ค้นหา  ·  หัวข้อเรื่อง  ·  เข้าระบบ  ·  เผยแพร่เรื่อง
                      สมัครสมาชิก  

หนังสือใหม่

ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


อีซีกุโบร์



พิธีกรรมยอดฮิตติดอันดับของเมืองไทย อิซีกุโบร์ พิธีกรรมเซ่นสังเวยดวงวิญญาณ วิเคราะห์เจาะลึกถึงที่มาพร้อมวิเคราะห์หลักฐาน คนกินข้าว ผีกินบุญ จริงหรือ ?

อุศ็อลลี



เหนียตและการตะลัฟฟุซแตกต่างกันอย่างไร แสดงที่มาของการกล่าวอุศ็อลลี แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

ซัยยิดินา



การเพิ่มซัยยิดินาในศอลาวาต เป็นฮะดีษศอเฮียะห์จริงหรือ แจงเหตุที่มาและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ

การยกมือตั๊กบีร
ระหว่างสองสุญูด




การยกมือตั๊กบีรระหว่างสองสุญูด เป็นซุนนะห์จริงหรือ วิเคราะห์หลักฐานที่กล่าวกันว่าท่านนบีกระทำเป็นบางครั้งจริงหรือไม่

วะบิฮัมดิฮี



หลักฐานการอ่านวะบิฮัมดิฮีในรุกัวอ์และสุญูดถูกต้องหรือ เชคอัลบานีว่าเป็นฮะดีษ ศอเฮียะห์จริงหรือไม่ พิสูจน์หลักฐานตามศาสตร์ของฮะดีษ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอ

วาญิบต้องศอลาวาต
ในตะชะฮุดแรกหรือ




ชี้แจงมุมมองของเชคอัลบานี ที่ตกทอดสู่เมืองไทย ถ้าไม่อ่านศอลาวาตในตะชะฮ์ฮุดแรกละหมาดใช้ไม่ได้ หากลืมก็ต้องสุญูดซะฮ์วี จริงหรือ อ่านวิเคราะห์หลักฐานทางวิชาการ เพื่อคุณจะได้มีคำตอบแก่ตัวเอง

รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์

ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


รวมวิดีโอ

>>..ดูทั้งหมด..<<


เมนูหลัก

 บริการหลัก
หน้าแรก
ถามตอบ
ติดต่อสอบถาม
แนะนำบอกต่อ
ค้นหา
แสดงสถิติ
ผลสำรวจ
ยอดฮิตติดอันดับ
 บริการสมาชิก
รายนามสมาชิก
 บริการข่าวสาร
 บริการอื่นๆ
ดาวน์โหลด
วิดีโอบรรยาย
ห้องแสดงภาพ
ฮะดีษแปลไทย


บทความรายวิชา








วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง

  ศอฮาบะห์กางเต้นท์อ่านอัลกุรอานบนกุโบร์หรือ
  อัลกอมะห์กับแม่
  อิสลามเปลี่ยนวันใหม่ตอนมักริบไม่ใช่เที่ยงคืน
  เฝ้ากุโบร์ไม่ฮะราม..หรือ
  วิพากษ์หลักฐานเรื่องทำกุรบานให้คนตาย
  ถือศีลอดสิบวันแรกเดือนซุ้ลฮิจญะห์เป็นฮะดีษศอเฮียะห์หรือไม่
  วันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ที่ไม่มีอะรอฟะห์
  มีหลักฐานห้ามไหม
  กล่าวเท็จต่อท่านนบีว่า ท่านอ่านอัลกุรอานในกุโบร
  วิพากษ์หลักฐานการอ่านอัลกุรอานที่กุโบร์ ตอนที่ 3 คำรายงานที่ถูกต้องจากอิบนิอุมัร

[ดูเรื่องทั้งหมด]

บทความทั่วไป

  ทำบุญประเทศ
  เมื่อโลกหยุดหมุน
  ผีแม่ซื้อ
  ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมภาคใต้
  อาซูรอ 10 มุฮัรรอม กับตำนานกวนซุฆอ
  เมาตาคือใคร
  ...ทาส... ตอนที่ 2
  ...ทาส... ตอนที่ 1
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 2
  เผยอะกีดะห์กลุ่มดะอ์วะห์ ตอนที่ 1

[ดูเรื่องทั้งหมด]

เหมือนหรือต่าง

ภาพเปรียบเทียบระหว่างพิธีการทรมานตนเองของชาวชีอะฮ์ อิหม่าม 12 ในวันที่ 10 มุฮัรรอมของทุกปี กับม้าทรงของศาลเจ้าสามกอง ในงานประจำปี จ.ภูเก็ต


ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง

ม้าทรงศาลเจ้าสามกอง

ชีอะฮ์อิหม่ามสิบสอง


เวบลิ้งค์

มรดกอิสลาม
อัซซุนนะห์
ซุนนะห์ไซเบอร์
ชมรมวะรอซะตุซซุนนะฮฺ แนวร่วมมุสลิมต่อต้านรอฟิเฏาะ - ร่วมต่อต้านวันนี้ หรือจะรอให้สายเกินไป



อ.ฟารีด เฟ็นดี้ FAQ (ถาม/ตอบ)



ประเภท: หน้าแรก ->

คำถาม
·  คำถามที่ 1 สามีเป็นชีอะห์ ภรรยาเป็นซุนนะห์ อยู่ร่วมกันจะผิดหลักศาสนาหรือไม่ ?
·  คำถามที่ 2 หย่ากันที่อำเภอจะขาดไหม?
·  คำถามที่ 3 จะคืนดีกับสามีศาสนาว่าอย่างไร?
·  คำถามที่ 4 หย่าทางโทรศัพท์จะขาดไหม
·  คำถามที่ 5 สิทธิ์และส่วนของสามี
·  คำถามที่ 6 สิทธิและส่วนของใคร

คำตอบ
·  คำถามที่ 1 สามีเป็นชีอะห์ ภรรยาเป็นซุนนะห์ อยู่ร่วมกันจะผิดหลักศาสนาหรือไม่ ?


คำตอบ โดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

สถานภาพการเป็นสามีภรรยาของคนคู่นี้ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของศาสนา ไม่ว่าสามีจะเป็นชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ภรรยาเป็นซุนนะห์ หรือสามีเป็นซุนนะห์ และภรรยาเป็นชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ก็ตาม เหตุเพราะอยู่กันคนละศาสนา โดยชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ไม่ใช่มุสลิม (ดูคำตอบที่ 1 ในหมวดลัทธิและนิกาย)

ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ก่อนที่จะได้มีการนิกะห์นั้น การนิกะห์ของคนคู่นี้ก็ใช้ไม่ได้ พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَلاَ تَنْكِحُوا الْمُشْرِكَاتِ حَتى يُؤْمِن وَلأَمَةٌ مُؤْمِنَةٌ خَيْرٌ مِنْ مُشْرِكَةٍ وَلَوْ أَعْجَبَتْكُمْ
وَلاَ تُنْكِحُوا الْمُشْرِكِيْنَ حَتى يُؤْمِنُوا وَلَعَبْدٌ مُؤْمِنٌ خَيْرٌ مِنْ مُشْرِكٍ وَلَوْ أَعْجَبَكُمْ


“และพวกเจ้าอย่าได้นิกะห์กับหญิงมุชริกจนกว่านางจะศรัทธาเสียก่อน เพราะทาสหญิงที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดีกว่าหญิงมุชริกแม้ว่านางจะทำให้พวกเจ้าพึงพอใจก็ตาม และพวกเจ้าอย่าได้จัดการนิกะห์ให้แก่ชายมุชริกจนกว่าพวกเขาจะศรัทธาเสียก่อน เพราะทาสชายที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดีกว่าชายมุชริก แม้ว่าเขาจะทำให้พวกเจ้าพึงพอใจก็ตาม” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 221

แต่ในขณะที่นิกะห์นั้น หากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเป็นมุสลิมทั้งคู่ การนิกะห์นั้นถือว่าถูกต้อง ทั้งสองได้เป็นสามีภรรยากันตามข้อกำหนดของศาสนา แต่เมื่ออยู่ต่อมาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เข้ารีตลัทธิชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ก็ถือว่าการเป็นสามีภรรยาของคนคู่นี้ได้สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องหย่า แต่ด้วยเหตุจากการตกมุรตัด (สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม) นั่นเอง

วิธีการแก้ไขก็คือ เรียกร้องให้เขากลับมาเป็นมุสลิม, มาเป็นสามีภรรยาที่มีอะกีดะห์เดียวกัน มิเช่นนั้นแล้ว การครองคู่ของเขาถือว่าเป็นที่ต้องห้าม และเมื่ออยู่กันเมื่อไหร่ก็เท่ากับเขาได้ทำซินากันร่ำไป

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 2 หย่ากันที่อำเภอจะขาดไหม?


คำถาม

สามีบอกให้ภรรยาไปพบกันที่อำเภอเพื่อจะหย่าให้ ถามว่าสามีภรรยาคู่นี้อยู่ในสถานะใด จะขาดกันหรือไม่ ?


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เรื่องของศาสนากับเรื่องของกฎหมายบางครั้งก็ไปกันคนละทาง

บางเรื่องถูกกฎหมายแต่ผิดศาสนาเช่น หญิงชายคู่หนึ่งรักใคร่ชอบพอกัน แล้วจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอ ทั้งสองคนนี้เป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมายก็จริง แต่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา เพราะยังไม่ได้นิกะห์ตามข้อกำหนดของอิสลาม ส่วนคู่ใดที่นิกะห์ตามศาสนาแล้ว เขาก็เป็นสามีภรรยากันถูกต้อง แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม

ในเรื่องของการหย่านั้น หากได้กล่าวคำหย่าแล้วก็ถือว่าใช้ได้ แม้จะไม่ได้ไปหย่ากันที่อำเภอ และแม้ว่าจะไม่มีพยานก็ตาม

เช่นเดียวกัน การหย่าแบบมีเงื่อนไขนั้นจะเป็นผลก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว เช่นสามีกล่าวแก่ภรรยาว่า “หากเธอออกไปนอกบ้านวันนี้เธอกับฉันขาดกัน” ถ้าภรรยาออกไปนอกบ้านจริงก็ถือว่าการหย่านั้นเป็นผล และคำถามข้างต้นนั้นก็อยู่ในประเด็นนี้ครับ คือให้ไปอำเภอเพื่อจะหย่า การกล่าวเช่นนี้ยังไม่เป็นผล เพราะยังไม่ได้หย่านี่ครับ หรือไปแล้วอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้

แต่สำหรับสามีภรรยาที่ไม่ได้มีเจตนาหย่ากันทางศาสนา แต่ไปจดทะเบียนหย่ากันทางกฎหมายเพื่อปกป้องทรัพย์ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการหย่าทางศาสนา เช่นสามีทำธุรกิจแล้วเกรงว่า ธุรกิจอาจล่มสลาย หรือสามีอาจกลายเป็นบุคคลล้มละลาย ก็จะได้ไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของภรรยา เพราะถือว่าเป็นคนละคนกัน อย่างนี้เป็นการหย่าที่มีผลทางกฎหมาย แต่ไม่มีผลทางศาสนา

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 3 จะคืนดีกับสามีศาสนาว่าอย่างไร?


คำถาม อัสลามมุอะลัยกุ้ม มีเรื่องรบกวนสอบถามอาจารย์ดังนี้คะ ดิฉันกับสามีหย่ากันมาหลายปีแล้ว ตอนนี้สามีเขามารบเร้าขอคืนดีด้วย บางวันเขาก็มาขอค้างกับลูก ดิฉันจะคืนดีกับเขาได้ไหม ศาสนาว่าอย่างไรคะ


คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ผู้ถามได้แต่บอกว่าหย่ากันมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นการหย่าครั้งที่เท่าไหร่ เพราะอิสลามอนุญาตให้หย่า ได้ 3 ครั้ง โดยในครั้งที่ 3 นี้ถือว่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ไม่สามารถกลับมาคืนดีกันได้อีก นอกจากภรรยาจะไปแต่งงานมีครอบครัวใหม่ แล้วได้ถูกหย่าขาดมาแล้วเช่นกัน จึงจะกลับมาคืนดีกับสามีคนเดิมได้

ส่วนการหย่าในครั้งที่ 1 หรือในครั้งที่ 2 นั้น สามารถคืนดีกันได้โดยให้พิจารณาจากอิดดะห์( อิดดะห์คือรอบเดือน3 ครั้ง หรือที่เรียกว่า 3 เกลี้ยง) ของฝ่ายหญิงดังนี้

1 – ถ้าฝ่ายหญิงยังอยู่ในระหว่างอิดดะห์ ก็สามารถคืนดีกันได้เลย ไม่ว่าจะด้วยการกล่าวว่า “เราคืนดีกันนะ” หรือด้วยถ้อยคำและวิธีการใดๆ ที่บ่งบอกว่า คืนดีกันแล้ว

2 – ถ้าทิ้งเวลาจนฝ่ายหญิงพ้นอิดดะห์ไปแล้ว และต้องการกลับมาคืนดีกัน ก็ต้องนิกะห์ใหม่และจ่ายมะฮัรใหม่ด้วย

……………………………………………………………………………..............................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 4 หย่าทางโทรศัพท์จะขาดไหม

คำถาม ขอรบกวนสอบถามปัญหาว่า สามีดิฉันใช้โทรศัพท์มือถือโทรมาบอกหย่าโดยพูดว่า เราเลิกกัน จะขาดไหม เพราะตอนเขาบอกหย่าไม่มีพยาน ขอบคุณอาจารย์มากคะ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

การนิกะห์ต้องมีพยานที่รู้เห็นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป แต่การหย่าไม่จำเป็นต้องมีพยาน เพียงแค่สามีพูดคำที่สื่ออกมาชัดเจนว่า หย่าภรรยา ก็ถือว่าการเป็นการหย่าตามข้อกำหนดของศาสนาแล้ว ไม่ว่าจะหย่าด้วยคำพูดที่บอกกันซึ่งๆ หน้า หรือจะพูดผ่านบุคคลอื่นให้ไปบอกต่อ หรือเขียนข้อความที่ชัดเจนระบุว่าหย่า หรือแสดงท่าทางที่ชัดเจนว่าไม่ต้องการเป็นสามีภรรยากันต่อไป (เช่นคนใบ้ที่กล่าวคำหย่าไม่ได้)

ในปัจจุบันเครื่องมือสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของมนุษย์มากขึ้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดผ่านโทรศัพท์มือถือ การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือการติดต่อกันทางอีเมล์ และฯลฯ ซึ่งการหย่าโดยผ่านเครื่องมือสื่อสารเช่นนี้ หากสอบได้ว่า สามีเป็นผู้กล่าวหรือเป็นผู้ส่งข้อความจริง ก็ให้นับว่า เป็นการหย่า 1 ครั้ง (ตกหนึ่ง)

สิ่งที่ควรระวังก็คือ ต้องเป็นที่ชัดเจนว่า ผู้กล่าวหย่าหรือผู้ส่งข้อความหย่าเป็นสามีจริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะเป็นการเลียนเสียงผ่านโทรศัพท์ หรือบุคคลอื่นแกล้งส่งข้อความมาก็ได้


........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 5 สิทธิ์และส่วนของสามี

คำถามโดยคุณรอดี

ขอถามอาจารย์ว่า ถ้าภรรยาตายสามีจะได้มรดกครึ่งหนึ่ง จริงไหม อยากให้อาจารย์อธิบายโดยละเอียดด้วยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอทำความเข้าใจในคำว่า สามีภรรยาก่อนดังนี้คือ การที่สามีหรือภรรยาจะมีสิทธิ์และส่วนในมรดกของกันและกันนั้น จะต้องเป็นสามีภรรยากัน ณ.วันที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต แต่ถ้าเป็นสามีภรรยาที่หย่าร้างกันไปแล้วก็ไม่มีสิทธิ์และส่วนในมรดกของอีกฝ่ายหนึ่ง
เมื่อภรรยาได้เสียชีวิต สามีของนางมีสิทธิ์และส่วนในมรดก ครึ่งหนึ่งของทรัพย์ในกรณีที่ภรรยาไม่มีลูก แต่ถ้าภรรยามีลูก สามีจะได้รับ หนึ่งในสี่ ของมรดก คำว่า มีลูกหรือไม่มีลูกในที่นี้ หมายถึงลูกของภรรยาไม่ว่าจะเป็นลูกติดแม่หรือลูกที่เกิดจากสามีปัจจุบันก็ตาม
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَلكُمْ نِصْفُ مَا تَرَكَ أَزْوَاجُكُمْ اِنْ لَمْ يَكُنْ لَهُنَّ وَلَدٌ فَاِنْ كَانَ لَهُنَّ وَلَدٌ فَلَكُمُ الرُبُعُ مِمَّا تَرَكْنَ مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوْصِينَ بِهَا أَوْدَيْنٍ


“และสำหรับพวกเจ้านั้นได้รับครึ่งหนึ่งในสิ่งที่คู่ครองของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้หากนางไม่มีลูก แต่ถ้านางมีลูก พวกเจ้าจะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่นางได้ทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากที่จัดการพินัยกรรมที่นางได้สั่งเสียไว้หรือชำระหนี้สินแล้ว” ซูเราะห์อันนิซาอ์ อายะห์ที่ 12

สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ อย่ารีบร้อนแจกจ่ายทรัพย์ของผู้ตาย จนกว่าจะได้ชำระหนี้สินหรือจัดการตามพินัยกรรมเสียก่อน

อนึ่ง : พินัยกรรมหรือคำสั่งเสียของผู้ตายนั้นจะต้องไม่ค้านกับของศาสนา แต่ถ้าพินัยกรรมนั้นค้านกับสั่งของอัลลอฮ์และรอซูล ก็ถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ


..................................................................................................................... ..

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 6 สิทธิและส่วนของใคร

คำถามโดยสมาชิก moradokislam.org

อัสลามมุอะลัยกุม อาจารย์ สื่ออนุรักษ์มรดกอิสลามทุกท่าน
ผมมีข้อสงสัยข้อคำชี้แจงเรื่องมีอยู่ว่า (เรื่องยาวหน่อยนะครับ อ่านอาจจะงง ๆ ก็ขอมอัฟด้วย) เมื่อสมัย 50 ปีที่แล้ว โต๊ะของผมกับโต๊ะของมะซึ่งเป็นแม่ลูกกันร่วมกันซื้อที่ดิน 50 ไร่ แบ่งกันคนละครึ่งของโต๊ะ 25ไร่ ของโต๊ะหยัง 25 ไร่ แต่ให้ลงชื่อน้องของโต๊ะคนที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย 50 ไร่ เพราะสมัยนั้นเค้าห้ามมีที่ดินเกินจากที่กำหนด เพราะโต๊ะกับแชมีที่ดินเยอะแล้วจึงลงชื่อเป็นเจ้าของไม่ได้
เวลาผ่านไปเมื่อโต๊ะหยัง โต๊ะ และแชเสียชีวิต ที่ดินก็ยังเป็นชื่อของน้องโต๊ะคนที่ 1 อยู่ (แต่ไม่มีมรดกของโต๊ะคนที่ 1 เพราะขายให้กับ พี่น้องไปแล้ว) มรดกของโต๊ะ25ไร่ก็ถูกแบ่งแก่พี่น้องมะ และอีก25 ไร่ก็แบ่งแก่พี่น้องของโต๊ะรวมทั้งโต๊ะด้วย จนเวลาผ่านไปนานที่ดินผืนนี้ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของน้องโต๊ะอยู่เค้าพยายามที่จะโอนให้แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะรัฐไม่โอนให้
จนกระทั่งมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น น้องสาวของโต๊ะอีก 2 คน น้องคนที่2 และ 3 เข้ามาขอยืมโฉนดที่ดินผืนนี้ไปจำนอง น้องโต๊ะคนที่ 1 ก็ให้ไปแล้วทำเรื่องให้เพราะน้องทั้งสองคนก็มีมรดกในนี้ด้วย 7 ไร่ จนได้เงินมาแต่โต๊ะทั้งสองก็นำเงินมาใช้ในหนทางที่ผิดเป็นชีริก คือนำเงินมาให้ค่าหมอ พวกไสยศาสตร์ เชื่อว่ามีคนเล่นของใส่ตน ต้องทำพิธีแก้ เชื่อจนกระทั่งขายที่ดินของตัวเองหมดทรัพย์สินก็หมด จนต้องมาเอาที่แปลงนี้ไปจำนอง
หมดเงินกับค่าหมอไปล้านกว่าบาท โดยโต๊ะคนที่ 1 ก็รู้เรื่องราวด้วยว่าน้องเอาเงินไปทำอะไรและแฟนกับลูกของแกก็เป็นโต๊ะครูรู้เรื่องแต่ไม่รู้จักห้ามปราม แต่เรื่องทั้งหมดนี้มะของผมกับพี่น้องไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนว่าโต๊ะคนที่ 2-3 เอาเงินไปใช้อย่างไร
เวลาผ่านไปหลายปีน้องโต๊ะคนที่ 1 มาบอกกับมะของฉันที่*****นว่าเค้าโดนฟ้องล้มละลายมะถึงได้รู้เรื่องทั้งหมด เค้าจะเอาเงินเกือบ2ล้านเพื่อไปไถ่โฉนดคืนแต่พี่น้องของมะไม่มีให้ มะเค้าก็ตกใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นไม่คิดว่าน้าๆจะงมงายขนาดนี้เอามรดกของมะผมไปผลาญทั้งๆที่มะไม่รู้เรื่อง
เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นลูกๆของโต๊ะคนที่1 ก็ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเป็นการผ่อนไปทุก ๆเดือน โดยเค้าก็จะมาเอาเงินที่มะเป็นค่าผ่อนด้วยแต่มะเค้าไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ได้ให้เค้าไป จนกระทั่งเค้าผ่อนหมดได้โฉนดออกมาเมื่อเร็วๆนี้ มะเค้าก็ได้ยินข่าวว่าเค้าจะขายที่ดินผืนนี้
มะจึงเข้าไปถามว่าขายทำไมมันเป็นมรดกของมะเค้าจะเก็บไว้และขอแบ่งแยกโดยพี่น้องของมะยอมยกที่ดินให้เค้า(น้องโต๊ะคนที่1) เพื่อเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้าๆ ที่เอาโฉนดไปจำนองโดยให้ที่ดินใกล้เคียงกับเงินที่เค้าผ่อนจ่ายไป 2 ล้านและรวมกับที่โต๊ะเค้าดูแลโฉนดที่ดินให้(ถึงจะดูแลไม่ดีก็ตาม)
แต่เค้าไม่ยอมเค้าจะขายทั้งผืนโดยเค้าจะเอาเงินมาให้หลังจากขายได้แต่มะไม่ยอมเพราะอยากเก็บที่ดินไว้เพราะเป็นมรดกโต๊ะ แฟนของโต๊ะที่เป็นครูสอนศาสนาเค้ากลับบอกว่ามะไม่มีสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้แล้ว มะเลยบอกว่าทางกฎหมายไม่มีสิทธิ์แต่เราใช้กฎหมายอยู่2ฉบับคือกฎหมายศาสนา แต่โต๊ะครูบอกว่าทางกฎหมายศาสนาที่ดินผืนนี้ก็เป็นของเขาตั้งแต่วันที่เขาไถ่ที่ดินผืนนี้คืนมา
เมื่อฟังได้แค่นั้นมะก็ร้องไห้เลยทั้งๆที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย แต่ต้องมาเสียมรดกของโต๊ะไป ทั้งๆที่โต๊ะผมมีสัดส่วนในกองมรดกนี้เกิน30ไร่(เดิมมี 25 ได้รับมรดกจากโต๊ะหยังอีก ที่เหลืออีก10กว่าไร่เป็นของพี่น้องโต๊ะคนอื่นๆ) และน้องโต๊ะก็ไม่มีมรดกในนี้ด้วยแต่มะก็ให้เป็นค่าเสียหายเค้าก็ยังไม่พอใจอีก ทั้ง ๆที่ตัวเค้าก็ผิดที่เอาโฉนดไปจำนอง และเค้าก็ไม่ยอมไปเอาเงินค่าเสียหายจากโต๊ะทั้ง 2 คนที่ทำผิด เค้าไม่ยอมทวงเงินกับพี่น้องเค้าแต่กับมารีดเอากับหลานแทน
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้ผมได้เข้าใจอะไรหลายอย่างที่สำคัญคือการลงโทษจากอัลลอฮ(ซบ) ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ตอนนี้ หมอไสยก็เป็น*****แฟนก็ถูกฆ่าตาย โต๊ะผมทั้งสองก็ไม่เหลือทรัพย์สมบัติอะไรเลยเหลือแต่หนี้สินทิ้งไว้ให้ลูกหลาน ตอนนี้เสียไปแล้วคนหนึ่ง ท่านจะสงบได้อย่างไรเมื่อท่านต้องรอคอยที่จะตอบคำถาม เมื่อถึงวันที่ถูกพิพากษาท่านจะตอบคำถามกับอัลลอฮ(ซบ)ว่าอย่างไร ท่านใช้จ่ายเงินไปในหนทางใด

คำถามครับ มะอยากทราบว่าที่ดินผืนนี้เป็นสมบัติของน้องโต๊ะคนที่1ใช่หรือไม่ตามที่สามีและลูกของเขาซึ่งเป็นครูสอนศาสนาบอก ?

ขอให้อาจารย์ช่วยตอบให้ด้วยนะครับ สุดท้ายขอ อัลลอฮ(ซบ) ประทานความดีงามแก่อาจารย์ทุกท่านเพื่อจะได้สืบทอดมรดกอิสลาม ตามแบบฉบับของท่านนบีมูอัมหมัด(ซล) และให้มรดกอิสลามยังคงเผยแพร่ต่อไปในสังคมมุสลิมที่กำลังจะถูกกลืน วัสสลาม

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ข้อเท็จจริงตามที่กล่าวมา ผมฟังความได้ว่าเป็นการยักยอกทรัพย์มรดก แม้ว่าทรัพย์นั้นจะถูกจำหน่ายจ่ายโอนเป็นชื่อใคร หรือยกมอบให้แก่ผู้ใดไปแล้วก็ตาม เจ้าของสิทธิ์ก็ยังคงมีสิทธิ์และส่วนนั้นตามข้อกำหนดของศาสนาอยู่วันยังค่ำ ตราบจนกิยามะห์ แม้ว่าในดุนยาเขาจะไม่ได้ครอบครองสิทธิ์นั้นก็ตาม

การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปขายฝาก,จำนำ หรือจำนองโดยเจ้าของสิทธิ์เขาไม่ได้รับทราบหรือให้ความยินยอม ก็ถือเป็นการทุจริตขั้นหนึ่งแล้ว และหากทรัพย์นั้นหลุดจำนำ,จำนอง ผู้กระทำการนี้ต้องชดใช้ทรัพย์นั้นโดยครบถ้วนเพราะเป็นความรับผิดชอบของเขาโดยตรง

ในกรณีที่มีผู้อื่นไปถ่ายถอนก็ไม่ได้หมายความว่าผู้กระทำการข้างต้นนี้จะหมดภาระความรับผิดชอบ หากแต่เขาต้องดิ้นรนนำทรัพย์นั้นกลับมาคืนเจ้าของสิทธิ์ให้ได้ และหากทรัพย์นั้นถูกเปลี่ยนมือไปจนไม่สามารถตามคืนมาได้ ผู้กระทำการนี้ต้องเจรจาชดใช้มูลค่าของทรัพย์นั้น (หากเจ้าของสิทธิ์ยินยอม)

ในทางกฎหมายไทยก็ว่ากันไปตามกรอบของกฏหมาย แต่วันที่เรากลับไปหาอัลลอฮ์นั้นกฏหมายไทยช่วยใครไม่ได้เลย เพราะใช้กฎหมายที่อัลลอฮ์ใช้ให้รอซูลของพระองค์มาประกาศ ทำใจให้สบายเถอะครับ ลองอ่านอัลกุรอานสัก 2 อายะห์ต่อไปนี้
พรองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า

تِلْكَ حُدُوْدُ اللهِ وَمَنْ يُطِعِ اللهَ وَرَسُوْلَهُ يُدْخِلْهُ جَنَّاتٍ تَجْرِيْ مِنْ تَحْتِهَا الأنْهَارُ خَالِدِيْنَ فِيْهَا ذَلِكَ الفَوْزُ العَظِيْمُ وَمَنْ يَعْصِ اللهَ وَرَسُوْلَهُ وَيَتَعَدَّ حُدُوْدَهُ يُدْخِلْهُ نَارًا خَالِدًا فِيْهَا وَلَهُ عَذاَبٌ مُّهِيْنٌ


“ดังกล่าวนี้คือขอบเขตของอัลลอฮ์ และผู้ใดที่ภักดีต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์, พระองค์จะให้เขาเข้าสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื่อล่าง พวกเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นแหละคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และผู้ใดที่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์, พระองค์จะให้เขาเข้านรกโดยเขาจะพำนักอยู่ในนรกตลอดกาล สำหรับเขาคือการลงโทษมหันต์” ซูเราะห์อันนิซาอ์ อายะห์ที่ 13 – 14

เพียงพอแล้วสำหรับผู้ศรัทธา แม้ว่าในดุนยาเขาจะถูกยักยอกหรือริดรอนสิทธิ์ แต่เขาเป็นผู้ชนะและประสบความสำเร็จในอาคิเราะห์ เพียงแต่ว่า ขอให้ยืนหยัดด้วยความมั่นคงบนหลักการต่อไป


………………………………………………....................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]