ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



หลักการอธิบายอัลกุรอาน ตอนที่ 1






หลักของการอธิบายอัลกุรอานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในหมู่มุฟัซซีรีน (นักอธิบายอัลกุรอาน) คือ


1 – อัลกุรอานอธิบายอัลกุรอาน

ในประเด็นนี้เราได้พบเห็นตัวอย่างมากมาย จากหนังสือตัฟซีรหลายๆ ชุด ซึ่งการนำเอาอายะห์อัลกุรอาน มาอธิบายความหมายในอีกอายะห์หนึ่งนั้น เป็นสิ่งที่ท่านนบีได้ให้แบบอย่างไว้ เช่น เมื่อ อายะห์ที่ 82 ในซเราะห์อัลอันอามได้ถูกประทานลงมาว่า

اَلَّذِيْنَ آمَنُوا وَلمْ يَلْبِسُوا اِيْمَانَهُمْ بِظُلْمٍ أُوْلئِكَ لَهُمْ الأَمْنُ وَهُمْ مُهْتَدُوْنَ

“บรรดาผู้ศรัทธาที่ไม่นำความอธรรมมาเจือปนกับการศรัทธาของพวกเขา ชนเหล่านี้แหละที่ความปลอดภัยจะประสบแก่พวกเขา และพวกเขาคือผู้ที่ได้รับทางนำ”

หลังจากบรรดาศอฮาบะห์ได้ฟังข้อความในอายะห์นี้ก็เกิดฉงน และต่างไต่ถามกันว่า มีหรือในหมู่พวกเราที่นำเอา ظلم ไปปะปนกับการศรัทธา เพราะคำว่า ظلم เป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ที่เข้าใจกันโดยทั่วไปก็คือ หมายถึง อธรรม พวกเขาจึงได้ถามท่านรอซูล และได้รับคำตอบว่า ความหมายของคำว่า อธรรมในอายะห์นี้คือ الشرك หมายถึงการนำสิ่งอื่นใดมาเป็นภาคีต่อพระองค์อัลลอฮ์ ดังเช่นถ้อยความที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงลุกมาน อัลฮะกีม ขณะที่เขาสอนลูกว่า

يَا بُنَىَّ لاَ تُشْرِكْ بِاللهِ اِنَّ الشِرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيْمٌ

“โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงอย่าได้นำสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระองค์อัลลอฮ์ แท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความอธรรมที่ยิ่งใหญ่” ซูเราะห์ลุกมาน อายะห์ที่ 13 (บันทึกรายงานฮะดีษของเหตุการณ์นี้จากศอเฮียะห์บุคคอรีและมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด)

เพราะฉะนั้นความหมายของซูเราะห์อัลอันอามอายะห์ข้างต้นนี้ก็คือ

“บรรดาผู้ศรัทธาที่ไม่นำการตั้งภาคีมาเจือปนกับการศรัทธาของพวกเขา ชนเหล่านี้แหละที่ความปลอดภัยจะประสบแก่พวกเขา และพวกเขาคือผู้ที่ได้รับทางนำ”

นี่เป็นแบบอย่างที่ท่านรอซูล ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้แสดงให้เห็นถึงการนำเอาอัลกุรอานอายะห์หนึ่งมาอธิบายความหมายอีกอายะห์หนึ่ง


อย่างไรก็ตาม การอธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอานนี้ ผู้อธิบายต้องรู้ภูมิหลังของแต่ละอายะห์ที่จะนำมาอธิบายซึ่งกันและกันว่ามีที่มาอย่างไร และมีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างไร ไม่เช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการครอบคนละเรื่อง คนละประเด็น










สงวนลิขสิทธิ์โดย © อ.ฟารีด เฟ็นดี้ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2006-05-15 (6204 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]