่นักวิชาการซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัต-ตะอ์ดีลเขากล่าวว่า นักรายงานหะดีษบทนี้  เชื่อถือได้  แล้วท่านมีเหตุผลอันใดที่มาตัดสินว่า หะดีษบทนี้เชื่อถือไม่ได้ ???   หรือมาตรฐานของท่านคือ สิ่งที่ท่านไม่เอา สิ่งนั้นก็ใช้ไม่ได้ ???

 ก็ขอให้อัลลอฮ์ลงทัณฑ์ท่านด้วยที่ยังดื้อดึงปฏิเสธต่อหะดีษที่มีอิสนาดซอแฮะฮ์หากเก่งจิง ก็ขอให้ท่านช่วยพิสูจน์ความไม่น่าเชื่อถือสะนัดหะดีษนี้ ตามหลักวิชาการที่เขาใช้ตรวจสอบหะดีษด้วยการยกคำพูดอุละมาอ์ซุนนี่ทีละคนที่ฟันธงว่า บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้เชื่อถือไม่ได้มาแสดงด้วยคับ ไม่แค่ไปขอยืมขี้ฟันคนอื่นมาแปล  อย่างนี้เขาเรียกว่า ขี้เกียจไม่ทำการบ้านแล้วยังอวดเก่งอีก



......................................................


               ผมว่าเป็นการดีที่ชีอะห์จะชี้แจงทางวิชาการ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เรารู้ถึงระดับภูมิปัญญาของพวกเขา และเผยให้คนทั่วไปได้รับทราบอะกีดะห์ของพวกเขามากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมา บทความและข้อเขียนของผมเกี่ยวกับชีอะห์มีมากมาย แต่ยังไม่มีคำชี้แจงจากชีอะห์อย่างเป็นรูปธรรมเลย นอกจากการที่พวกเขาสร้างเรื่องโกหกเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือในตัวผมเท่านั้นเอง, เท่านั้นเองที่พวกเขากระทำได้

               ดังนั้นข้อความของชีอะห์ข้างต้นนี้ จึงถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกที่ชีอะห์ตอบโต้ข้อความของผมอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกในรายละเอียด ขอให้ท่านได้พบกับตัวบทฮะดีษที่ศอเฮียะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่มั่นคง จากตำราบันทึกฮะดีษที่ได้รับการยอมรับจากบรรดานักวิชาการทุกหมู่เหล่า


               
จากศอเฮียะห์บุคอรีย์ 


            قال رجل من اليهود لعمر : يا أمير المؤمنين ، لو أن علينا نزلت هذه الآية : { اليوم أكملت
لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } . لاتخذنا ذلك اليوم عيدا ، فقال عمر : إني لأعلم أي يوم نزلت هذه الآية ، نزلت يوم عرفة ، في يوم جمعة .
 
الراوي: عمر بن الخطاب المحدث: البخاري - المصدر: صحيح البخاري - الصفحة أو الرقم: 7268
خلاصة الدرجة: [صحيح]
 

“ชายผู้หนึ่งจากชาวยะฮูดได้กล่าวแก่ท่านอุมัรว่า
:  โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มีนีน หากอายะห์นี้ได้ถูกประทานให้แก่พวกเรา (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า) พวกเราจะเอาวันดังกล่าวนี้เป็นวันอีด อุมัร กล่าวว่า :  ฉันรู้ดีว่า วันใดที่อายะห์นี้ถูกประทานลงมา  มันถูกประทานลงมาวันอะรอฟะห์ ในวันศุกร์

 
ผู้รายงานคือ : อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ผู้เล่าคือ :  อัลบุคอรีย์ แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์บุคอรีย์ หน้าหรือเลขที่ :  7268
 สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์

 
 أن أناسا من اليهود قالوا : لو نزلت هذه الآية فينا لاتخذنا ذلك اليوم عيدا ، فقال عمر : أية آية ؟ فقالوا : { اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } . فقال عمر : إني لأعلم أي مكان أنزلت ، أنزلت ورسول الله صلى الله عليه وسلم واقف بعرفة .
 
الراوي: عمر بن الخطاب المحدث: البخاري - المصدر: صحيح البخاري - الصفحة أو الرقم: 4407
خلاصة الدرجة: [صحيح]  

“มีชาวยะฮูดกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า
:  หากอายะห์นี้ถูกประทานให้แก่พวกเรา พวกเราก็จะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด อุมัร กล่าวว่า อายะห์ใดหรือ ?  พวกเขากล่าวว่า (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)  อุมัร กล่าวว่า : ฉันรู้ดีว่าสถานที่ใดที่ถูกประทานลงมา  มันถูกประทานลงมาขณะที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม วุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ 

ผู้รายงานคือ
: อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ผู้เล่าคือ :  อัลบุคอรีย์ แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์บุคอรีย์ หน้าหรือเลขที่ :  4407
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


 
 أن رجلا من اليهود قال له : يا أمير المؤمنين ، آية في كتابكم تقرؤونها ، لو علينا معشر اليهود نزلت لاتخذنا ذلك اليوم عيدا . قال : أي آية ؟ قال : { اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } . قال عمر : قد عرفنا ذلك اليوم ، والمكان الذي نزلت فيه على النبي صلى الله عليه وسلم ، وهو قائم بعرفة يوم جمعة .
 
الراوي: عمر بن الخطاب المحدث: البخاري - المصدر: صحيح البخاري - الصفحة أو الرقم: 45
خلاصة الدرجة: [صحيح] 

“มีชายผู้หนึ่งจากชาวยะฮูดได้กล่าวแก่เขาว่า
:  โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มีนีน อายะห์หนึ่งในคัมภีร์ของพวกท่าน ที่พวกท่านได้อ่านมัน หากได้ถูกประทานให้แก่พวกเราเหล่ายะฮูด พวกเราก็จะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด เขากล่าวว่า อายะห์ใดหรือ ?  ชายผู้นั้นตอบว่า (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)   อุมัร กล่าวว่า แน่นอนว่าเรารู้ถึงวันดังกล่าว และสถานที่ที่ถูกประทานให้แก่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม คือขณะที่ท่านอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์เป็นวันศุกร์”

 
ผู้รายงานคือ : อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ ผู้เล่าคือ :  อัลบุคอรีย์ แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์บุคอรีย์ หน้าหรือเลขที่ :  45
 สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


 
                จากศอเฮียะห์มุสลิม


 
 أن اليهود قالوا لعمر : إنكم تقرؤن آية . لو أنزلت فينا لاتخذنا ذلك اليوم عيد . فقال عمر : إني لأعلم حيث أنزلت . وأي يوم أنزلت . وأين رسول الله صلى الله عليه وسلم حيث أنزلت . أنزلت بعرفة . ورسول الله صلى الله عليه وسلم واقف بعرفة . قال سفيان : أشك كان يوم جمعة أم لا . يعني : { اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي }
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: مسلم - المصدر: صحيح مسلم - الصفحة أو الرقم: 3017
خلاصة الدرجة: صحيح 

“ชาวยะฮูดได้กล่าวแก่ อุมัร ว่า :  พวกท่านได้อ่านอายะห์หนึ่ง หากได้ถูกประทานลงมาให้แก่พวกเรา พวกเราจะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด อุมัร กล่าวว่า :  ฉันรู้ดีขณะที่ประทานลงมา และวันที่ประทานลงมา และท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อยู่ที่ใดขณะที่ประทานลงมา  มันถูกประทานลงมาที่ทุ่งอะรอฟะห์ ขณะที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ ซุฟยาน (หนึ่งในผู้รายงาน)  กล่าวว่า ฉันไม่แน่ใจว่าจะเป็นวันศุกร์หรือเปล่า หมายถึง (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น )  
 

ผู้รายงานคือ
: ตอริก บินซิฮาบ  ผู้เล่าคือ :  มุสลิม  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์มุสลิม หน้าหรือเลขที่ :  3017 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


  جاء رجل من اليهود إلى عمر . فقال : يا أمير المؤمنين ! آية في كتابكم تقرؤونها . لو علينا نزلت ، معشر اليهود ، لاتخذنا ذلك اليوم عيدا . قال : وأي آية ؟ قال : { اليوم أكملت
لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } . فقال عمر : إني لأعلم اليوم الذي نزلت فيه . والمكان الذي نزلت فيه . نزلت على رسول الله صلى الله عليه وسلم بعرفات . في يوم جمعة .
 
الراوي: عمر بن الخطاب المحدث: مسلم - المصدر: صحيح مسلم - الصفحة أو الرقم: 3017
خلاصة الدرجة: صحيح 

“ชายชาวยะฮูดผู้หนึ่งได้มาหาอุมัร แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มีนีน อายะห์หนึ่งในคัมภีร์ของพวกท่านที่พวกท่านได้อ่านมัน หากประทานให้แก่พวกเราหล่ายะฮูด พวกเราก็จะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด เขากล่าวว่า อายะห์ใดหรือ เขาตอบว่า (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)    อุมัร กล่าวว่า ฉันรู้ดีถึงวันที่ประทานลงมา และสถานที่ที่ประทานลงมา มันถูกประทานลงมาขณะที่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ ในวันศุกร์”
 

ผู้รายงานคือ
:  อุมัร อิบนุ้ล ค๊อต๊อบ  ผู้เล่าคือ :  มุสลิม  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์มุสลิม หน้าหรือเลขที่ :  3017 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์

 
 قالت اليهود لعمر : لو علينا ، معشر يهود ، نزلت هذه الآية : { اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } ، نعلم اليوم الذي أنزلت فيه ، لاتخذنا ذلك اليوم عيدا . قال فقال عمر : فقد علمت اليوم الذي أنزلت فيه . والساعة . وأين رسول الله صلى الله عليه وسلم حين نزلت . نزلت ليلة جمع ونحن مع رسول الله صلى الله عليه وسلم بعرفات .
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: مسلم - المصدر: صحيح مسلم - الصفحة أو الرقم: 3017
خلاصة الدرجة: صحيح 

“ชาวยะฮูดได้กล่าวแก่ท่านอุมัรว่า
:  หากอายะห์นี้ประทานให้แก่พวกเราเหล่ายะฮูด (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)  และเรารู้ถึงวันที่ถูกประทานลงมา พวกเราก็จะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด  เขากล่าวว่า ท่านอุมัรได้กล่าวว่า แน่นอนว่าฉันรู้ถึงวันที่ถูกประทานลงมา, เวลา และท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อยู่ที่ไหนขณะที่ประทานลงมา มันถูกประทานลงมาในคืนมุดดะลิฟะห์ และพวกเราอยู่กับท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ที่ทุ่งอะรอฟะห์” 

ผู้รายงานคือ
:  ตอริก บิน ซิฮาบ  ผู้เล่าคือ :  มุสลิม  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์มุสลิม หน้าหรือเลขที่ :  3017 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


 
                จากสุนันอัลติรมีซีย์


 قرأ ابن عباس ( اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا ) وعنده يهودي فقال : لو أنزلت هذه الآية علينا لا تخذنا يومها عيدا ، فقال ابن عباس : فإنها نزلت في يوم عيدين : في يوم الجمعة ، ويوم عرفة
 
الراوي: عبدالله بن عباس المحدث: الترمذي - المصدر: سنن الترمذي - الصفحة أو الرقم: 3044
خلاصة الدرجة: حسن غريب من حديث ابن عباس وهو صحيح 

“อิบนิ อับบาส ได้อ่าน
(วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า) โดยมีชาวยะฮูดอยู่ที่นั่นด้วย เขากล่าวว่า : หากอายะห์นี้ถูกประทานให้แก่พวกเรา พวกเราก็จะเอาวันที่ประทานมาเป็นวันอีด อิบนุ อับบาส กล่าวว่า :  มันถูกประทานมาในวันสองอีดคือ :  ในวันศุกร์ และวันอะรอฟะห์”  

ผู้รายงานคือ
:  อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับบาส  ผู้เล่าคือ :  อัตติรมีซีย์  แหล่งที่มาคือ : สุนันอัตติรมีซีย์ หน้าหรือเลขที่ :  3044 
สรุปสถานะ : ฮะซัน ฆ่อรีบ (หมายถึงอิบนิอับบาสรายงานสำนวนนี้เพียงผู้เดียว) จากอิบนิ อับบาส แต่มัน ศอเฮียะห์


 قال رجل من اليهود لعمر بن الخطاب : يا أمير المؤمنين ، لو علينا أنزلت هذه الآية : ( اليوم أكملت
لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا ) لاتخذنا ذلك اليوم عيدا فقال عمر : إني لأعلم أي يوم أنزلت هذه الآية ، أنزلت يوم عرفة ، في يوم الجمعة
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: الألباني - المصدر: صحيح الترمذي - الصفحة أو الرقم: 3043
خلاصة الدرجة: صحيح 

“ชายผู้หนึ่งจากชาวยะฮูดได้กล่าวแก่อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบว่า
: โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มีนีน หากอายะห์นี้ถูกประทานลงมาให้แก่พวกเรา (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า) พวกเราก็จะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด อุมัร กล่าวว่า :  ฉันรู้ดีว่าวันใดที่อายะห์นี้ถูกประทานมา มันถูกประทานวันอารอฟะห์ ในวันศุกร์ 

ผู้รายงานคือ
:  ตอริก บิน ซิฮาบ  ผู้เล่าคือ :  อัลบานี  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์ของสุนันอัตติรมีซีย์ หน้าหรือเลขที่ :  3043 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


 
 قرأ ابن عباس ( اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا ) وعنده يهودي فقال : لو أنزلت هذه الآية علينا لا تخذنا يومها عيدا ، فقال ابن عباس : فإنها نزلت في يوم عيدين : في يوم الجمعة ، ويوم عرفة
 
الراوي: عمار بن أبي عمار المحدث: الألباني - المصدر: صحيح الترمذي - الصفحة أو الرقم: 3044
خلاصة الدرجة: إسناده صحيح 

“อิบนุ อับบาส ได้อ่าน (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า) ขณะที่มีชาวยะฮูดอยู่กับท่านด้วย เขากล่าวว่า หากอายะห์นี้ถูกประทานให้แก่พวกเรา พวกเราจะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด อิบนุ อับบาส กล่าวว่า มันถูกประทานมาในวันสองอีด คือในวันศุกร์ และวันอะรอฟะห์”
 
ผู้รายงานคือ :  อัมมาร บิน อบี อัมมาร  ผู้เล่าคือ :  อัลบานี  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์ของสุนันอัตติรมีซีย์ หน้าหรือเลขที่ :  3044 
สรุปสถานะ :  สายรายงานของมันศอเฮียะห์


 
 قال يهودي لعمر لو علينا نزلت هذه الآية لاتخذناه عيدا { اليوم أكملت لكم دينكم } قال عمر : قد علمت اليوم الذي أنزلت فيه ، والليلة التي أنزلت ، ليلة الجمعة ، ونحن مع رسول الله بعرفات
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: الألباني - المصدر: صحيح النسائي - الصفحة أو الرقم: 3002
خلاصة الدرجة: صحيح

“ชาวยะฮูด กล่าวแก่อุมัรว่า หากอายะห์นี้ประทานให้แก่พวกเรา พวกเราจะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว) อุมัร กล่าวว่า ฉันรู้ว่าวันใดที่อายะห์นี้ถูกประทานมา และคืนที่ถูกประทานมา คือคืนวันศุกร์ ขณะที่พวกเราอยู่กับท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ที่ทุ่งอะรอฟะห์”
 

ผู้รายงานคือ
:  ตอริก บิน ซีฮาบ  ผู้เล่าคือ :  อัลบานี  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์ของสุนันนะซาอีย์ หน้าหรือเลขที่ :  3002 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


  جاء رجل من اليهود إلى عمر بن الخطاب ، فقال يا أمير المؤمنين ! آية في كتابكم تقرءونها ، لو علينا - معشر اليهود - نزلت ، لاتخذنا ذلك اليوم عيدا ! قال : أي آية ؟ قال : { اليوم أكملت
لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا } ، فقال عمر : إني لأعلم المكان الذي نزلت فيه ، واليوم الذي نزلت فيه ! نزلت على رسول الله صلى الله عليه وسلم في عرفات ، في يوم جمعة
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: الألباني - المصدر: صحيح النسائي - الصفحة أو الرقم: 5027
خلاصة الدرجة: صحيح 

“ชายชาวยะฮูดผู้หนึ่งได้มาหาท่านอุมัร เขากล่าวว่า โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มีนีน อายะห์หนึ่งในคัมภีร์ของพวกท่านที่พวกท่านได้อ่านมัน หากประทานให้แก่พวกเราเหล่ายะฮูด พวกเราจะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด เขากล่าวว่า อายะห์ใดหรือ ?  เขาตอบว่า (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)  อุมัร กล่าวว่า : ฉันรู้ดีถึงสถานที่และวันที่ถูกประทานมา ! มันถูกประทานให้แก่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ที่อะรอฟะห์ในวันศุกร์
 

ผู้รายงานคือ
:  ตอริก บิน ซีฮาบ  ผู้เล่าคือ :  อัลบานี  แหล่งที่มาคือ : ศอเฮียะห์ของสุนันนะซาอีย์ หน้าหรือเลขที่ :  5027 
สรุปสถานะ :  ศอเฮียะห์


  أن اليهود قالوا لعمر : إنكم تقرؤن آية لو أنزلت فينا لاتخذنا ذلك اليوم عيدا فقال : إني لأعلم حيث أنزلت وأي يوم أنزلت وأين رسول الله صلى الله عليه وسلم حين أنزلت أنزلت يوم عرفة ورسول الله صلى الله عليه وسلم واقف بعرفة قال سفيان : وأشك يوم جمعة أو لا يعني { اليوم أكملت
لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا }
 
الراوي: طارق بن شهاب المحدث: أحمد شاكر - المصدر: مسند أحمد - الصفحة أو الرقم: 1/140
خلاصة الدرجة: إسناده صحيح 

“บรรดาชาวยะฮูดได้กล่าวแก่ท่านอุมัรว่า :  พวกท่านได้อ่านอายะห์หนึ่ง หากอายะห์นี้ถูกประทานให้แก่พวกเรา พวกเราจะเอาวันดังกล่าวเป็นวันอีด เขากล่าวว่า ฉันรู้ดีขณะที่ถูกประทานมา และวันที่ถูกประทานมา และท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม อยู่ที่ใดขณะที่ถูกประทานมา มันถูกประทานมาในวันอะรอฟะห์ และท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม วุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ ซุฟยาน (หนึ่งในผู้รายงาน)  กล่าวว่า :  ฉันไม่แน่ใจว่าจะเป็นวันศุกร์หรือไม่ หมายถึง
(วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าแก่พวกเจ้าเปี่ยมล้น และข้าพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาแก่พวกเจ้า)

ผู้รายงานคือ
:  ตอริก บิน ซีฮาบ  ผู้เล่าคือ :  อะห์หมัด ชากิร  แหล่งที่มาคือ : มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด หน้าหรือเลขที่ :  1/140 
สรุปสถานะ :  สายรายงานของมันศอเฮียะห์


               ความจริงแล้วยังมีตัวบทที่ศอเฮียะห์อีกเป็นจำนวนมาก และกระจายอยู่ในหลายบันทึก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าชีอะห์จะไม่รู้ไม่เห็นบรรดาฮะดีษเหล่านี้ หรืออาจจะเป็นด้วยอคติจึงทำให้พวกเขาหูตาพร่ามัว แล้วไขว่คว้าฮะดีษอื่นที่ถูกวิจารณ์เขามาเป็นหลักฐานว่า

 "ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺได้เล่าว่า 
:
 
   أنبأنا عبد الله بن علي بن محمد بن بشران أنبأنا علي ابن عمر الحافظ حدثنا ضمرة بن ربيعة القرشي عن ابن شوذب عن مطر الوراق عن شهر بن حوشب عن أبي هريرة قال مَنْ صَامَ يَوْمَ ثَمَانِ عَشْرَةَ مِنْ ذِي الْحِجَّةِ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ لَمَّا أَخَذَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِيَدِ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ فَقَالَ أَلَسْتُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ قَالُوْا بَلَى يَا رَسُوْلَ اللهِ قاَلَ مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ بَخٍ بَخٍ لَكَ ياَ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَصْبَحْتَ مَوْلاَيَ وَمَوْلَى كُلِّ مُسْلِمٍ فَأَنْزَلَ اللَّهُ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ

บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?    พวกเขา (บรรดาซอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า : ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา  ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้) ท่านได้กลายเป็นเมาลาของฉันและเป็นเมาลาของมุสลิมทุกคนแล้ว    ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมาว่า   วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 )

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ 
อ้างอิงจาก  หนังสือตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษ 4392"

               และการนำเสนอของชีอะห์นี้ก็ตัดทอนทั้งสายรายงานและเนื้อหา ซึ่งจะได้วิพากษ์ในลำดับถัดไป อินชาอัลลออ์  


               ขอถามวาฮาบีอย่างอาจารย์ฟารีดว่า  
 

               ทั้งๆที่นักวิชาการซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัต-ตะอ์ดีลเขากล่าวว่า นักรายงานหะดีษบทนี้  เชื่อถือได้  แล้วท่านมีเหตุผลอันใดที่มาตัดสินว่า หะดีษบทนี้เชื่อถือไม่ได้ ???   หรือมาตรฐานของท่านคือ สิ่งที่ท่านไม่เอา สิ่งนั้นก็ใช้ไม่ได้ ??? 

               คำตอบ 
                

               หากชีอะห์ถามเพื่ออยากได้ความรู้ ท่านก็ได้รับความรู้ก่อนหน้านี้แล้วคือ บรรดาฮะดีษศอเฮียะห์ที่ยืนยันว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ทุ่งอะรอฟะห์ นั้นไม่มีนักวิชาการสาขาอัลญุรฮุวัต-ตะอ์ดีล ผู้ใดแย้งว่า บรรดาผู้รายงานฮะดีษศอเฮียะห์เหล่านี้มีข้อบกพร่อง
               หากชีอะห์เชื่อมั่นต่อนักวิชาการของซุนนี่สาขาอัลญัรฮุวัต-ตะอ์ดีล ตามที่อ้าง ชีอะห์ก็คงจะยืนยันเหมือนดั่งที่ผมยืนยันว่า อายะห์นี้ถูกประทานที่ทุ่งอะรอฟะห์ เช่นเดียวกัน แต่ปรากฏว่ามิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากพวกเขาบิดบังหลักฐานศอเฮียะห์เหล่านี้ไว้ แล้วพยายามหาหลักฐานอื่นมาโต้แย้ง 

               ชีอะห์กล่าวว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ “ฆ่อดีรคุม” โดยอ้างตัวบทจากหนังสือ ตารีคบัฆด๊าด โดยอัลเคาะฏีบอัลบัฆดาดี เล่ม 8 : 289  หะดีษ 4392 แล้วแจ้งว่า   สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ 

               เราไม่ทราบว่า ผู้ใดเป็นคนให้สถานะฮะดีษบทนี้ว่า ศอเฮียะห์ หรือว่า ชีอะห์ทึกทักกันเอง เพียงแค่พบว่า ผู้รายงานเชื่อถือได้ (ตามที่เขาเข้าใจ)  ก็ทึกทักเอาว่า สายรายงานถูกต้อง และเนื้อหาคำรายงานถูกต้องไปด้วย อย่างนี้คือการเหมารวมโดยไม่มีพื้นฐานทางวิชาการเลย 

               ชีอะห์กล่าวว่า ท่านมีเหตุผลอันใดที่มาตัดสินว่า หะดีษบทนี้เชื่อถือไม่ได้ ???   หรือมาตรฐานของท่านคือ สิ่งที่ท่านไม่เอา สิ่งนั้นก็ใช้ไม่ได้ ??? 

               คำตอบคือ ไม่ใช่มาตรฐานหรือเหตุผลส่วนตัว ที่นึกจะเอาหรือทิ้งด้วยอารมณ์ของตนเอง เหมือนดั่งที่ชีอะห์ได้ทิ้งบรรดาฮะดีษศอเฮียะห์ที่ยืนยันว่า อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ทุ่งอะรอฟะห์ แต่ผมยึดหลักฐานเป็นหลัก และมีมาตรฐานทางวิชาการดั่งที่บรรดานักวิชาการฮะดีษได้ยึดถือ ซึ่งเป็นประเด็นที่ชีอะห์ยังไม่รู้

               ทั้งๆที่ผมเคยแนะนำการตรวจสอบฮะดีษเบื้องต้นในบทความของผมหลายต่อหลายครั้งว่า หลักใหญ่ของการพิจารณาฮะดีษ ประกอบด้วย 3 ประการคือ 

               1 – สายรายงาน
               2 – ตัวผู้รายงาน
               3 – เนื้อหาคำรายงาน 

               ฮะดีษศอเฮียะห์จะต้องผ่านกระบวนการพิจาณาทั้งสามประการนี้ มิใช่พิจารณาแค่ผู้รายงานแล้วทึกทึกเอาว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ ดั่งที่ชีอะห์โพทนา เหมือนกับต้องการประจานความเขลาของตนเอง 


               ข้อเสนอแนะ
 

               ก่อนจะวิเคราะห์ทางวิชาการ ขอเสนอแนะว่า 

               ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางวิชาการในเรื่องนี้ ท่านสามารถเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของตำราที่บันทึกเรื่องเหล่านี้ได้ด้วยตนเองคือ
 
               1. อายะห์นี้ถูกประทานลงมาที่ ทุ่งอะรอฟะห์ จากบันทึกของ บุคอรี,มุสลิม,ติรมีซีย์, นะซาอีย์, มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด และ ฯลฯ
               2. อายะห์นี้ถูกประทานที่ ฆ่อดีรคุม จากหนังสือตารีคบัฆด๊าด 

               ประเด็นเปรียบเทียบจากตำราที่บันทึกเรื่องนี้คงจะเป็นการง่ายที่ท่านจะพิจารณาแล้วให้คำตอบแก่ตัวเอง 

               แต่สำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เราจะไปเจาะลึกทางวิชาการด้วยกันดังนี้  



               วิเคราะห์สายรายงาน


 
أنبأنا عبد الله بن علي بن محمد بن بشران أنبأنا علي ابن عمر الحافظ حدثنا ضمرة بن ربيعة القرشي عن ابن شوذب عن مطر الوراق عن شهر بن حوشب عن أبي هريرة قال 

               สายรายงานที่ชีอะห์นำแสดงนี้ มีการตัดตอนผู้รายงานออกไปสองรายคือ 1. อบู นัศริน ฮับเซาน์ บิน มูซา บิน อัยยูบ อัลค่อลาล 2. อาลี บิน สอี๊ด อัรรอมลี  ซึ่งสายรายงานที่ถูกต้องมีดังนี้


 أَنْبَأَنَا عَبْدُ اللَّهِ بن علي بن محمد بْن بَشْرَانِ أَنْبَأَنَا عَلِيّ بْن عُمَر الْحَافِظُ حَدَّثَنَا أَبُوْ نَصْرٍ حَبْشوْن بْنُ مُوْسَى بْنُ أَيُّوْبَ الْخلاَلُ حَدَّثَنَا عَلِيُّ بْنَ سَعِيْدِ الرَّمْلِيّ حَدَّثَنَا ضَمْرَةُ بْنُ رَبِيعَةَ القرشي عَنِ بْنِ شَوْذَبٍ عَنْ مَطَرٍ الْوَرَّاقِ عَنْ شَهْرِ بْنِ حَوْشَبٍ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ : 

อับดุลลอฮ์ บิน อาลี บิน มูฮัมหมัด บินบัซรอน บอกกับเราว่า อาลี อิบนิ อุมัร อัลฮาฟิซ บอกกับเราว่า อบู นัศริน ฮับชูน บิน มูซา บิน อัยยูบ อัลค็อลลาล เล่าให้เราฟังว่า อาลี บิน สอี๊ด อัรรอมลี เล่าให้เราฟังว่า ดอมเราะห์ บิน รอบีอะห์ อัลกุรซีย์ เล่าให้เราฟังจาก อิบนิเชาชับ จากมะฏอริน อัลวัรร๊อก จาก ซะฮ์ บิน เฮาชับ จาก อบีฮุรอยเราะห์ 


               หากชีอะห์จะยืนยันข้อความตามที่แสดง ก็จะทำให้สายรายงานนี้ขาดตอนไปสองช่วงคน และจะทำให้สายรายงานนี้ฏออีฟไปทันที แต่เราจะให้โอกาสชีอะห์โดยถือเสียว่า เขาอาจจะพิมพ์ตกหล่นไปก็ได้  (แต่ตกหล่นไปสองคนสองช่วงนี้ไม่ธรรมดา)

               อย่างไรก็ตามสายรายงานของฮะดีษบทนี้ สิ้นสุดที่ อบูฮุรอยเราะห์  ซึ่งภาษาฮะดีษเรียกว่า “เมากูฟ” และคำพูดประโยคต่อไปนี้ก็เป็นคำพูดของอบูฮุรอยเราะห์ มิใช่คำพูดของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม คือ
 

“บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม” 

               ซึ่งประเด็นนี้เราจะได้นำมาชี้แจงในการวิเคราะห์เนื้อหา แต่สิ่งที่ทำให้เราแปลกใจระคนเวทนาก็คือ ทำไมหนอชีอะห์จึงเชื่อมั่นต่อ อบูฮุรอยเราะห์ เหลือเกิน เพราะเราเห็นบทความของชีอะห์ทั้งไทยและเทศ ต่างด่าประณามอบูฮุรอยเราะห์อย่างเสียๆ หายๆ แต่ ณ.ตอนนี้กลับจะเขาคำของ อบูฮุรอยเราะห์ เป็นมาตรฐานและถือเป็นบัญญัติศาสนาเสียด้วย 



               วิเคราะห์เนื้อหา 
 


               ตัวบทที่ชีอะห์นำเสนอนั้น ได้ตัดทอนเนื้อหาของฮะดีษออกไป ซึ่งข้อความที่สมบูรณ์ของฮะดีษบทนี้คือ

 من صام يوم ثمان عشرة من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهرا ، وهو يوم غدير خم ، لما أخذ النبي صلى الله عليه وسلم بيد علي بن أبي طالب ، فقال : ألست ولي المؤمنين ؟ قالوا : بلى يا رسول الله ، قال : من كنت مولاه فعلي مولاه ، فقال عمر بن الخطاب : بخ بخ لك يا ابن أبي طالب ! أصبحت مولاي ومولى كل مسلم ، فأنزل الله : اليوم أكملت لكم دينكم  ومن صام يوم سبعة وعشرين من رجب ، كتب له صيام ستين شهرا ، وهو أول يوم نزل جبريل عليه السلام على محمد صلى الله عليه وسلم بالرسالة  

               ในตอนท้ายของฮะดีษบทนี้ที่ขาดหายไปมีข้อความที่ระบุว่า
“และผู้ใดถือศีลอดวันที่ 27 ของเดือนรอญับ จะถูกบันทึกให้แก่เขาเท่ากับถือศีลอด 60 เดือน เพราะมันเป็นวันแรกที่ ญิบรีล อลัยฮิสสลาม ได้นำเอาสาสน์มาให้แก่ มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม”

               ข้อความในท่อนท้ายนี้เป็นคำพูดของ อบูฮุรอยเราะห์ เช่นเดียวกับข้อความในตอนต้นฮะดีษที่กล่าวว่า
“ผู้ใดถือศีลอดวันที่ 18 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ จะถูกบันทึกให้แก่เขาเท่ากับถือศีลอด 60 เดือน เพราะมันเป็นวัน ฆ่อดีรคุม”



               เนื้อหาของฮะดีษบทนี้คละเคล้าไปด้วยความเท็จคือ การถือศีลอด 1 วันเท่ากับถือศีอลอด 60 เดือน หรือเท่ากับ 5 ปี ถ้าถือศีลอด วันที่ 18 ซุ้ลฮิจญะห์ และวันที่ 27 เดือนรอญับ รวม 2 วัน จะเท่ากับถือศีออด 120 เดือน หรือเท่ากับ 10 ปี อย่างนี้คือการบรรยายสรรพคุณเกินจริง ในขณะที่ฮะดีษศอเฮียะห์ระบุว่า

 

أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : من صام رمضان ثم اتبعه ستا من شوال كان كصيام الدهر
 

“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
:  ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฏอนแล้วถือศีลอดต่ออีกหกวันในเดือน เชาวาล เท่านกับเขาถือศีลอดทั้งปี  ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1984

               อาจจะมีผู้แย้งว่า แล้วฮะดีษศอเฮียะห์ที่ระบุว่า การถือศีลอดวันอะรอฟะห์ จะได้รับการอภัยโทษถึงสองปี นั้นไม่เป็นการบรรยายสรรพคุณเกินจริงหรือ
               ขอชี้แจงว่า ฮะดีษเรื่องการถือศีลอดวันอะรอฟะห์นั้น มิได้กล่าวว่า เท่ากับเขาถือศีลอดสองปี แต่กล่าวถึงภาคผลที่จะได้รับคือการอภัยโทษในบาปเล็กสองปี ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน
               ท่านอิสมาอีล บิน มูฮัมหมัด อัลอิจลูนีย์ ได้กล่าววิจารณ์ว่า

 
أنه حديث منكر جدا بل كذب فقد ثبت في الصحيح أن صيام شهر رمضان بعشرة أشهر فكيف يكون صيام يوم واحد يعدل ستين شهرا ؟  هذا باطل
 

“ที่จริงแล้วมันเป็นฮะดีษมุงกัรอย่างรุนแรง ขั้นโกหก ซึ่งข้อยืนยันในศอเฮียะห์ระบุว่า การถือศีลอดเดือนรอมฏอนเท่ากับ 10 เดือน และจะเป็นไปได้อย่างไรเล่าที่การถือศีลอดเพียงวันเดียวจะเท่ากับ 60 เดือน
?  มันเป็นเรื่องเท็จ”  (กัฟซุลค่อฟาอ์ เล่ม 2 หน้าที่ 356)

               ส่วนการถือศีลอดในเดือนรอญับนั้น ท่านอิบนุ้ลเญาซีย์ ได้กล่าววิจารณ์เกี่ยวกับฮะดีษอุปโลกน์ในท้ายบทที่ว่าด้วยเรื่อง “การถือศีลอดเดือนรอญับ” ว่า


قال المؤتمن بن أحمد الساجي الحافظ : كان عبد الله الأنصاري لا يصوم رجب وينهى عن ذلك ويقول : ماصح في فضل رجب وفي صيامه عن رسول الله صلى الله عليه وسلم شيئ 



“อัลมุอ์ตะมิน บิน อะห์หมัด อัสซาญีย์ อัลฮาฟิซ กล่าวว่า
:  ท่านอับดุลลอฮ์ อัลอันศอรีย์ ไม่ได้ถือศีลอดเดือนรอญับ และห้ามในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งกล่าวว่า ไม่มีความถูกต้องเกี่ยวกับความประเสริฐของเดือนรอญับ และการถือศีลอดในเดือนดังกล่าว จากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แต่อย่างใด  (อัลเมาดูอาต เล่มที่ 2 หน้าที่ 208)

                 อัลมุอ์ตะมิน ผู้วิจารณ์เรื่องนี้เป็นบุคคลที่ “ซิเกาะห์”  ดูมีซานุ้ลเอียะอ์ติดาล เล่มที่ 4 หน้าที่ 198

                 ส่วนเนื้อความที่ว่า ในวันฆ่อดีรคุม นั้นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้จับมือท่านอาลีชูขึ้นแล้วกล่าวว่า....................) ผมได้วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ท่านสามาถอ่านได้จากบทความเรื่อง “ละครฉากนี้ที่ฆ่อดีรคุม” หรือตามลิงค์ด่านล่างนี้


http://www.fareedfendy.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=140




               เมื่อเนื้อหาของฮะดีษบทนี้ทั้งต้นและปลายเป็นเท็จ ข้อความที่เหลือจะอยู่ในสถานะใด เราไปติดตามคำวิจารณ์ของนักวิชาการดังนี้

               ท่านอิบนุญะรีร อัตตอบะรีย์ กล่าวว่า

 وقد أشار أن الآية نزلت ورسول الله صلى الله عليه وآله وسلم على عرفة يوم جمعة وبعضها في "الصحيحين" من حديث عمر، ثم قال ابن جرير: وأولى الأقوال في وقت نزول الآية: القول الذي روي عن عمر بن الخطاب: أنها نزلت يوم عرفة يوم جمعة؛ لصحة سنده، ووهي أسانيد غيره 


“อายะห์นี้ถูกประทานให้แก่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ที่อะรอฟะห์ในวันศุกร์  ซึ่งส่วนหนึ่งถูกระบุอยู่ในศอเฮียะห์ทั่งสอง (บุคอรีและมุสลิม) จากฮะดีษของอุมัร และ อิบนุญะรีร ได้กล่าวต่อไปอีกว่า คำพูดที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเวลาที่อายะห์นี้ถูกประทานลงมาก็คือ คำพูดที่ถูกรายงานจากอุมัร อิบนุ้ล ค๊อตต๊อบว่า
:   อายะห์นี้ถูกประทานมาวันอะรอฟะห์และเป็นวันศุกร์  ด้วยเหตุที่สายรายงานมีความถูกต้องว่า แต่สายรายงานอื่นจากนี้ไม่ชัดเจน (ตัฟซีร อัตตอบะรีย์ เล่มที่ 6 หน้าที่ 54)

               ท่านอิบนิ กะษีร ได้วิจารณ์ ว่า

قلت : وقد روي ابن مردويه من طريق أبي هارون العبدي عن أبي سعيد الخدري : أنها نزلت على رسول الله صلى الله عليه وسلم يوم غديرخم حين قال لعلي : (( من كنت مولاه فعلي مولاه )) ثم رواه عن أبي هريرة وفيه : أنه اليوم الثامن عشر من ذي الحجة يعني مرجعة عليه السلام من حجة الوداع ولا يصح هذا ولا هذا بل الصواب الذي لا شك فيه ولا مرية : أنها أنزلت يوم عرفة وكان يوم الجمعة كما روي ذلك أمير المؤمنين عمر بن الخطاب وعلي بن أبي طالب

“ฉัน (อิบนิกะษีร) กล่าวว่า อิบนุ มัรดุวิฮ์ ได้รายงานด้วยสายของ อบี ฮารูณ อัลอับดีย์ จาก อบี สะอี๊ด อัลคุดรีย์ ว่า : อายะห์นี้ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในวันฆ่อดีรคุม ขณะที่ท่านกล่าวกับอาลีว่า : ((ผู้ใดที่ฉันเป็นที่รักของเขา ดังนั้นอาลีก็เป็นที่รักของเขาด้วย)) หลังจากนั้นเขาได้รายงานจากอบี ฮุรอยเราะห์ โดยมีเนื้อหาเพิ่มเติมว่า : มันเป็นวันที่ 18 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ หมายถึงระหว่างท่านนบีเดินทางกลับจาก ฮัจญะตุ้ลวะดาอ์

               เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีความถูกต้องเลย ทว่าที่ถูกต้องโดยไม่มีข้อสงสัยเคลืบแคลงใดๆก็คือ : มันถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะห์ ซึ่งเป็นวันศุกร์ ตามที่ อมีรุ้ลมุอ์มีนีน อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ และอาลี อิบนิ อบีฏอลิบ ได้รายงานไว้” ตัฟซีร อิบนิกะษีร เล่มที่ 2 หน้าที่ 25 – 26 

               ท่านอิบนิกะษีร กล่าวว่า

 الطريق الذي قال الحافظ أبو بكر الخطيب البغدادي: ثنا عبد الله بن علي بن محمد بن بشران، أنا علي بن عمر الحافظ، أنا أبو نصر حبشون بن موسى بن أيوب الخلال، ثنا علي بن سعيد الرملي، ثنا ضمرة بن ربيعة القرشي، عن ابن شوذب، عن مطر الوراق، عن شهر بن حوشب، عن أبي هريرة قال: «من صام يوم ثماني عشرة من ذي الحجة كتب له صيام ستين شهرا وهو يوم غدير خم» لما أخذ النبي صلى الله عليه وآله وسلم بيد علي بن أبي طالب فقال: «ألست ولي المؤمنين؟» قالوا: بلى يا رسول الله! قال: «من كنت مولاه فعلي مولاه» فقال عمر بن الخطاببخ بخ لك يا ابن أبي طالب أصبحت مولاي ومولى كل مسلم» فأنزل الله عز وجل: (اليوم أكملت لكم دينكم) «ومن صام يوم سبعة وعشرين من رجب كتب له صيام ستين شهرا وهو أول يوم نزل جبريل بالرسالة
».

قال الخطيب: اشتهر هذا الحديث برواية حبشون وكان يقال إنه تفرد به، وقد تابعه عليه أحمد بن عبيد الله بن العباس بن سالم بن مهران المعروف بابن النبري، عن علي بن سعيد الشامي، قلت: وفيه نكارة من وجوه منها قوله: نزل فيه: (اليوم أكملت لكم دينكم)، وقد ورد مثله من طريق ابن هارون العبدي عن أبي سعيد الخدري ولا يصح أيضا، وإنما نزل ذلكيوم عرفة كما ثبت في الصحيحين عن عمر بن الخطاب 

              
รายงานที่ อัลฮาฟิซ อบูบักร์ อัลคอตีบ อัลบัคดาดีย์ ได้กล่าวไว้ว่า อับดุลลอฮ์ บิน อาลี บิน มูฮัมหมัด บินบัซรอน บอกกับเราว่า อาลี อิบนิ อุมัร อัลฮาฟิซ บอกกับเราว่า อบู นัศริน ฮับชูน บิน มูซา บิน อัยยูบ อัลค็อลลาล เล่าให้เราฟังว่า อาลี บิน สอี๊ด อัรรอมลี เล่าให้เราฟังว่า ดอมเราะห์ บิน รอบีอะห์ อัลกุรซีย์ เล่าให้เราฟังจาก อิบนิเชาชับ จากมะฏอริน อัลวัรร๊อก จาก ซะฮ์ บิน เฮาชับ จาก อบีฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า บุคคลใดได้ถือศีลอดในวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮฺ   จะถูกบันทึกสำหรับเขา(ว่าเขา)ได้ถือศีลอดถึง 60 เดือน และมัน( วันที18 )คือวันที่เฆาะดีรคุม  ตอนที่ท่านนบี(ศ)ได้จับมือท่านอะลี(ชูขึ้น) แล้วกล่าวว่า : ฉันคือผู้ปกครองของบรรดามุอฺมินทั้งหลายใช่หรือไม่ ?    พวกเขา (บรรดาซอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า : ใช่แล้วครับ โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่าน(ศ)จึงกล่าวว่า : บุคคลใดที่ฉันคือผู้ปกครองของเขา ดังนั้นอะลีก็คือผู้ปกครองของเขา  ท่านอุมัรบินคอตตอบได้กล่าวว่า : ขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย โอ้บุตรของอบูตอลิบ (บัดนี้) ท่านได้กลายเป็นเมาลาของฉันและเป็นเมาลาของมุสลิมทุกคนแล้ว    ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงประทานโองการนี้ลงมาว่า   วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว “และผู้ใดถือศีลอดวันที่ 27 ของเดือนรอญับ จะถูกบันทึกให้แก่เขาเท่ากับถือศีลอด 60 เดือน เพราะมันเป็นวันแรกที่ ญิบรีล อลัยฮิสสลาม ได้นำเอาสาสน์มาให้แก่ มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม”

               อัลค่อตีบ ได้กล่าวว่า เป็นที่รู้กันดีว่า ฮะดีษบทนี้มาจากการรายงานของ ฮับซูน และมีคำวิจารณ์ว่า เขารายงานเรื่องนี้มาเพียงคนเดียว ทว่ายังมีรายงานสำทับจาก อะห์หมัด บิน อุบัยดิลลาฮ์  บิน อัลอับบาส บินซาลิม บิน มิฮ์รอน หรือรู้จักกันในนาม อิบนุ นะบีรีย์ จาก อาลี บิน สอี๊ด อัชชามีย์ ฉันกล่าวว่า : ในคำรายงานงานนี้มีข้อบกพร่องอยู่หลายที่ด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ คำพูดของเขาที่บอกว่า อายะห์นี้ถูกประทานมาในวันดังกล่าว (วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว)  และถูกระบุไว้อย่างนี้เช่นเดียวกันจากรายงานของ อิบนิ ฮารูณ อัลอับดีย์ จาก อบี สะอี๊ด อัลคุดรีย์ แต่ก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน อันที่จริงแล้ว  ที่ถูกประทานลงมาในวันดังกล่าวคือวัน อะรอฟะห์ ดังที่ระบุชัดเจนใน ศอเฮียะห์ ทั้งสอง จาก อุมัร อิบนุ้ลค๊อบ”  อัลบิดายะห์วัลนิฮายะห์ 7/387 

               อัลเญาซ์กอนีย์ นักวิชาการฮะดีษในศตวรรษที่หก ได้กล่าววิจารณ์ว่า “เป็นเท็จ” (หนังสือ อัลอะบาฏีลวัลมะนากีร 2/366 ฮะดีษลำดับที่ 714)

               ท่านฮาฟิซ อัสซะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ หลังจากที่ได้นำเสนอตัวบทว่า

                                                                                                        هذا حديث منكر جدا

                                             นี่คือฮะดีษมุงกัรอย่างรุนแรง (อะฮาดีษมุคตาเราะห์ 1/78)



               บทสรุปของเราก็คือ ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่เป็นเท็จ ทั้งตอนต้น,ตอนกลาง และตอนปลาย และเป็นคำรายงานเท็จที่แย้งกับคำรายงานที่ ศอเฮียะห์ อย่างนี้เขาเรียก ฮะดีษมุงกัร ไม่ใช่ฮะดีษศอเฮียะห์



               
เราจบคำชี้แจงด้วยคำพูดของชีอะห์ที่ว่า

 
"ก็ขอให้อัลลอฮ์ลงทัณฑ์ท่านด้วยที่ยังดื้อดึงปฏิเสธต่อหะดีษที่มีอิสนาดซอแฮะฮ์หากเก่งจิง ก็ขอให้ท่านช่วยพิสูจน์ความไม่น่าเชื่อถือสะนัดหะดีษนี้ ตามหลักวิชาการที่เขาใช้ตรวจสอบหะดีษด้วยการยกคำพูดอุละมาอ์ซุนนี่ทีละคนที่ฟันธงว่า บรรดานักรายงานหะดีษบทนี้เชื่อถือไม่ได้มาแสดงด้วยคับไม่แค่ไปขอยืมขี้ฟันคนอื่นมาแปล  อย่างนี้เขาเรียกว่า ขี้เกียจไม่ทำการบ้านแล้วยังอวดเก่งอีก"



                คำโพทะนาของชีอะห์ จากการไม่เข้าใจกระบวนการตรวจสอบฮะดีษ  ดังปรากฏข้างต้นนี้ นอกจากจะไม่สามารถทำให้ผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ตกเป็นเหยื่อของพวกเขาได้แล้ว ยังเป็นดั่งคำประณามและประจานความเขลาของตัวเองอีกต่างหาก








สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-12-22 (2713 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]